อุปกรณ์ในการช่วยการทำงานของหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจ เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าที่ติดกับหน้าอกคนไข้ เครื่องควบคุมการเต้น อุปกรณ์ช่วยแรงบีบตัว ล้วนแต่เป็นอุปกรณ์ทันสมัยใช้เทคโนโลยีแม่เหล็กไฟฟ้าในการควบคุมการทำงาน แต่หากจำเป็นต้องเข้าเครื่องเอ็กซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า เอ็มอาร์ไอ Magnetic Resonance Imaging จะมีปัญหาหรือไม่
อุปกรณ์แม่เหล็กไฟฟ้าในบ้าน ไม่ว่าเป็นโทรทัศน์ วิทยุ สเตริโอ หรือแม้แต่สายไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่สูงๆไกลๆ ไม่มีแรงส่งมากพอที่จะมารบกวนการทำงานได้ แต่เวลาที่คุณเข้าเครื่องเอ็มอาร์ไอ เครื่องจะอยู่ชิดติดจมูกคุณเลย เรียกว่าใกล้มาก ด้วยแรงแม่เหล็กมาตรฐาน 1.5 เทสลา บางรุ่นสูงขึ้นถึง 3 เทสลา อาจทำให้เกิดปัญหาได้หรือไม่
และเครื่องมือที่ใช้กับหัวใจรุ่นใหม่ๆ จะมีการรับรอง MRI conditioning device ที่สร้างมาเพื่อเพื่มความปลอดภัยในการทำ MRI แต่ราคาก็สูงกว่าเครื่องที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับ MRI โดยเฉพาะ จำเป็นหรือไม่
มีการศึกษาหลายชิ้นและกำลังศึกษาอยู่หลายชิ้น ผลลัพธ์ได้ประกาศใน European Society of Cardiology 2013 และในวารสารคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญของ American College of Cardiology ปี 2016 ได้รวบรวมและแสดงให้เห็นว่า แม้แต่ในเครื่องมือที่ใส่กับหัวใจรุ่นปกติ กับ MRI ด้วยความแรงปกติ ที่ไม่ใช่การทำเอ็มอาร์ไอทรวงอก ก็มีอันตรายต่ำมาก เรียกว่าปลอดภัยเลย ..ถ้าหาก !!..
มีการเตรียมตัวพูดคุยกันระหว่างอายุรแพทย์โรคหัวใจและรังสีแพทย์ ถึงระยะเวลาในการทำ ความแรงแม่เหล็กและบริเวณที่ทำ รวมทั้งมีการติดตามใกล้ชิด อันนี้เน้นมากๆ #สามารถปรับแต่งอุปกรณ์ได้ทั้งก่อนและหลังทำ#
สรุปว่าปลอดภัยแต่ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี แม้กระนั้นตัวเลขของอุปกรณ์ที่เสียหน้าที่การทำงานไปหลังจากเอ็มอาร์ไอก็มีพอสมควร คือคนไข้มีความปลอดภัยสูงแต่เครื่องอาจจะรวนบ้าง จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่จะทนเอ็มอาร์ไอได้ดีขึ้น MRI-conditioning device นั่นเอง ตัวเครื่องก็จะมีป้ายรับรองเรื่องนี้ไว้ ไปแอบถามมาราคาก็ต่างกัน 30,000 - 60,000 บาท
ด้วยราคาที่สูงกว่า จึงอาจเลือกใช้ในกลุ่มคนที่มีโอกาสจะต้องเข้าทำเอ็มอาร์ไอ เช่น อายุน้อย มีโรคสมอง โรคไขสันหลังที่ต้องเอ็มอาร์ไอ ส่วนคนที่มีข้อห้ามการทำเอ็มอาร์ไอ เช่น ใส่โลหะที่แขนขา กลัวที่แคบ อันนี้ใส่แบบธรรมดาก็ได้
ส่วนเครื่องกระตุ้นแบบไร้สาย (leadless นะไม่ใช่ bluetooth) ทางบริษัทผู้ผลิตก็รับรองว่าเป็น MRI conditioning เช่นกันครับ
ข้อห้ามสำคัญในการทำเอ็มอาร์ไอ สำหรับคนที่ใส่อุปกรณ์ควบคุมหัวใจ คือ เพิ่งใส่มาไม่เกินหกสัปดาห์, เครื่องทำงานไม่สมบูรณ์อยู่แล้ว, สายอุปกรณ์ฝังที่ด้านนอกหัวใจ epicardial lead, คนไข้ที่ไม่สามารถหยุดเครื่องกระตุ้นหัวใจได้เลยและเครื่องนั้นไม่สามารถปรับเป็น asynchronous mode, สายต่อเสื่อมชำรุด
ไม่ว่าใส่แบบใด การเตรียมตัวและการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และระวังมากๆกับการเอ็มอาร์ไอทรวงอกและหัวใจ
ที่มา
1.Safety of magnetic resonance imaging in patients with cardiovascular devices
Latest update 2013 December , ESC
2.MRI in Patients with Implanted Devices: Current Controversies : Expert Analysis , 01 Aug 2016
3. Magnetic resonance imaging-conditional devices: Luxury or real clinical need? , Hellenic Society of Cardiology 2017:58;256-60
4.MRI and cardiac implantable electronic devices; current status and required safety conditions. Neth Heart J (2014) 22:269–2
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น