เขียนเรื่องเลิกบุหรี่มามากแล้ว มาดูเรื่องยาที่ใช้เลิกเหล้ากันหน่อย
ต้องบอกก่อนว่าอย่างไรเสีย การเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ต้องอาศัยจิตใจของผู้เสพที่พร้อมจะเลิกโดยสมัครใจ และพลังของครอบครัวช่วยสนับสนุน บุคลากรทางการแพทย์และยาเป็นเพียงตัวช่วยและคอยชี้ทางเท่านั้น และหากจะหวังผลไปมากขึ้นภาครัฐต้องเอาใจใส่ด้วย
ต้องบอกก่อนว่าอย่างไรเสีย การเลิกเหล้าเลิกบุหรี่ต้องอาศัยจิตใจของผู้เสพที่พร้อมจะเลิกโดยสมัครใจ และพลังของครอบครัวช่วยสนับสนุน บุคลากรทางการแพทย์และยาเป็นเพียงตัวช่วยและคอยชี้ทางเท่านั้น และหากจะหวังผลไปมากขึ้นภาครัฐต้องเอาใจใส่ด้วย
ในอดีตเรามีการใช้ยาเลิกเหล้าตัวหนึ่งกันมากคือยา disulfiram บางคนก็ซื้อมากินเอง บางคนก็แอบซื้อให้คนดื่มเหล้ากิน จากการศึกษาปัจจุบันเราพบว่ายา disulfiram ไม่ได้เพิ่มโอกาสการเลิกเหล้าได้ อาจจะช่วยให้ลดการดื่มในช่วงสั้นๆสุดท้ายปลายทางก็จะดื่มมากอยู่ดี เราจึงแนะนำการใช้ยาตัวนี้น้อยลงไปมาก
ยาต้านโรคซึมเศร้า ก็นิยมมาใช้ในการช่วยเลิกเหล้าในกลุ่มที่มีโรคซึมเศร้าร่วมด้วย อย่าทำเป็นเล่น มีการศึกษาชัดเจนเลยนะครับว่ากลุ่มผู้ที่ติดเหล้ากว่าครึ่งมีโรคซึมเศร้าอยู่ด้วย ดังนั้นการรักษาด้วยยาต้านการซึมเศร้าจึงมีประโยชน์อยู่ในบางกลุ่ม ห้ามไปซื้อกินเองหรือแอบซื้อให้คนดื่มเหล้ากินเองเด็ดขาด ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ
ยาสองตัวที่มีการศึกษามากว่าเพิ่มโอกาสเลิกเหล้าได้สำเร็จคือยา Naltrexone และ Acamprosate จากแนวทางของหลายสมาคมในอเมริกาและจากการรวบรวมการศึกษาหลายชิ้นงาน พบว่าทั้งสองตัวนี้ช่วยเพิ่มโอกาสได้จริงๆเมื่อเทียบกับยาหลอก ภายใต้การควบคุมและทำพฤติกรรมบำบัดร่วมด้วย (เพราะต้องให้ยาหลังจากถอนพิษเหล้าก่อน) ตัวเลขบอกว่าหากต้องการป้องกันคนหนึ่งคนจากการกลับมาดื่มอีก สำหรับ Naltrexone ต้องให้ยา 20 คนจะเห็นผลหนึ่งคน และตัวเลขของ Acamprosate คือ 12 คน ....ประมาณการว่า เรากินแอสไพรินเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจซ้ำ ตัวเลขตั้ง 50 ยังคุ้มเลย เรากินยาลดไขมันสเตตินเพื่อลดโอกาสการเกิดอัมพาตซ้ำ ตัวเลขที่ 125 นะครับ...
ตัวยา Naltrexone จะลดการกลับมาดื่มหนักได้ดีกว่า Acamprosate เล็กน้อย กินง่ายกว่าแค่วันละครั้ง แต่ว่าห้ามใช้ในช่วงตับอักเสบเฉียบพลันและทำให้เกิดอาการถอนเหล้ามากขึ้นได้ ในขณะที่ Acamprosate ต้องกินวันละสามครั้ง มีข้อห้ามในกลุ่มผู้ป่วยไตเสื่อม
ตัวยา Naltrexone จะลดการกลับมาดื่มหนักได้ดีกว่า Acamprosate เล็กน้อย กินง่ายกว่าแค่วันละครั้ง แต่ว่าห้ามใช้ในช่วงตับอักเสบเฉียบพลันและทำให้เกิดอาการถอนเหล้ามากขึ้นได้ ในขณะที่ Acamprosate ต้องกินวันละสามครั้ง มีข้อห้ามในกลุ่มผู้ป่วยไตเสื่อม
แล้วถ้าเทียบกันสองตัวจริงๆล่ะว่าตัวไหนดีกว่ากัน ก็พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ เรียกว่าจะใช้ตัวใดก็ได้ร่วมกับการรักษาแบบพฤติกรรมบำบัดและเต็มใจพร้อมเลิก ได้ผลกว่ายาหลอกอย่างชัดเจน ได้ผลกว่าหักดิบ (เพราะหักดิบส่วนมากจะมีอาการถอนเหล้าที่อันตรายมากๆ)
และถ้าติดทั้งเหล้าและบุหรี่จะเลิกอะไรก่อนกัน คำตอบคือเลิกเหล้าก่อนนะครับ สูบบุหรี่ยังควบคุมการดื่มเหล้าได้ และถ้าติดเหล้าจะควบคุมการสูบบุหรี่ไม่ได้เลย
และถ้าติดทั้งเหล้าและบุหรี่จะเลิกอะไรก่อนกัน คำตอบคือเลิกเหล้าก่อนนะครับ สูบบุหรี่ยังควบคุมการดื่มเหล้าได้ และถ้าติดเหล้าจะควบคุมการสูบบุหรี่ไม่ได้เลย
และสำหรับยาสองตัวนี้ หลายปีก่อนที่ศึกษายังไม่มีใช้ในไทยและคิดว่าปัจจุบันก็ยังคงไม่มีเช่นกันครับ สำหรับบ้านเราก็ยังคงต้องใช้ใจเป็นหลักอยู่ดี ...แอบบ่นว่าทำไมบ้านเรา ยาเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ มันถึงยากเย็นแบบนี้
ส่วนใครต้องการเลิกเหล้าให้เข้ารับการปรึกษาจากโรงพยาบาลใกล้บ้านได้นะครับ ผมแนะนำปรึกษาแพทย์ดีกว่าเพราะต้องระวังตับอักเสบจากเหล้า อาการถอนเหล้า ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตหากรับมือไม่ดีพอ
ส่วนใครต้องการเลิกเหล้าให้เข้ารับการปรึกษาจากโรงพยาบาลใกล้บ้านได้นะครับ ผมแนะนำปรึกษาแพทย์ดีกว่าเพราะต้องระวังตับอักเสบจากเหล้า อาการถอนเหล้า ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตหากรับมือไม่ดีพอ
สำหรับใครที่คิดจะลองลิ้มชิมเหล้า ขอบอกว่าอย่าเลยครับ แม้เคยมีการศึกษามาบ้างว่าการดื่มไวน์แดงในปริมาณไม่เกินที่กำหนดจะมีประโยชน์ หรือมีมาตรฐานการดื่มมาตรฐานคอยกำหนดไม่ให้มากไปกว่านี้ก็ตาม แต่ผลเสียโดยรวมมันมากกว่าประโยชน์ครับ
เมาเหล้า หนึ่งคืน ก็ฟื้นจิต
เมารัก หนึ่งปีคิด ไม่ห่างหาย
เมากิเลส หนึ่งชีวิต สิ้นมลาย
เมาอิ๊บอ๋าย พ่ายหงส์แดง แทงผี สิ้นชีวี..คารัง
เมารัก หนึ่งปีคิด ไม่ห่างหาย
เมากิเลส หนึ่งชีวิต สิ้นมลาย
เมาอิ๊บอ๋าย พ่ายหงส์แดง แทงผี สิ้นชีวี..คารัง
ที่มา
1.https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/1869208
Pharmacotherapy for Adults With Alcohol Use Disorders in Outpatient Settings A Systematic Review and Meta-analysis
1.https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/1869208
Pharmacotherapy for Adults With Alcohol Use Disorders in Outpatient Settings A Systematic Review and Meta-analysis
2.Lancet. 2009 May 30;373(9678):1849-60
Aspirin in the primary and secondary prevention of vascular disease: collaborative meta-analysis of individual participant data from randomised trials.
Antithrombotic Trialists' (ATT) Collaboration
Aspirin in the primary and secondary prevention of vascular disease: collaborative meta-analysis of individual participant data from randomised trials.
Antithrombotic Trialists' (ATT) Collaboration
3. Lancet. 2005 Oct 8;366(9493):1267-78
Efficacy and safety of cholesterol-lowering treatment: prospective meta-analysis of data from 90,056 participants in 14 randomised trials of statins Cholesterol Treatment Trialists' (CTT) Collaborators.
Efficacy and safety of cholesterol-lowering treatment: prospective meta-analysis of data from 90,056 participants in 14 randomised trials of statins Cholesterol Treatment Trialists' (CTT) Collaborators.
5. THE AMERICAN PSYCHIATRIC ASSOCIATION PRACTICE GUIDELINE FOR THE Pharmacological Treatment of Patients With Alcohol Use Disorder https://psychiatryonline.org/…/10.…/appi.books.9781615371969
6.Alcohol-Use Disorders: Diagnosis, Assessment and Management of Harmful Drinking and Alcohol Dependence.
NICE Clinical Guidelines, No. 115
NICE Clinical Guidelines, No. 115
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น