ถ้าใครเคยอ่านข่าว ผู้ป่วยติดเชื้อซิก้า มักมีอาการสองอย่างที่สำคัญคือ ทารกที่เกิดมาจะมีศีรษะเล็ก หรือ โรคเส้นประสาทอักเสบ กิลแลง บาร์เร่ (Guillian Barre Syndrome) โอเค ศีรษะเล็กทุกคนทราบดี และผมก็ไม่ทราบลึกๆอย่างหมอเด็กครับ แต่กิลแลงบาร์เร่ ผมพอจะอธิบายได้ครับ
ภาวะกิลแลงบาร์เร่ เป็นการอักเสบของเส้นประสาทส่วนปลาย เกิดขึ้นเร็วมาก เรียกว่าเฉียบพลันเลยก็ว่าได้ เพราะเกิดตั้งแต่เริ่มจนเต็มที่ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์เท่านั้นเอง เส้นประสาทส่วนปลายนั้นก็จะหมายถึง เส้นประสาทควบคุมการเคลื่อนที่แขนขา หรือ เส้นประสาทรับความรู้สึกครับ
ลักษณะอาการจะมีอาการใกล้เคียงกันพร้อมๆกันทั้งแขนขา มักจะเป็นจากส่วนปลายเข้ามาหาส่วนกลางร่างกาย ขยับไม่ค่อยได้ อาจจะมีอาการชา หรือ การรับรู้ตำแหน่งแขนขาเสียไป และถ้าคุณหมอตรวจร่างกายก็จะพบว่าปฏิกิริยาของการสนองตอบของกล้ามเนื้อ ลดลงอย่างมาก หรือที่เห็นหมอเอาค้อนอันเล็กๆ เคาะเข่า เคาะศอก ปกติร่างกายก็จะตอบสนองไวมาก แต่นี่จะหายไปเลยครับ
อันตรายของภาวะนี้อยู่ที่อาการอ่อนแรงจะลุกลามไปจนถึงกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ก็จะอันตรายมากครับ การวินิจฉัยส่วนมากจะใช้ประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก การตรวจน้ำไขสันหลังอาจจะพอช่วยได้บ้าง การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาทจะเป็นการยืนยันการวินิจฉัยที่ดีที่สุด แต่ว่าอาจจะไม่ทัน เพราะว่ากว่าผู้ป่วยจะมาหาหมอและกว่าจะวินิจฉัยมาจนถึงขั้นนี้แล้ว โรคก็กำลังจะไปถึงเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อการหายใจอยู่แล้ว จะรอไปทำการตรวจไฟฟ้าคงไม่ทัน
ดังนั้นประวัติจึงมีความสำคัญมาก...ไฮไลต์อยู่ที่นี่ คือ โรคนี้เกิดจากเราไปติดเชื้อ แล้วร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมากำจัดเชื้อ บังเอิญว่าเจ้าภูมิคุ้มกันที่สร้างนี้ สามารถไปจับทำลายเส้นประสาทส่วนปลายได้นั่นเอง
เชื้อที่ว่านั้นเช่น เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสีย campylobactor, เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสเอชไอวี เชื้อมัยโคพลาม่า วัคซีนบางชนิด ..และ..ไวรัสซิก้า
จริงๆแล้วยังมีรายละเอียดปลีกย่อยและการแยกโรคอีกมาก ถ้าสนใจไปค้นต่อได้ครับ โรคนี้เรารู้จักกันดีมาก และมีการศึกษามากมาย สามารถหาได้ในกูเกิ้ลด้วยซ้ำไป ในหัวข้อ Acute Inflammatory Demyelinating Polyneuropathy สำหรับน้องๆหมอทั้งหมอทั่วไปและอายุรแพทย์ โรคนี้ต้องเข้าใจโดยละเอียดเลยนะครับ อ่านใน Harrison ก็ได้
สำหรับการรักษานั้น เราจะต้องดูแลการหายใจให้ดีครับ อาจต้องใส่เครื่องช่วยหายใจถ้าจำเป็น และทำการฟอกเลือดแบบพิเศษ เพื่อกรองเอาเจ้าภูมิคุ้มกันตัวปัญหาออกไป (plasma exchange) หรือให้ยาที่ไปต้านเจ้าภูมิคุ้มกันนี้ (intravenous immunoglobulin) การรักษาทั้งสองอย่างใช้ได้ดีพอๆกัน
การให้ยาสเตียรอยด์ในขนาดสูงไม่ได้ประโยชน์ใดๆนะครับ และก็ต้องดูแลผู้ป่วยแบบไอซียูให้พ้นช่วงที่เราจะกำจัดภูมิคุ้มกันสำเร็จนั่นเอง
น่าจะเพียงพอ ครบๆ สำหรับ กิลแลง บาร์เร่ และ ไวรัสซิก้าที่เป็นข่าวตอนนี้ครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น