เครื่องมือที่หนีบนิ้วผู้ป่วย ดูออกซิเจนในเลือด ท่านอาจเคยเห็น เรามาทำความรู้จักคร่าวๆกัน (บทความนี้จะยากนิดนิง)
ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปลายนิ้ว (SpO2)นั้นแพร่หลายเอามากๆเลย มีใช้ทุกที่แต่หนีบนิ้วหรือหนีบติ่งหูก็อ่านค่าได้แล้ว จนเดี๋ยวนี้เรียกกันว่าเป็นสัญญาณชีพตัวที่ห้ากันไปแล้ว และเรามักจะเข้าใจว่ามันควรจะได้ 100% ตลอดถึงจะดี แต่จริงๆก็ไม่ได้เป็นแบบนั้น
ถามว่าจริงๆแล้วมันวัดอะไร คำตอบคือมันไม่ได้วัดความเข้มข้นของออกซิเจนนะครับ มันวัดสัดส่วนของฮีโมโกลบินที่จับออกซิเจน (oxyhemoglobin) ฮีโมโกลบินคือโปรตีนหลักในเม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนไปที่อวัยวะต่างๆ เทียบกับผลบวกของ ฮีโมโกลบินที่ไม่ได้จับออกซิเจน และ ฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน
*** oxygen saturation SpO2 = HbO2 ÷ (HbO2+reduced hemoglobin) ***
มันวัดสัดส่วนค่าฮีโมโกลบินนะครับ แล้วเอาไปคำนวณอีกมากมายได้เป็นค่า ความอิ่มตัวของออกซิเจนออกมา ซึ่งค่ามันจะไม่ร้อยเปอร์เซนต์แน่ๆล่ะครับ โดยทั่วไปถ้าภาวะปกติ ค่าความอิ่มตัว ก็จะพอประมาณค่าความดันแก๊สออกซิเจนในเลือดได้ PaO2
ไอ้เจ้าค่า PaO2 นี่ต้องเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดงมาวิเคราะห์นะครับ เจ็บและใช้เวลา แต่เจ้าความอิ่มตัวปลายนิ้วนี้จับหนีบแล้วอ่านค่าได้เลย
ค่าปรกติก็ประมาณ 94-99% นะครับ รายละเอียดความแปรปรวนหรืออื่นๆถ้าสงสัยก็ถามในเม้นต์ดีกว่าไม่งั้นจะยากไป
***ประมาณค่า SaO2 90% เท่ากับ PaO2 60 , ค่า SaO2 75% เท่ากับ PaO2 40, ค่า SaO2 50% เท่ากับ PaO2 27 ***
ตัวเลข PaO2 60 เราถือว่าขาดออกซิเจนรุนแรงแล้วครับ แต่การแปลผลแบบนี้คือต้องปรกตินะครับ ถ้ามีไข้ ถ้ามีเลือดเป็นกรด ถ้ามีภาวะการจับและปล่อยออกซิเจนผิดปกติจะบอกยาก ไม่ตรงไปตรงมา ต้องใช้ค่าการอิ่มตัว (SaO2)และความดันออกซิเจนที่ได้จากการเจาะเลือดแดงแทนเพราะจะวัดละเอียดกว่า ใช้แสง 4 ความยาวคลื่น (วัด HbO2 HbR carboxyHb metHb) ในขณะที่ ตัวหนีบนิ้วใช้แค่สองความยาวคลื่นเท่านั้น
นอกจากนี้ ถ้าคนไข้ซีดจาง เลือดแดงต่ำ ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินต่ำไปด้วย ค่าก็อาจไม่ถูกต้องมากนัก ผู้ป่วยเลือดมาเลี้ยงปลายนิ้วไม่ดีเช่นช็อกหรือหลอดเลือดแดงตีบ ก็จะมีความน่าเชื่อถือลดลง ตัวอย่างเช่น เวลาวัดความดัน ค่าความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้วจะหายไปเพราะเลือดลงมาปลายนิ้วไม่ได้
เครื่องวัดส่วนมากที่ใช้มีสองรุ่น รุ่นง่ายคือหนีบแล้วอ่านค่าความอิ่มตัวออกมาเป็นตัวเลขกี่เปอร์เซนต์ เครื่องเล็กๆเหมือนเอาไม้หนีบผ้ามาหนีบนิ้ว ส่วนอีกรุ่นจะเป็นเครื่องที่มีกราฟแสดงผล platysmography คือแสดงแรงดันเลือดฝอยด้วย อันนี้จะเป็นมาตรฐานคือจะอ่านค่าได้ต้องดูกราฟว่าแรงดันมันมาที่ปลายนิ้วพอ จึงเรียกรวมว่า pulse oxymeter กราฟสวย ค่าความอิ่มตัวจึงเชื่อถือได้ ไม่ใช่กราฟราบเรียบไม่มีแรงดันใดๆ เวลาอ่านค่าก็อาจผิดพลาดได้
เจ้าเครื่องเล็กๆจะมีแถบวัดความแรงของเลือดว่าเลือดมาแรงถึงปลายนิ้วเพียงพอที่จะอ่านค่าหรือไม่ ถ้าแรงพอเต็มขีดเต็มแถบก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้นครับ
ดังนั้นค่าตัวนี้เป็นเพียงค่าที่วัดได้..มันจะมีความสำคัญเพียงใด มีมูลค่าในการแปลผลแค่ไหน ขึ้นกับผู้ใช้ที่ต้องเอาไปแปลผล และทราบข้อจำกัดของอุปกรณ์ด้วยนะครับ อย่าตกใจเพียงแค่ค่ามันไม่ร้อยเปอร์เซนต์ และอย่าชะล่าใจที่เห็นมันปกติหรือลดลงแค่ 2% โดยไม่ดูคนไข้หรือบริบทอื่นๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น