the sound of music, เมื่อคนไข้บรรเลงเพลงเสียงปอดให้หมอฟัง
การตรวจร่างกายทางอายุรศาสตร์ ประกอบด้วยการดูคลำเคาะฟัง สำหรับการฟังปอดคุณหมอจะเป็นผู้ฟังที่ดี โดยนักดนตรีที่ดีคือคนไข้ เป็นคนผลิตเสียงนั้น หากคนไข้รู้จักวิธีการสร้างเสียงที่เหมาะสม ผลการตรวจจะแปลผลได้แม่นยำ
การฟังเสียงปอด คุณหมอจะใช้หูฟัง ฟังทั่วบริเวณปอดโดยให้ผู้ป่วยทำการหายใจแบบต่าง ๆ ช่วยการฟัง วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเหล่านั้น
การหายใจปกติ ..เวลาที่คุณหมอฟัง ให้คุณหายใจธรรมดาเหมือนนั่งคิดอะไรเพลิน ๆ หายใจทางจมูก ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ
หายใจทางปาก .. ในกรณีที่เสียงไม่ชัด คุณหมออาจจะขอให้คุณหายใจทางปาก ให้หายใจทางปากแบบนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ เข้าออก ๆ ด้วยความเร็ว ความแรงและจังหวะปรกติ
กลั้นลมหายใจ .. บางครั้งการตรวจระบบหัวใจ ต้องมีการกลั้นลมหายใจบ้าง ให้คุณกลั้มหายใจเท่าที่ไหว หากไม่ไหวก็หายใจปรกติ คุณหมอเขาใช้เวลาชั่วเสี้ยวนาที เพื่อฟังเสียงที่เขาต้องการหา หรือเมื่อคุณหมอพอว่า พอแล้วล่ะค่ะ หายใจตามปรกติได้ ก็เลิกกลั้นได้ครับ
ออกเสียง ... ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียง อา อี ก็ให้ออกเสียงยาว ๆ ตามที่คุณหมอแนะนำ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอจนหมดชุดลมหายในออกเสียงนั้น
นับเลขหรือพูดประโยคซ้ำ ๆ ... ให้คุณนับเลขออกเสียงออกมา ความดังพอประมาณ ไม่กระซิบ ไม่ตะโกน ด้วยความเร็วและจังหวะสม่ำเสมอ นับไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรอจังหวะให้หมอกดหูฟังแล้วค่อยนับ นับต่อเนื่องไปเลยเมื่อเสร็จสิ้นคุณหมอจะแจ้งให้หยุดได้ นับ หนึ่ง สอง สาม บน ล่าง โต๊ด เต็ง วิ่ง ร้อยคูณร้อย
ให้ไอหรือกระแอม ..บางครั้งเสียงเสมหะมันมาบดบัง คุณหมอขอให้ไอหรือกระแอม ก็ให้ไอสองสามครั้งหรือกระแอมเพื่อทำทางเดินหายใจให้โล่ง เสียงจะได้ชัดเจน
หายใจลึก ... สูดให้เต็มที่เลย ยาว ๆ ลึก ๆ จนสุดแล้วหายใจออกยาว ๆ ต่อเนื่องเช่นกัน เดี๋ยวคุณหมอเขาแจ้งหยุดเอง
ความร่วมมือที่ดีของคนไข้จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ส่งผลให้การวินิจฉัยแม่นยำและรักษาได้ตรงจุดมากขึ้นครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น