ปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะ atrial fibrillation ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญเพราะยังมีคนบางส่วนไม่ได้รับการวินิจฉัย มันวินิจฉัยยากต้องติดเครื่องติดตาม และหากพบว่ามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดจังหวะแบบนี้จะสามารถให้การรักษาเพื่อหาสาเหตุ ควบคุมอัตราเต้น กันหัวใจวาย และให้ยาลดโอกาสการเกิดอัมพาต
เราได้พัฒนาวิธีการตรวจหลายอันที่จะมาตรวจจับ ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง อันใหม่ล่าสุดคือตัวตรวจจับแบบแปะที่ผิวหนังบริเวณหน้าอก แผ่นเล็กๆแปะง่ายแปะเอง มีอุปกรณ์บันทึกและแบตเตอรี่ในแผ่นนั้นเสร็จสรรพ เสร็จแล้วก็ลอกแผ่นนั้นมาวิเคราะห์
ผลการศึกษาทำในคนที่มีโอกาสจะเกิด atrial fibrillation
เทียบระหว่างแผ่นแปะกับเฝ้าระวังใกล้ชิด
พบว่าการใช้แผ่นแปะเพิ่มโอกาสการตรวจจับ atrial fibrillation
ได้สูงกว่าเฝ้าติดตามใกล้ชิดหรือรอให้เกิดอาการค่อยทำ
แต่อัตรานี้ไม่ได้สูงมากนัก
จะช่วยเพิ่มโอกาสการตรวจพบ ลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆที่จะตามมา แต่ก็ไม่ไวและไม่คุ้มพอที่จะมาแปะทุกคน คงใช้เฉพาะคนที่เสี่ยงหรือลักษณะอาการน่าจะเป็น AF และจะค้นหาว่าเป็นหรือไม่ ในทางตรงกันข้ามก็เพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจและการให้ยาป้องกันเลือดแข็งเพิ่มขึ้นด้วย เป็นสิ่งที่เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขต้องเข้ามาวิเคราะห์ต่อไปครับ
ที่มา
Steinhubl SR, Waalen J, Edwards AM, et al. Effect of a Home-Based Wearable Continuous ECG Monitoring Patch on Detection of Undiagnosed Atrial FibrillationThe mSToPS Randomized Clinical Trial. JAMA. 2018;320(2):146–155. doi:10.1001/jama.2018.8102
จะช่วยเพิ่มโอกาสการตรวจพบ ลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆที่จะตามมา แต่ก็ไม่ไวและไม่คุ้มพอที่จะมาแปะทุกคน คงใช้เฉพาะคนที่เสี่ยงหรือลักษณะอาการน่าจะเป็น AF และจะค้นหาว่าเป็นหรือไม่ ในทางตรงกันข้ามก็เพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจและการให้ยาป้องกันเลือดแข็งเพิ่มขึ้นด้วย เป็นสิ่งที่เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขต้องเข้ามาวิเคราะห์ต่อไปครับ
ที่มา
Steinhubl SR, Waalen J, Edwards AM, et al. Effect of a Home-Based Wearable Continuous ECG Monitoring Patch on Detection of Undiagnosed Atrial FibrillationThe mSToPS Randomized Clinical Trial. JAMA. 2018;320(2):146–155. doi:10.1001/jama.2018.8102
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น