28 กุมภาพันธ์ 2567

medical literacy

 ไม่รู้จะเรียกความรู้สึกและอารมณ์แบบนี้ว่าอย่างไร

มีผู้ป่วยมาปรึกษาเรื่องเหนื่อย ... เอาล่ะจะวินิจฉัยอะไรก็ไม่ใช่สาระที่จะนำมาเล่าวันนี้ แต่สิ่งที่เป็นสาระคือ
ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงมานาน ต่อมาเจอไขมันในเลือด กินยามาตลอด ตอนนี้รับยาที่ รพ.สต.
ผู้ป่วยรูปร่างอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ทำงานเป็นแม่ครัวอยู่ร้านอาหารแห่งหนึ่งและรับจ้างทำอาหารเป็นฟรีแลนซ์อีกด้วย
ผู้ป่วยนำสมุดประจำตัวผู้ป่วยเบาหวานมาด้วย ตามบันทึก น้ำหนักตัวขึ้น ๆ ลง ๆ แต่มองโดยรวมแล้วไต่ขึ้นตลอด ระดับน้ำตาลสะสม HbA1c ไม่เคยต่ำกว่า 8.5% จนเริ่มมีไตเสื่อม และเสื่อมมากขึ้นเรื่อย ๆ มาตลอด 5 ปี เจอจอประสาทตาผิดปกติ
คำถามของผมที่ถามคนไข้คือ ขาดยาไหม ผู้ป่วยบอกว่า ไม่เคยขาด
ถามเรื่องการปฏิบัติตัว ผู้ป่วยตอบว่าก็ทำแบบเดิม ไม่ได้ควบคุมอะไร
ถามว่า ได้ศึกษารายละเอียดในสมุดเบาหวานไหม ผู้ป่วยให้คำตอบ เขาอ่านหนังสือไม่ออก (เพื่อนที่มาด้วยกันก็อ่านหนังสือไม่แตกฉาน)
ถามว่า ที่บ้านมีคนช่วยอ่านคู่มือและฉลากยาไหม ผู้ป่วยตอบว่ามีหลานน้อยอยู่ด้วยกัน เขาก็ไม่เคยอ่านให้ฟัง
ถามว่า มีการอบรมและสอนอาหารกับการปฏิบัติตัวไหม ผู้ป่วยตอบว่าเคยเมื่อนานมาแล้ว และไม่ได้อบรมอีก จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำยาก
ถามว่า แล้วเวลาไปติดตามรักษา มีการเน้นย้ำเรื่องนี้ไหม ผู้ป่วยตอบว่า ส่วนมากก็มารับยา แล้วกลับ ไม่มีใครแนะนำ บอกแค่ว่า คุมอาหารหน่อยนะป้า และมาเจาะเลือดแล้วก็กลับ
ลุงหมอ ....🥲🥲🥲🥲🥲🥲🥲🥲🥲🥲🥲😢😢😢😢😢😢😢😢😣😣😣😣😣😣😣😣😣😣😣😣
ตกลงมันเป็นปัญหาเชิงบุคคลหรือเชิงระบบ เรายังมีผู้ป่วยที่ขาดโอกาสแบบนี้อีกมากไหม การพัฒนา medical literacy ของเราไปถึงไหน เราเดินทะลวงไปเป็น medical hub โดยทิ้งคนท้ายแถวไว้หรือเปล่า
GDP จะโตเพียงใด , soft power จะรุ่งแค่ไหน
ถ้า Hard Power คือ สุขภาพประชากร ยังเป็นแบบนี้ ......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม