คำถามว่าระหว่างค่อย ๆ เลิกบุหรี่กับหักดิบ อันไหนได้ผลมากกว่ากัน มีการศึกษาทางการแพทย์แบบ RCTs มาแล้ว สำหรับคนสนใจเรื่องบุหรี่ นี่เป็นวารสารที่น่าอ่านอย่างยิ่ง เรามาเข้าใจกัน ช้า ๆ ตามประสาง่ายนิดเดียวกันนะ
การศึกษานี้ทำในอาสาสมัครโดยที่ไม่ได้มีความคิดจะเลิกบุหรี่มาก่อน ในกลุ่มอายุที่ซื้อบุหรี่ได้และติดบุหรี่มาสักพัก เมื่อได้อาสาสมัครแล้วนำมาแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม กลุ่มเปรียบเทียบคือให้สูบบุหรี่นิโคตินปกติต่อไปตามเดิม กลุ่มที่ใช้บุหรี่ชนิดนิโคตินต่ำมากตั้งแต่แรก และกลุ่มสุดท้ายคือใช้บุหรี่นิโคตินต่ำแต่เป็นแบบค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ โดยมีเวลาในการทดสอบทั้งสิ้น 20 สัปดาห์
บุหรี่นิโคตินต่ำ เขาทำมาให้เหมือนกันหมดทั้งมวนทั้งซอง ไม่ว่าจะต่ำแบบไหนหรือเท่าท้องตลาด เพื่อเป็นการปกปิดผู้ทดสอบ โดยมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก เวลามาติดตามผลในแต่ละครั้งก็จะแจกบุหรี่ที่กำหนดให้ และให้จนพอด้วยเดี๋ยวต้องไปซื้อจากภายนอกเพิ่ม
บุหรี่นิโคตินต่ำ เขาทำมาให้เหมือนกันหมดทั้งมวนทั้งซอง ไม่ว่าจะต่ำแบบไหนหรือเท่าท้องตลาด เพื่อเป็นการปกปิดผู้ทดสอบ โดยมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก เวลามาติดตามผลในแต่ละครั้งก็จะแจกบุหรี่ที่กำหนดให้ และให้จนพอด้วยเดี๋ยวต้องไปซื้อจากภายนอกเพิ่ม
แล้วจะวัดผลอะไร ผลหลักเลยคือ วัดปริมาณสารที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ใครสูบบุหรี่สารนี้ก็จะขึ้น สูบมากเพิ่มมากสูบน้อยขึ้นน้อยเพื่อตรวจว่าปริมาณการสูบลดลงหรือไม่ ส่วนผลรองคือวัดหาปริมาณสารที่เป็นพิษจากบุหรี่ สารพิษนะ ไม่ใช่สารที่บ่งบอกว่าสูบบุหรี่คนละตัวกัน ดูถึงจำนวนมวนที่สูบ อาการอยากบุหรี่ ต้องสูบเพิ่มไหม ต้องใช้สารทดแทนนิโคตินไหม
เพื่อจะดูว่า การลดปริมาณนิโคติน จะช่วยลดการติดและปริมาณการสูบลงได้จริงหรือ ข้อมูลเดิม ๆ ที่ได้จากการเฝ้าเก็บตัวอย่างเก็บข้อมูล ไม่ได้ทดลองแบบนี้คือ ถ้าใช้นิโคตินต่ำไปหรือไม่ใช้เลย ผู้ติดบุหรี่จะอยากบุหรี่และสูบมากขึ้น แต่ถ้าแบบค่อย ๆ ลดวันละมวนสองมวน สุดท้ายคือเลิกไม่ได้หรือใช้เวลานานมากกว่าจะเลิก
คราวนี้ทำการทดลองแบบ RCTs เลย มีบุหรี่ที่เตรียมไว้ด้วยนิโคตินขนาดต่าง ๆ มีการวัดค่าและติดตามผลอย่างชัดเจน ผู้ทำวิจัย ผู้ถูกทดสอบ ผู้ทำบุหรี่ ผู้คิดสถิติ ต่างคนต่างไม่รู้กัน ทำในศูนย์การวิจัย 10 แห่ง
คราวนี้ทำการทดลองแบบ RCTs เลย มีบุหรี่ที่เตรียมไว้ด้วยนิโคตินขนาดต่าง ๆ มีการวัดค่าและติดตามผลอย่างชัดเจน ผู้ทำวิจัย ผู้ถูกทดสอบ ผู้ทำบุหรี่ ผู้คิดสถิติ ต่างคนต่างไม่รู้กัน ทำในศูนย์การวิจัย 10 แห่ง
น่าสน ตามไปดูกันต่อเลย กลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาอายุประมาณ 45 ปี ชาย 65% (หญิงติดบุหรี่เยอะเหมือนกันนะ) ส่วนมากสูบบุหรี่มา 28 ปี สูบประมาณวันละ 17 มวน เคยเลิกมาแล้วคนละสองครั้ง ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากบุหรี่ 23%
คะแนนการติดบุหรี่ และคะแนนความต้องการบุหรี่เพื่อแก้ไขอาการอยาก เฉลี่ยได้ปานกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะหากเลือกคนที่ติดหนัก ๆ หรือแทบไม่ติดเลย ผลการศึกษาก็จะเบี่ยงเบนไป
คะแนนการติดบุหรี่ และคะแนนความต้องการบุหรี่เพื่อแก้ไขอาการอยาก เฉลี่ยได้ปานกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะหากเลือกคนที่ติดหนัก ๆ หรือแทบไม่ติดเลย ผลการศึกษาก็จะเบี่ยงเบนไป
เราได้กลุ่มควบคุม คือ สูบบุหรี่ที่จัดให้นิโคติน 15.5 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกรัมยาสูบ 249 คน (เหลือจนจบการศึกษา 210 คน) กลุ่มที่ใช้บุหรี่นิโคติน 0.4 มิลลิกรัม 503 คน (เหลือจนจบการศึกษา 346คน) กลุ่มที่ค่อย ๆ ลด จาก 15.5 ลดเป็น 11.7, 5.2 ,2.4, และ 0.4 มิลลิกรัมตามลำดับ กลุ่มนี้ 498 คน (เหลือจนจบการศึกษา 400 คน)
ผลที่ได้ เรามาดูไปทีละอย่างพร้อมสรุปและวิเคราะห์ ผลที่ได้เป็นตัวเลขข้อเท็จจริง ส่วนบทวิเคราะห์จะมีส่วนที่มาจากความเห็นผมเองด้วย
1.การใช้บุหรี่ วัดจากคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจและอนุพันธ์ของนิโคตินในปัสสาวะ พบว่ากลุ่มที่ใช้บุหรี่ลดนิโคตินมีสารพวกนี้น้อยกว่ากลุ่มค่อย ๆ ลดและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนกลุ่มค่อย ๆ ลดกับกลุ่มควบคุมแทบไม่ต่างกัน แม้ตัวเลขการลดลงจะไม่มากกว่ากันและไม่ได้ลดไปมากกว่าเริ่มต้นมากนัก แต่ก็บอกเราว่าการลดนิโคตินแบบทันทีจะทำให้เราลดปริมาณการสูบได้มากกว่าค่อย ๆ ลดอย่างแน่นอน
2.สารพิษต่าง ๆ ที่พิสูจน์ว่าเป็นพิษพบเช่นกันคือ กลุ่มที่ลดนิโคตินอย่างรวดเร็วมีสารพิษน้อยกว่ากลุ่มที่ค่อย ๆลดและกลุ่มควบคุม เช่นเคยแม้ไม่ได้ลดจากเดิมมากและไม่ได้ห่างกันนักในแต่ละกลุ่มแต่มีนัยสำคัญทางสถิติชัดเจน บอกเราว่า การลดนิโคตินทันทีนอกจากจะลดปริมาณการสูบแล้วยังลดปริมาณสารพิษอีกด้วย
3.จำนวนมวนที่สูบ ส่งผลเหมือนข้อหนึ่งและสองคือการลดแบบเร็วจะลดปริมาณมวนต่อวันได้มาก และลดคะแนนการติดบุหรี่ได้มากด้วย
4.อาการลงแดงบุหรี่ และความต้องการสูบเพื่อลดอาการลงแดง พบว่า กลุ่มลดนิโคตินเร็วมีอาการลงแดงและต้องการบุหรี่มาแก้ไข "มากกว่า" กลุ่มที่ค่อย ๆ ลด อาการพวกนี้เราใช้ระบบคะแนนวัดเอาครับ บอกเราว่า แม้ประโยชน์จากการลดทันทีจะปรากฏในข้อหนึ่งถึงสาม แต่คนที่ลดทันทีจะมีความอยากมากและมีโอกาสที่จะกลับไปเริ่มใหม่สูงกว่า ความพึงพอใจในการลดนิโคตินจะน้อยกว่ากลุ่มที่ค่อย ๆลด น่าสนใจว่าขนาดกลุ่มที่ค่อย ๆ ลดหรือกลุ่มควบคุมก็ยังมีอาการลงแดงเช่นกัน และยังอยากบุหรี่ตลอด แสดงว่ามีประเด็นการติดอื่นๆ นอกจากนิโคติน
5.ใช้บุหรี่แบบอื่น ๆ นอกเหนือจากบุหรี่จากห้องทดลอง รวมทั้งผลิตภัณฑ์ชดเชยนิโคติน ไม่ว่าเป็นหมากฝรั่ง แผ่นแปะ หรือบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อมาชดเชยความอยาก พบว่ากลุ่มลดนิโคตินเร็ว มีอัตราการใช้อุปกรณ์และบุหรี่นอกการทดลอง มากกว่ากลุ่มค่อย ๆ ลดและกลุ่มควบคุม อันนี้คงต่อเนื่องมาจากข้อสี่ ผู้ติดบุหรี่ส่วนมากยังต้องการและต้องใช้ผลิตภัณฑ์ชดเชยนิโคติน
6.ส่วนกลุ่มค่อย ๆ ลดนิโคตินและกลุ่มควบคุมคือสูบต่อเนื่อง พบว่าข้อหนึ่งถึงห้า ไม่ได้แตกต่างกัน บอกเราว่าวิธีเลิกแบบค่อย ๆ เลิกแม้คนจะชอบเพราะไม่ทรมานดังเช่นข้อสี่และห้า แต่โอกาสลดการสูบและลดสารพิษมีน้อยมาก แทบไม่ต่างจากการไม่เลิกด้วยซ้ำไป
7.การลดนิโคตินแบบทันที แม้จะมีผลเสียดังเช่นข้อสี่และห้า ทำให้กลุ่มลดนิโคตินทันทีนั้นอยู่จนจบการวิจัยน้อยที่สุด แต่ว่ามันก็ไม่ได้ทำให้ผลรวมหลักคือ การสูบบุหรี่และสารพิษมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลง แม้จะต้องใช้บุหรี่หรือสารอื่น ๆ มากกว่าแต่โดยรวมปริมาณการสูบและสารพิษก็ยังลดลงมากกว่าค่อย ๆ ลดลงอยู่ดี
ผมขอสรุปล่ะนะ จากการศึกษาระยะสั้นนี้ เราพอบอกได้ว่าการลดเลิกบุหรี่แบบทันทีจะได้ประโยชน์มากกว่าค่อย ๆ ลดอย่างชัดเจนถึงแม้จะมีการใช้บุหรี่ชดเชยหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนมากกว่าก็ตาม เจ้านิโคติน 0.4 มิลลิกรัมต่อกรัมนั้น หากเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ชดเชยนิโคตินรูปแบบอื่น เช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะ ยาพ่น ยากิน อุปกรณ์นำส่งนิโคตินแบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนที่บุหรี่ 0.4 กรัมจากการทดลอง น่าจะปลอดภัยและช่วยลดอาการอยากบุหรี่ลงได้ และเสริมอุปกรณ์เหล่านี้เมื่ออยากบุหรี่ จะทำให้โอกาสลด ละ เลิก และปลอดสารพิษมีมากขึ้น
ตรงกับแนวทางปัจจุบัน ที่แนะนำหักดิบบุหรี่ ใช้ผลิตภัณฑ์ชดเชยนิโคตินและยาอดบุหรี่ ได้ผลมากกว่าค่อย ๆ ลดครับ และความสำคัญคือต้องติดตามสม่ำเสมอต่อเนื่องนั่นเอง
ที่มา..สำหรับผู้อยู่ในวงการบุหรี่ สมควรอ่านอย่างมากครับ
Hatsukami DK, Luo X, Jensen JA, et al. Effect of Immediate vs Gradual Reduction in Nicotine Content of Cigarettes on Biomarkers of Smoke ExposureA Randomized Clinical Trial. JAMA. 2018;320(9):880–891. doi:10.1001/jama.2018.11473
Hatsukami DK, Luo X, Jensen JA, et al. Effect of Immediate vs Gradual Reduction in Nicotine Content of Cigarettes on Biomarkers of Smoke ExposureA Randomized Clinical Trial. JAMA. 2018;320(9):880–891. doi:10.1001/jama.2018.11473
ปล. ภาพประกอบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับบุหรี่ แค่ผมชอบ...จบนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น