การยืมหนังสือห้องสมุดมีข้อดีสองอย่าง ประการแรกคือประหยัดเงิน ประการที่สองคือเป็นการบังคับตัวเองให้อ่านจบในหนึ่งสัปดาห์ ถ้ายืมสัปดาห์ละเล่มปีหนึ่งไม่ต่ำกว่าห้าสิบเล่ม
เจอเล่มนี้จึงหยิบมาอ่าน "คู่มือเรียนเขียนกลอน" ของสำนักพิมพ์แม่คำผาง โดยผู้แต่ง ยุทธ โตอดิเทพย์ และ สุธีร์ พุ่มกุมาร หนังสือขนาด A5 หนา 220 หน้า ราคา 200 บาท
ภายในอธิบายเรื่องหลักการออกเสียง ตัวสะกด วรรณยุกต์ สระ คำเป็น คำตาย คำครุ คำลหุ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการแต่งกลอน ต่อด้วยคำอธิบายกลอนแต่ละชนิด กลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด โดยจะเน้นกลอนแปดที่เป็นพื้นฐานของกลอนทั้งหมด
ต่อด้วยคำอธิบายเรื่อง กาพย์, ร่าย, ฉันท์, โคลง ผมเพิ่งรู้ว่ากาพย์ยานี 11 เป็นคำกลอนที่แต่งง่ายมาก มีกฎเกณฑ์น้อยมาก ในหนังสือเล่มนี้สอนเรื่องกาพย์ยานี 11 ไว้อย่างละเอียดเพราะเป็นพื้นฐานคำกลอน ได้รู้จักฉันทลักษณ์และข้อแตกต่างของกลอนแต่ละอย่าง
สำหรับกลอนแปด ได้รู้กฎการใช้เสียงวรรณยุกต์เวลาลงท้ายวรรคต่าง ๆ (นี่เราไม่รู้มาตลอด แต่งเอาเพราะและมันส์ ตามแบบที่อ่าน ๆ มาเท่านั้น) ได้รู้ว่าการ "ชิงสัมผัส" ในคำกลอนเป็นอย่างไร เพราะมีแล้วทำให้มันไม่รื่นหูนะ การสัมผัสซ้ำ ข้อบังคับเรื่องเสียงสั้นเสียงยาว การฉีกคำทำอย่างไร การวางแผนแต่งกลอนตามสัมผัสข้ามวรรค คือที่ผ่านมาแต่งตามที่ชอบอ่านกวี ไม่ได้รู้เรื่องข้อบังคับอะไรเล้ย มิน่า..ส่งประกวดไม่ได้สักที
ดีมากเลย ผมรักความงามของกลอนอยู่แล้ว เล่มนี้ชอบมาก อนาคตจะลองกาพย์ฉบัง 16, โคลงสี่สุภาพ เอามาอธิบายอายุรศาสตร์กันบ้าง แต่การแต่งกลอนไม่ใช่วัตถุประสงค์สูงสุด สิ่งนั้นหาอ่านยากมาก แม้ในเล่มนี้ก็ไม่มี นั่นคือวิธี...
...
สะเดาะกลอน นั่นเองครับ ฮี่ ๆ ๆ
...
สะเดาะกลอน นั่นเองครับ ฮี่ ๆ ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น