18 กันยายน 2567

non-invasive positive pressure ventilator การศึกษา HAPPEN

 ถ้าคุณเป็นผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วยถุงลมโป่งพองที่กำเริบหนักและต้องมาโรงพยาบาล

คุณคิดว่า คุณอยากใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจอันไหน
คุณคิดว่า คุณหมอจะใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจอันไหนให้
คำตอบมีมากมายนะครับ แล้วแต่สภาพโรค ทรัพยากรของโรงพยาบาล แต่ถ้าว่ากันตามการศึกษาและแนวทางโดยคิดว่าไม่มีข้อจำกัดด้านทรัพยากร ก็น่าจะเป็นข้อ 4 non-invasive positive pressure ventilator เพราะต้องใช้แรงดันบวกอัดลมเข้าไปเอาชนะแรงดันในปอดที่สูงจากถุงลมลมโป่งพอง
แนวทางปัจจุบันแนะนำให้ให้ตัวนี้ก่อน หากผู้ป่วยต้องการช่วยหายใจให้รีบใช้เลยที่ห้องฉุกเฉิน จะช่วยลดการใส่ท่อช่วยหายใจ ลดระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจ ลดการอยู่ในไอซียู โดยจะใข้เป็นหน้ากากเล็กครอบจมูก หน้ากากใหญ่ครอบปากและจมูก หรือเป็นแบบหมวกกันน็อก เปิดความดันประมาณไม่เกิน 10-15 เซนติเมตรน้ำน่าจะเอาอยู่ ที่สำคัญคือต้องเลือกหน้ากากให้พอดี
มีการศึกษา HAPPEN ทำในจีน ตีพิมพ์ใน JAMA สัปดาห์ที่แล้ว นำผู้ป่วยถุงลมโป่งพองกำเริบที่ต้องใช้ NIV มาแบ่งเป็นให้ความดันปกติ 10-20 หรือใช้ความดันสูง 20-30 ปรากฏว่าอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจไม่ต่างกันอยู่ที่ประมาณ 3.5% ซึ่งนับว่าต่ำมาก และถ้าได้ตัวเลขแบบนี้คือดีมาก ไม่ว่าจะดันสูงดันต่ำ ขอให้ใช้เร็วใช้ถูก รับรองว่าช่วยคนไข้ได้
ส่วนข้อ 1 ใส่หน้ากากออกซิเจน แม้จะได้สัดส่วนออกซิเจนเยอะ แต่ความดันและอัตราไหลของลมไม่เยอะก็จะไม่ได้ช่วยมากนัก ต้องระวังว่าให้ออกซิเจนมากเกินไป ผู้ป่วยจะหายใจลดลงด้วย
ข้อ 2. ใส่ท่อช่วยหายใจต่อเครื่องช่วยหายใจ อันนี้ช่วยได้แน่ และเป็นมาตรการฉุกเฉินที่ทำได้ทุกที่ แต่มันก็เจ็บ รุกล้ำ มีผลแทรกซ้อนมาก เก็บไว้ถ้าวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือไม่มีวิธีอื่นใช้
ข้อ 3. เรียก ออกซิเจนอัตราไหลสูง high flow oxygen canula ก็เหมาะกับผู้ป่วยขาดออกซิเจน ถ้าจะใช้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง ก็ต้องใช้แรงดันมหาศาล เครื่องนี้ใช้อัตราไหลสูงทำให้ไม่ต้องใข้แกกกรงดันมากนักก็ไความเข้มข้นออกซิเจนที่ต้องการ มีผู้ป่วยถุงลมโป่งพองกำเริบน้อยรายเท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้
เป็นกำลังใจให้ผู้ที่ประสบอุทกภัยทุกท่านครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม