ยา montelukast ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืดและภูมิแพ้ ตั้งแต่เด็กจนผู้ใหญ่ มีผลข้างเคียงอย่างหนึ่งที่ต้องพึงระวัง...ภาวะผิดปกติทางจิตประสาท
องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศคำเตือนออกมาเป็นสิบปีแล้วตั้งแต่ปี 2004 2009 และในปี 2014 ก็ยังพูดถึงปัญหานี้อยู่มาก ผมลองค้นคว้าเพิ่มเติมก็พบรายละเอียดพอสมควรเอามาเล่าให้ฟังเป็นลำดับข้อแล้วกันนะครับง่ายดี
1. ยา montelukast เป็นยากลุ่ม leukotrienes receptor antagonist เราพบว่าสาร leukotrienes มีส่วนสำคัญที่ทำให้หลอดลมตีบในโรคหอบหืด เราจึงไปบล็อกการทำงานของมัน โรคหอบหืดก็ดีขี้น ใช้ในโรคหอบหืด หอบหลังออกกำลังกาย หลอดลมไวในเด็ก ภูมิแพ้ในเด็ก มีเพื่อนร่วมกลุ่มอีกสองตัวคือ zafirlukast และ zileuton ใช้กันมาอย่างยาวนาน ทุกวันนี้ก็ยังใช้อยู่
2. จากการศึกษาของยา และการรวบรวมผลหลังจากที่ขายยาออกมาแล้ว พบผลข้างเคียงอันหนึ่งที่มีรายงานเสมอๆคือ ผลต่อระบบจิตประสาท ได้แก่ สับสน วุ่นวายก้าวร้าว เครียด ซึมเศร้า ขาดสมาธิ ฝันร้าย พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง รวมไปถึง ฆ่าตัวตาย และเชื่อว่าไม่ได้เป็นเฉพาะ montelukast แต่เป็นทั้งกลุ่ม
3. หลังจากที่ยืนยันผลข้างเคียงอันนี้ ทางองค์การอาหารและยาอเมริกาได้ประกาศเตือนการใช้ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ให้ระมัดระวังและเฝ้าติดตามในการใช้ยา ปนะกาศให้ผู้ผลิตแจ้งข้อมูลและเขียนในฉลากยา ตั่งแต่ปี 2004 ย้ำอีกในปี 2009 และย้ำอีกในปี 2014
*** มาถึงตรงนี้ก็อาจจะงง ทำไมไม่ห้ามจำหน่ายไปเลย ก็เพราะผลข้างเคียงมันพบไม่มาก ส่วนใหญ่ที่พบก็ไม่รุนแรง และประโยชน์ของยายังมาก ราคาไม่แพงครับ***
4. ทางองค์การอาหารและยาเชื่อว่า ข้อมูลจำนวนผู้ที่มีผลข้างเคียงที่สำรวจได้นั้น ต่ำกว่าความจริง เพราะในเด็กคงไม่สามารถระบุผลเสียตรงนี้ได้ชัดเจน ในเด็กโตก็มีความแปรปรวนทางอารมณ์ ในผู้ใหญ่ก็มีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่มีผลต่อจิตประสาท ทำให้การรายงานและการพิสูจน์ทำได้ยาก จนถึง ไม่ทำและละเลย ปัญหาจึงยังพบต่อเนื่อง และที่ยังพบต่อเนื่องเรื่อยๆอีกเหตุผลคือ เราทราบปัญหาและรายงานต่อเนื่อง
5. หลังจากนั้นก็มีการเก็บข้อมูลซึ่งกระท่อนกระแท่น เนื่องจากเก็บยากดังข้อสี่ และมีการศึกษาวิจัยเป็นเรื่องราว ผลการวิจัยก็ยังขัดแย้งกัน มีทั้งออกมาว่าเกี่ยวข้องกันและในทางตรงข้าม ออกมาว่าขนาดยามีผลต่อภาวะจิตประสาทก็มี ที่ทำมาแล้วพบว่าไม่สัมพันธ์ก็มี จึงยังไม่เป็นที่สรุป การศึกษาที่ทำส่วนมากก็เป็นการติดตามข้อมูลมากกว่านะเป็นการทดลองที่เรียกว่า clinical trials และส่วนมากก็มักไม่ได้ติดตามนานพอ
6. ทางองค์การอาหารและยา ไม่ได้สนับสนุนให้ทำการวิจัยในเรื่องผลข้างเคียงนี้ เพราะเป็นที่พิสูจน์แล้วว่ามีแน่ คนใช้และคนได้ยาต้องระมัดระวัง ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่ได้รุนแรงและสามารถหายไปได้เองเมื่อหยุดยา มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่รุนแรงจนต้องปรึกษาทางจิตเวชศาสตร์
7. pediatric advisory committee ขององค์การอาหารและยาประชุมกันบ่อยและยังให้ความสำคัญกับปัญหานี้ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการและบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก ระดับการเตือนยังแค่ให้ระมัดระวัง เฝ้าสังเกต และรีบรายงาน ยังไม่ได้ระงับการใช้แต่อย่างใด ...จริงๆในผู้ใหญ่ก็มีรายงานนะครับ แต่ว่าแยกจากโรคอื่นและพิสูจน์ยาก และมักเกิดกับการใช้ยาต่อเนื่องยาวนาน ที่พบการใช้ยาแบบนี้มากกว่าในคนไข้เด็ก
8. ต้องเฝ้าระวังในกลุ่มยานี้ทุกตัว โดยเฉพาะคนที่เคยใช้แล้วเกิดปัญหานี้ หรือคนที่มีปัญหาทางจิตเวชมาก่อน ทั้งหมอผู้สั่งจ่าย เภสัชกร และผู้ใช้ยา ผู้ปกครอง ต้องมีการให้คำแนะนำและเฝ้าระวัง
9. ข้อมูลที่ไปลุยค้นมา ส่วนมากเป็นรายงานผู้ป่วย ติดตามกลุ่มผู้ใช้เทียบกับไม่ใช้ จึงยังไม่ได้เป็นที่สรุปว่าทำให้เกิด แค่บอกว่ามีส่วนเกี่ยวพันกันและต้องระมัดระวังครับ ทุกวันนี้ถ้าใช้ก็ยังต้องระวัง และถ้าเกิดผลเสียช่วยกันรายงานครับ เราได้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์มากขึ้น
10. จบนัดที่สามสิบ ลิเวอร์พูลโชว์เหนือขย่มเอฟเวอร์ตัน คู่แข่งร่วมเมืองไปอย่างเหนือชั้นนั่งอยู่ลำดับที่สามอย่างยิ้มกริ่มและมองบน ซ้อมกับบอร์นมัธเบาๆอีก 2-2 ในขณะที่แมนยู ไม่สามารถทำอะไรเวสต์บรอมวิชได้..ในบ้านตัวเอง แถมยังต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ใส่ยากระตุ้นหัวใจ กว่าจะไล่ตีเสมอเอฟเวอร์ตันในบ้านตัวเอง !! 1-1 เคลื่อนตัวเองไปอยู่ที่ 6 อย่างช้ำใจ ...บ่องตง เป็นผม ผมว่าแนะนำ do not resuscitation ไปแล้ว แต่ก็คิดในแง่ดี ไม่ต้องเปลืองค่าเครื่องบิน ไปเตะถ้วยยุโรปฤดูกาลหน้า
แข่งเรือแข่งพายแข่งได้...แต่แข่งกับลิเวอร์พูลคงไม่ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น