การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้
สวัสดีตอนเช้าครับทุกท่าน เช้าสดใสหลังฝนตก
วันนี้เปิดเพจครบ 1 สัปดาห์แล้วครับ ไฟยังมากอยู่นะครับ
เมื่อคืนอ่านหนังสือก่อนนอนแล้วคิดว่าอยากมาเล่าให้ทุกท่านฟังเรื่อง
"การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่" ครับ
ทำไมต้องคัดกรองด้วยล่ะ
มะเร็งที่คัดกรองกันทุกวันนี้ (ที่ตามมาตรฐานนะครับ ไม่ใช่เจาะเลือดแล้วรู้
ตามโฆษณาโรงพยาบาลต่างๆ) เพราะว่าถ้าพบในระยะต้นมันรักษาหายขาดไงครับ
ไม่สุญเสียทรัพย์ ไม่สูญเสียคนที่เรารัก หนึ่งในนั้นคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ครับ
พบเป็นลำดับสามของคนไทยเลยนะครับ ประมาณ 7-8 ต่อประชากร 100,000 คน
พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงเล็กน้อย และที่สำคัญมันไม่มีอาการครับ
ที่มาหาหมอและต้องผ่าตัดนั้น ส่วนมากเป็นระยะปลายแล้วนะครับ
แล้วจะคัดกรองกับใคร โดยทั่วไปก็ทุกคนที่อายุ
50-85 ปีครับ ก่อนนี้หรือหลังจากนี้ อาจไม่เกิดประโยชน์มากนัก
อันนี้มองภาพรวมทั้งประเทศนะครับ ส่วนท่านใดต้องการตรวจเป็นส่วนตัวก็ตรวจได้
และสำหรับท่านใดที่มีพ่อแม่พี่น้อง เครือญาติ (ญาติใกล้ๆนะครับ ไม่เอาญาติห่างๆ)
จะต้องเริ่มเร็วขึ้น นับที่อายุ 40 ปีนะครับ หรือ
เร็วกว่าอายุของญาติของเราที่เป็นอีก 10 ปี เช่น พี่ชายเป็นตอนอายุ 45
ท่านต้องเริ่มตอนอายุ 35 ครับ
ใช้วิธีใด ง่ายสุดก็ตรวจหาเลือดมนุษย์
ที่ลำไส้ครับ โดยการตรวจอุจจาระ (iFOBT) ต้องเป็นการตรวจเลือดในอุจจาระที่ใช้สำหรับการคัดกรองนะครับ
ทำทุกปี แต่ละครั้งจะเก็บอุจจาระ 3 ตัวอย่างนะครับ อันนี้ง่ายสุด ทำเองได้
ถ้าผลเป็นบากค่อยไปส่องกล้องครับ
ส่วนที่แนะนำอีกคือ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ครับ
อันนี้แม่นยำมาก ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจได้ด้วย ทำทุก 10 ปีครับ ต้องเตรียมลำไส้ก่อนทำ
และอาจพบลำไส้ทะลุจากการทำ แต่ก็ไม่มากนะครับ 0.1-0.3 % เท่านั้น
คิดไปคิดมาคุ้มครับ เพราะทุก 10 ปี หยอดกระปุกวันละ 10 บาทเท่านั้น
การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ก็เป็นอีกทางเลือกครับ
ไม่ต้องเสี่ยงเท่าส่องกล้อง แต่ก็จะลดความแม่นยำลงมาเล็กน้อย ทำทุก 10
ปีเช่นกันครับ ราคาไม่แพงแล้วนะครับ ส่วนการสวนแป้งทางทวารหนัก
เราเลิกใช้ในการคัดกรองแล้วนะครับ
การตรวจเลือด
ไม่สามารถคัดกรองหรือวินิจฉัยได้เลย มันนี้เข้าใจผิดกันมากมายเลยครับ
อย่าให้การตลาดและความกลัวมาหลอกท่านได้นะครับ
สุดท้ายไม่ว่าการตรวจจะเป็นอย่างไร
อย่าลืมว่ามันคือการคัดกรอง
จำเป็นต้องทำการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจยืนยันโรคมะเร็งทุกครั้งครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น