ไม่นานมานี้ มีผู้ป่วยเอาผลเลือดมาปรึกษา บอกว่าผลเลือดของเขาค่าฮีมาโตคริต 40% (ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง และตัวเลขนี้ก็คือปกติ) อย่างอื่นปกติ ร่างกายแข็งแรงดีเป็นนักกีฬาด้วย มาปรึกษาจะให้เลือดสักถุงสองถุง เพื่อจะได้มีแรงมากขึ้นตอนแข่งขันสุดสัปดาห์นี้ !!!
เขาบอกว่าเขาเคยได้แล้วแข็งแรงขึ้น สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น คือ ลักษณะกีฬาที่เขาแข่งเป็นการแข่งแบบเอ็นดูร้านซ์ คือ แข่งทนแข่งนาน
เนื่องจากผู้ที่มาปรึกษา ไม่เรียกว่าผู้ป่วยนะ ไม่มีข้อบ่งชี้การให้เลือด ตรวจร่างกายปกติ จึงอธิบายเขาว่าไม่ได้นะมันไม่มีข้อบ่งชี้ ซึ่งเขาก็ยอมรับ(ตอนนี้) ด้วยความสงสัยจึงไปทบทวนดู ก็พบมีการให้เลือด หรือสารเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดจริงในการแข่งขันกีฬา ในช่วงปี 1970 นิยมให้เลือดมาก แต่ต่อมาพบผลข้างเคียงของการให้เลือด นักกีฬาจึงหันมาให้สารสังเคราะห์เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแทน
ปีก่อนเขียนเรื่อง มาเรีย ชาราโปว่า ที่ใช้ยาเมลโดเนียมแล้วถูกจับแบนการแข่งขัน ใครที่เป็นหมอแล้วต้องดูแลนักกีฬาคงต้องมาดูรายชื่อสารโด๊ป ที่เว็บไซต์ www.wada-ama.org ที่เป็นองค์การต่อต้านโด๊ปยา ได้เขียนรายชื่อยาและสารเคมีที่เป็นข้อห้ามเอาไว้ แบ่งเป็น ห้ามใช้ตลอด ห้ามใช้ในช่วงการแข่งขัน และ ห้ามใช้ในกีฬาบางชนิดเฉพาะ
การให้สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ถือว่า ต้องห้ามตลอดเวลา ส่วนการให้เลือดไม่ว่าจะเป็นการใช้เลือดตัวเองที่บริจาคเก็บไว้ แล้วเอามาให้เมื่อจะแข่ง หรือ การใช้เลือดคนอื่น ถือเป็นสารใช้สารผิดแบบ ติดโด๊ปเหมือนกัน
การตรวจหาสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด มีชุดการตรวจที่ไว แม้สารนั้นจะเป็นสารสังเคราะห์จากร่างกายมนุษย์ก็ตาม ส่วนการตรวจหาเลือดคนที่แปลกปลอม สามารถใช้ flow cytochemistry และ immunohistochemistry ในการแยกได้ แต่จะยากขึ้นถ้าใช้เลือดตัวเอง การสืบหาการให้เลือดตัวเอง กำลังพัฒนามากขึ้น ใช้ครั้งแรกในกีฬาโอลิมปิกที่เอเธนส์
รายชื่อสารเคมีและยามีพอประมาณครับ นักกีฬาและทีมงานต้องทราบ หมอที่ดูแลรักษาเป็นประจำต้องทราบ ข้อมูลหาไม่ยาก จะบอกว่าไม่รู้จะฟังไม่ขึ้นนะครับ
ส่วนผม กาแฟสักถ้วย ก็โด๊ปได้แล้วนะครับ .. คุณๆทั้งหลายโด๊ปโดยใช้วิธีใด มาเล่าให้กันฟังบ้างครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น