วันนี้ขอหยิบยกเรื่องราวเพื่อให้ความสำคัญกับฉลากโภชนาการ
ฉลากโภชนาการได้มีการปรับปรุงมาตามยุคสมัยให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย สามารถอ่านและพบเจอได้ในบรรจุภัณฑ์อาหารทุกชนิด มีการพัฒนาฉลากโภชนาการขึ้นมาแบบหนึ่งที่เรียกว่า Nutri-Scale โดยหน่วยงานสุขภาพสาธารณสุขของฝรั่งเศส
มีการคำนวณตัวแปรด้านบวกกับสุขภาพของอาหารแต่ละชนิด คือ โปรตีน เส้นใยอาหาร ผักผลไม้
และคำนวณตัวแปรด้านลบคือ พลังงานส่วนเกิน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาลส่วนเกิน เกลือ เพื่อหาค่าสุทธิของสารอาหาร ตัวเลขยิ่งมากบอกว่าคุณค่าทางอาหารจะยิ่งน้อย เมื่อฟังแล้วงง จึงทำออกมาเป็นระบบคะแนน A B C D E โดย A คือคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า B และเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ
ทำแบบนี้เพื่อให้เข้าใจง่ายว่าอาหารที่ตัวเองเลือกอยู่ในหมวดใด และหากมีหลายหมวด รวม ๆ กันแล้วเป็นอย่างไร ทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อหรือทำอาหารได้ง่ายขึ้น
คำถามคือ ใช้ได้จริงหรือ ... มีงานวิจัยมาสนับสนุนครับ
งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร british medical journal (BMJ 2020;370:m3173) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่ารูปแบบการกินอาหารโดยใช้เจ้า Nutri Score เป็นมาตรฐานว่ารูปแบบการกินอาหาร A ถึง E สัมพันธ์กับอัตราการตายอย่างไร โดยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเก็บข้อมูล EPIC study ศึกษาการเกิดมะเร็งในประเทศยุโรป
มีข้อมูล 500,000 คนเศษ ตามไป 17 ปี พบว่า กลุ่มที่กินอาหารโภชนาการที่ไม่ดีตาม Nutri Score (highest 1/5 percentile) เพิ่มอัตราการเสียชีวิตมากกว่า กลุ่มที่กินโภชนาการดี ตาม Nutri Score (lowest 1/5 percentile) ถึง 1.07 เท่าและมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งได้มากที่สุด
เป็นงานที่พอบอกเราได้ว่า เมื่อทำรูปแบบฉลากอาหารให้ง่าย ใช้ได้จริง และคนทำตามแล้ว สามารถลดอันตรายและโรคจากอาหารได้มากมายครับ ดังนั้นเราทุกคนควรใส่ใจกับฉลากบริโภคกันเยอะ ๆ นะครับ
ดูฉลากและอ่านคิดก่อนกิน
ดูแอดมินแล้วฟิน..กลืนกินได้ทั้งตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น