ความดันโลหิตสูง วาระแห่งชาติ
1. ความดันโลหิตสูงคือโรคเรื้อรังที่ไม่มีอาการ ถูกละเลย ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย และถือเป็นภัยร้ายอันดับหนึ่งขององค์การอนามัยโลก เราจะรอองค์การอนามัยโลกมาช่วยคงไม่ทัน
2.การลดโซเดียมในอาหาร เราทำได้ด้วยตัวเอง โดยการลดเครื่องปรุงในอาหาร ลดผงชูรส ลดอาหารที่ผ่านการแปรรูปทางอุตสาหกรรม ส่วนการปรับลดข้อกำหนดเกลือและภาษีเกลือ ต้องฝากรัฐสภา
3.การวัดความดันโลหิตที่บ้าน เป็นสิ่งสำคัญในการติดตามโรค หลายคนเวลามาวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล พบว่าความดันโลหิตขึ้นสูง ทั้ง ๆ ที่ความดันโลหิตจริง ๆ ของตัวเองไม่สูงขนาดนั้น ทำให้หมอปรับยาขึ้น สุดท้ายอาจไปเกิดผลข้างเคียงที่บ้านเพราะความดันโลหิตจริง ไม่ได้สูงขนาดนั้น แนะนำซื้อเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้านครับ หรือจะลดหย่อนภาษีค่าเครื่องวัดความดันก็ไม่เลวนะครับ
4.การเลือกซื้อเครื่องที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรอง มีบริการหลังการขาย มีการสอนการใช้เครื่อง เลือกขนาดแถบรัดแขนที่เหมาะสม เป็นหัวข้อสำคัญในการวัดติดตามผล ร้านยาที่จำหน่าย บริษัทอุปกรณ์การแพทย์ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลตรงนี้ การควบคุมคุณภาพและราคาก็ต้องดีด้วย
5.วิธีการวัดที่ถูกต้อง จะใช้ค่าวัดความดันที่บ้านมาปรับการรักษาก็ต้องมาจากวิธีวัดที่ถูก ท่าทางต้องถูก เวลาในการวัดเหมาะสม จดบันทึกสม่ำเสมอ ทีมดูแลคนไข้ต้องเข้ามาดูแล สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยได้ออกคำแนะนำมาแล้วครับ และต้องสื่อสารในวงกว้างให้ทราบวิธีโดยทั่วกัน กระทรวงสาธารณสุขต้องช่วยดูแล
ลองดูเรื่องวิธีวัดและเครื่องมือได้ที่นี่ https://xn--12c8b3afcz5g8i.com/knowledge/detail/31
6.เรื่องของยา เวชภัณฑ์ อยากบอกว่ายาพื้นฐานในบัญชียาหลักแห่งชาติ สามารถใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ดี มีหลักฐานทางการแพทย์รองรับ ไม่จำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชีเสมอไป แค่รู้จักตัวยาและการเลือกใช้ให้ดี ทางองค์การอาหารและยา เภสัชกร และราชวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมมากกับการดูแลในส่วนนี้ ผมเขียนยาที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ 2561 ไว้ในความเห็นนะครับ
7.วิสัยทัศน์เรื่องการลดอันตรายจากโรค อย่าลืมว่าการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่แค่ควบคุมตัวเลขความดันให้สวยงาม แต่ต้องคิดคำนวณความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนและจัดการให้เหมาะสม โดยเฉพาะโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ทุกครั้งที่ดูแลผู้ป่วยต้องคิดปัจจัยเหล่านี้พร้อมให้การปกป้องก่อนปัญหาจะเกิด เช่น ความดันสูงและเริ่มพบหัวใจโต การใช้ยากลุ่ม ACEI/ARB จะช่วยลดโอกาสหัวใจวาย เป็นประโยชน์ที่เพิ่มจากการลดความดันอย่างเดียว ต้องประสานหน่วยดูแลสุขภาพใกล้ตัวคนไข้ช่วยเอาใจใส่จุดนี้
8.ฐานข้อมูลการรักษาโรค วินิจฉัยเมื่อไร ควบคุมอย่างไร ใช้ยาอะไร มีผลแทรกซ้อนจากโรคและจากยาไหม ความเสี่ยงที่เกิด โรคร่วมที่พบ ให้การอบรมความรู้หรือยัง ติดตามผลที่ไหน ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ในการดูแลทุกครั้ง การมีสมุดประจำตัว (กรุณาบันทึกด้วย) หรือการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย ทำให้ทีมคุณหมอทำงานง่าย และคนไข้ได้ประโยชน์สูงสุด หน่วยงาน ICT, IT ต้องมาช่วยจัดการ
แอป http://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php…
9.เพิ่มพูนทักษะความรู้ให้คุณหมอและบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย ให้ก้าวทันความรู้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ หลายครั้งที่รักษาไม่สำเร็จ เพราะคุณหมอและทีม ขยับ "ช้า" เกินไป ใช้สื่อออนไลน์ให้เป็นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดการความรู้ให้ง่ายและเข้าถึงจริง นำไปใช้จริง
แนวทางการรักษาของสมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย 2562
http://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php…
*** 10.สมัยหน้าเลือกลุงหมอนะครับ สังกัด พรรคใจไว้ที่เธอ ส่วนเบอร์จำง่าย เบอร์ตอง เท่านั้น วีไอพี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น