โรคปอดจากการทำงานนั้น หลายๆประเทศถือเป็นตัวชี้วัดสุขภาพที่สำคัญครับ ในประเทศไทยโรคปอดจากการทำงานมีหลายอย่าง ฝุ่นฝ้าย ฝุ่นผ้ากระสอบ แร่ใยหิน ระเบิดภูเขา ปัจจุบันเรามีความรู้ด้านการป้องกันมากขึ้น โรคพวกนี้ก็ลดลง โรคปอดจากการทำงานนั้นที่พบมากสุดในประเทศคือโรคปอดซิลิโคสิส (silicosis) จากการสกัดหิน เซรามิก ทำครก ที่ยังมีอยู่มากในประเทศไทย
โรคซิลิโคสิส จะมีแร่หินซิลิก้าไปสะสมอยู่ในถุงลมของปอดทีละน้อยๆ ใช้เวลานานกว่าจะเกิดอาการดังนั้นกลุ่มอายุที่เจอคือ 35-60ปี ซึ่งต้องแยกจากโรคอื่นๆเช่น ถุงลมโป่งพองจากบุหรี่ มะเร็ง ประวัติก็จะเป็นคนที่เคยสัมผัสฝุ่นซิลิก้ามานาน เริ่มมีอาการไอ เหนื่อย บางรายก็หอบร่วมด้วย ถ้าทำงานซิลิก้าก็ต้องระวังครับ ไปถ่ายถาพรังสีปอดก็จะมีลักษณะเฉพาะทั้งภาพรังสีธรรมดาและเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นข้อตกลงขององค์กรแรงงานสากลกับสมาคมรังสีแพทย์ ดังภาพที่แนบมาให้ครับ มีทั้งเป็นน้อยๆและมากๆ เราไม่จำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื้อทุกราย ในกรณีประวัติเข้าได้ มีความเสี่ยง ฟิล์มเหมือน ก็วินิจฉัยได้เลย
คนที่ป่วยเป็นโรคนี้ไม่หายนะครับ อาการจะเรื้อรังเหมือนหลอดลมอุดกั้นและบางครั้งก็อาจมีลักษณะเหมือนพังผืดเกาะปอด ขยายไม่ออก (mixed obstructive and restrictive lung disease) ต้องใช้การฝึกหายใจเพิ่มสมรรถนะปอด ใช้ยาพ่นขยายหลอดลม และอาจเป็นสาเหตุอันหนึ่งของหัวใจวายครับ
วิธีที่ดีกว่าคือการป้องกันครับ ปัจจุบันประเทศไทยมีข้อตกลงร่วมกับ ILO (international labor organization) ว่าต้องใส่อุปกรณ์ได้มากกว่า 95%ก่อนปี 2549 ว่าถ้าสถานประกอบการหรือผู้จ้างที่มีความเสี่ยงการเกิดโรคซิลิโคสิสก็จะต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันที่ได้มาตรฐานมาให้ลูกจ้าง เป็นหน้ากาก P-100 หรือ N-99 แถมรูปมาให้ดูกันด้วยครับ ไม่ว่าฝุ่นนั้นจะมองเห็นหรือไม่
เป้าหมายของไทยกับ ILO ในปี 2544 บอกว่าจะลดปริมาณเคสลงจนเหลือศูนย์ในสิบปี แต่จากการรายงานไปที่ WHO/ILO กราฟมันเพิ่มเรื่อยๆตามการลงทุนอุตสาหกรรม (คิดว่าตอนนี้คงลดแล้วล่ะครับ) เนื่องจากการป้องกันดีขึ้นและสภาพการลงทุนที่ถดถอยลงครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น