18 พฤษภาคม 2564

นิ่วเขากวาง

เขากวาง (staghorn)

นิ่วเขากวาง คือ อะไร
คือนิ่วที่มีรูปร่างเป็นแฉกเป็นกิ่งก้าน ตามรูปร่างของท่อไตกรวยไต   พอมีตั้งแต่สองก้านของกรวยไตสองกรวยขึ้นไป ก็เรียกว่านิ่วเขากวาง

มันพิเศษอย่างไร 
ปกตินิ่วมักจะเป็น ยูเรต(urate) ออกซาเลต(oxalte) หรือแคลเซียม(calcium) การสร้างการตกผลึกจะเป็นก้อนกลม ไม่ต่อเป็นกิ่งก้านสาขา เวลาหลุดก็หลุดง่าย แก้ไขผ่าตัดสะดวก แต่นิ่งเขากวางจะเป็น  แมกซีเนียม อลูมิเนียม ฟอสเฟต ที่สามารถเกาะตัวสร้างกิ่งได้ 

แมกนีเซียม อลูมิเนียม ฟอสเฟต เรียกง่าย ๆ ว่า Mgalph ได้ไหม
อย่ามั่ว เขามีชื่ออยู่แล้ว คือ Struvite ชื่อสตรูไฟวท์ มาจากนักธรณีวิทยาชาวเยอรมัน Heinrich Christian Gottfried von Struve ที่กล่าวถึงแร่ธาตุนี้ในธรรมชาติเป็นคนแรก ต่อมาภายหลังนักเคมีรุ่นน้องชาวเยอรมัน Georg Ulex ค้นพบรายละเอียดและอธิบายโครงสร้างผลึกนี้ได้ เขาเลยตั้งชื่อตามคนกล่าวถึงคนแรก สตรูไฟวท์

อ๋อ ก็เลยมักเรียก staghorn stone ว่า struvite stone
ก็จากการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกชนิดนี้ ออกมาพบว่าเป็นธาตุสตรูไฟวท์เสียส่วนมาก  และที่เรียกว่าสตรูไฟวท์ ก็เพราะมันสื่อถึงที่มาของนิ่วชนิดนี้ที่มีอีกชื่อว่า 'infection stone' นิ่วอันมีที่มาจากการติดเชื้อ

มันเกี่ยวอะไร วิชาเคมี กับ วิชาชีววิทยา
คือว่า สตรูไฟวท์ มันจะเกิดขึ้นและตกตะกอนในภาวะด่าง แต่ว่าปัสสาวะของเรามีสภาพเป็นกรดอ่อน เวลาติดเชื้อก็มีสภาพเป็นกรด แต่จะมีการติดเชื้อบางอย่างที่เกิดภาวะด่าง เพราะแบคทีเรียมีเอนไซม์พิเศษชื่อ ยูรีเอส (urease) สามารถย่อยสลายยูเรียที่มีมากมายในปัสสาวะ ให้กลายสภาพเป็นแอมโมเนีย และเกิดภาวะด่าง พอสองภาวะนี้เกิดมันก็เอื้อให้สตรูไฟวท์ ก่อตัวขึ้น

มีแบคทีเรียอะไรบ้างล่ะ
เยอะเลย แต่ที่พบบ่อย ๆ และเป็นเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะด้วยคือ staphylococcus aureus, staphylococcus epidermidis, Hemophilus influenzae, Klebsiella spp., Ureaplama ureaticum พวกนี้พอติดเชื้อก็อาจมีการสร้างนิ่วสตรูไฟวท์ได้ ยิ่งติดซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ยิ่งเกิดบ่อย งอกงามเป็น นิ่วเขากวาง

ใครจะติดเชื้อบ่อยและนานจนเกิดนิ่วเขากวาง
ก็คนที่ติดเชื้อตั้งแต่แรก จะมีนิ่วก่อตัว นิ่วเองก็ทำให้ติดเชื้อบ่อย ง่ายขึ้น พอติดเชื้อบ่อยขึ้นนิ่วก็เจริญงอกงาม วนไปเรื่อย ๆ แบบนี้จนกลายเป็น staghorn เพราะมันคือ struvite ดังนั้นการป้องกันที่ดีวิธีหนึ่งคือ อย่าทำให้ตัวเองเสี่ยงติดเชื้อ และถ้าติดเชื้อแล้วให้ทำการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ดื้อยา

ในเมื่อนิ่วเขากวางที่มี จะทำให้เกิดนิ่วต่อไปเรื่อย ๆ ต้องเอานิ่วออกไหม
ต้องเอาออก เพราะหากปล่อยนานไป ติดเชื้อบ่อยขึ้น นิ่วโตขึ้น ไตทำงานแย่ลง สุดท้ายก็ไตเสื่อมไตวาย หรืออาจโชคร้าย ติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ช็อกรุนแรง ถึงตายได้  การเอาออกจะลดปัญหาในอนาคตมากมาย ปัจจุบันนี้มีการผ่าตัดหลายรูปแบบครับ เทคนิควิธีต้องปรึกษา หมอสาลิกา เขามีหลายท่า ทั้งเปิดอ้า แยงรู ใช้เครื่องสั่นสะเทือน 

สรุปว่านิ่วเขากวางควรเอาออก ?
ใช่แล้ว นิ่วเขากวางควรเอาออก 
แต่ถ้าจะมาลวงมาหลอก ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ดอกไม้ริมทาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม