คำนิยามใหม่ของ ARDS ช่วยอะไรเราบ้าง
american thoracic society ลงตีพิมพ์ New Global Definition of ARDS
อย่างแรกคือ การใช้ Oxygen Saturation มาใช้เพื่อวินิจฉัย คือ SpO2/FiO2 ไม่เกิน 315 ภายใต้เงื่อนไข SpO2 ไม่เกิน 97%
อันนี้ชัดเจนว่าเพิ่มการวินิจฉัยให้เร็วขึ้น สะดวกขึ้น ใช้แค่ค่าอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว มาช่วยวินิจฉัย ไม่ต้องเจาะหลอดเลือดแดงที่หลายที่ใช้เวลาพอควร ก็จะยิงการรักษาได้เร็วขึ้น ส่วนที่ว่า SpO2 ต้องไม่เกิน 97% เพราะว่าถ้า ARDS จริง ค่านี้จะต่ำมาก เอาให้เกิน 88% ยังยากเลย ถ้าเกิน 97% นี่อาจจะเป็นโรคอื่น
อย่างที่สอง ใช้อัลตร้าซาวนด์ทรวงอกเพื่อวินิจฉัยได้ ด้วยการศึกษาการอัลตร้าซาวนด์ทรวงอกมีมากขึ้น และ validate มากมาย จนทำให้แนวทางนี้ยอมรับการวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ อันนี้ถือเป็นนวัตกรรม
แต่ว่าอัลตร้าซาวนด์มีความแปรปรวนสูง แม้อยู่ในมือผู้เชี่ยวชาญก็ตาม ผมว่าในบ้านเราอาจจะใช้เอ็กซเรย์ปอดได้ง่ายและสะดวก
อย่างที่สาม อันนี้ก็ไม่ได้เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยเดิม ว่าจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหรือต้องใส่ท่อช่วยหายใจจึงจะวินิจฉัย ARDS ได้
แนวทางนี้เพิ่มโอกาสทางการวินิจฉัย ARDS ว่าไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ แค่ใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจยุคปัจจุบัน ก็สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ ไม่ต้องรอให้อาการหนัก เกณฑ์ตอนนี้จะใช้
เครื่อง high flow nasal canula ที่เปิดอัตราไหลเกิน 30 ลิตรต่อนาที หรือเครื่อง NIV ที่เปิดความดันบวกมากกว่า 5 เซนติเมตรน้ำ แม้ว่าใช้เครื่องเหล่านี้ แล้วมีออกซิเจนต่ำ มีฟิล์มผิดปกติ ก็สามารถวินิจฉัยและรักษา ARDS
อีกข้อที่อาจจะต้องรออ่านฉบับเต็ม คือ ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้เกณฑ์ต่าง ๆ แบบเต็มพิกัดได้ หรือไม่มีอุปกรณ์ที่จะวัดค่าต่าง ๆ ได้ก็ไม่ต้องลังเลที่จะให้การวินิจฉัย ตามข้อมูลที่เรามี
อันนี้ขอติดไว้ก่อน เพราะแม้ว่าจะช่วยให้วินิจฉัยและรักษาได้เร็วขึ้นจริง แต่ก็อาจ้กิดการวินิจฉัยและรักษาเกินจำเป็น จนเกิดอันตรายหรือผลแทรกซ้อนได้
เช่น จะทำ lung protective strategies หรือเปล่าถ้าไม่ชัวร์ว่าเป็น ARDS จะยอม petmissive hypercapnia หรือไม่
จะจับคนไข้คว่ำไหม หรือจะทำ lung recruitment manuver หรือไม่ หากยังก้ำกึ่ง อย่าลืมว่าผลเสียมันก็มี และประโยชน์ที่อ้างกัน เกิดจากการศึกษาที่ใช้เกณฑ์เก่า Berlin Definition ทั้งสิ้น
อ้อ..อย่าลืมของเดิม อย่าลืมแยก pulmonary edema ด้วยนะ
ทั้งนี้ทั้งหมดที่เขียนมา ผมยังไม่ได้อ่านฉบับเต็มนะ อ่านแต่แอ๊บสแตร่ก อ่านจากบทวิเคราะห์ แล้วมาสรุป
ใครเห็นต่างเห็นด้วย ก็แสดงความคิดเห็นได้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น