07 กรกฎาคม 2558

การปัองกันอัมพาต ในภาวะใจเต้นผิดจังหวะ atrial fibrillation

การปัองกันอัมพาต ในภาวะใจเต้นผิดจังหวะ atrial fibrillation

อัมพาต คุณป้องกันได้ : ครับวันนี้ผมจะมาบอกเล่าเรื่องราวของโรคอัมพาตชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันเราสามารถป้องกันได้ดีมาก คือ ภาวะหลอดเลือดแดงที่สมองอุดตันเฉียบพลัน โดยลิ่มเลือดที่หลุดมาจากหัวใจครับ เอิ่มม...ของที่มาจากใจบางทีก็ไม่ใช่ของดีเสมอไปนะครับ (stroke prevention in non-valvular AF)

   โรคอัมพาต หรือ หลอดเลือดแดงที่สมองอุดตันเฉียบพลันนั้นมีหลายสาเหตุครับ และเคยมีคนทำการศึกษาดูผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่ทราบสาเหตุมาวิเคราะห์ พบว่า มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วยถึง 10-20% และ ในทางกลับกัน เอาผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation) มาติดตามดู ก็พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้เกิดอัมพาต ประมาณ 5-10% ต่อปี เช่นกัน ด้วยความสำคัญนี้ผู้วิจัยทั้งหลายก็คิดว่าถ้าเราป้องกันการเกิดอัมพาตในสาเหตุนี้ได้ก็จะช่วยผู้ป่วยได้มาก ปกติแล้วหัวใจคนเราเต้นเป็นจังหวะคงที่ครับ แต่ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบ AF นี่เรียกว่าเต้นพลิ้วไร้จังหวะ (ยังกะหนังกำลังภายใน) ##‪#‎มันจะเกิดลิ่มเลือดแล้วหลุดไปอุดที่สมองได้ครับ‬### เราจึงให้ยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด มันจะได้ไม่ไปอุดหลอดเลือดสมอง โอกาสอัมพาตก็จะลดลงครับ แล้วลดลงมากไหม ?? ก็ประมาณว่าโอกาสเกิดอัมพาตลดลงเหลือ 1.4 % ครับ อันนี้แค่หลุดไปอุดสมองนะครับ ถ้านับว่าป้องกันไปอุดอวัยวะอื่นๆด้วยล่ะก็ ป้องกันได้ถึง 65 % เลยครับ‬

   ท่านที่ตรวจพบหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภท AF นี้ ถ้ามีความเสี่ยงสูง คุณหมอจะแนะนำให้กินยากันการแข็งตัวของเลือด ตลอดชีวิต โอ๊ะ--น่าตกใจใช่ไหมครับ แต่ถ้าต้องเป็นอัมพาต ผมว่าคุ้มค่าครับ--ท่านก็ถามอีก " หมอ--เลือดมันไม่แข็ง แล้วมันจะไม่ไหลมากหรือ ? "  ก็บอกว่าถ้าควบคุมระดับการแข็งตัวของเลือดดีๆ โอกาสเลือดออกอันตรายแต่ 0.74% เท่านั้นครับ ดังนั้นเงื่อนไขสำคัญในการใช้ยาคือ ต้องมาตรวจติดตามผลเลือดสม่ำเสมอ นั่นเองครับ โดยทั่วไปเราจะติดตามผลเลือดที่เรียกว่า INR รักษาระดับที่ประมาณ 2-3 แล้วแต่คุณหมอแต่ละท่าน มีการปรับยาตลอด ก็จะปลอดภัยครับ สำหรับคุณหมอนะครับ อยากบอกว่าถ้าท่านจัดตั้งการจัดการผู้ป่วยที่เรียกว่า warfarin clinic ดีๆ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะสูงมากครับ จากงานวิจัยของคุณหมอบัญชา สุขอนันตชัย อาจารย์ผมเอง ‬

   และปัจจุบันเรามียาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ๆ ที่ใช้สะดวก ไม่ต้องการตรวจเลือด กินยาง่าย ไม่ต้องปรับขนาด ผลการศึกษาส่วนมากพบว่าประสิทธิภาพในการป้องกันอัมพาต ไม่ได้ดีไปกว่ายาเดิมคือเจ้า warfarin สักเท่าไหร่ครับ แต่โอกาสเลือดออกน้อยกว่าเจ้า warfarin เยอะเลย ยากลุ่มนี้มี rivaroxaban, apixaban, dabigratran ครับ โดยเฉพาะเจ้ายา apixaban นั้นผลการป้องกันอัมพาตค่อนข้างดีมากครับ แต่**แต่** ยาพวกนี้ก็มีข้อจำกัดการใช้ครับ โดยเฉพาะกลุ่มโรคไต และที่สำคัญคือ ราคาแพงมากๆๆ และกินตลอดชีวิตนะครับ แพงกว่ายาตัวเดิมคือเจ้า warfarin ประมาณเกือบๆ 100 เท่าครับ

ผมอยากจะสรุปว่า--อัมพาต บางสาเหตุป้องกันได้ และคุ้มที่จะป้องกันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม