การติดเชื้อ HIV ที่เราเคยรู้จักกันเรามักจะรู้จักกันในสองลักษณะ หนึ่งคือไม่มีอาการแต่ไปตรวจเลือดพบ อย่างที่สองคือมีอาการหรือโรคแทรกจากเอชไอวีแล้ว แต่อีกรูปแบบหนึ่งที่เรามักไม่ค่อยรู้จักกันคือ การติดเชื้อเฉียบพลัน the Acute HIV syndrome
เมื่อเราติดเชื้อเอชไอวีจากทางใดทางหนึ่ง เชื้อจะเข้าไปสู่เซลล์ในร่างกายทั้งต่อมไทมัส ตับ สมอง และในเม็ดเลือดขาว ใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ในการโจมตีเซลล์ เข้าไปแบ่งตัวในเซลล์ และเริ่มเข้าโจมตีเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นเป้าหมายของมัน ภายในสิบวันแรกเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวออกมามหาศาลจนกระทั่ง
ร่างกายเริ่มเกิดปฏิกิริยา เริ่มมีการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี อาการที่พบได้บ่อย ๆ และมักจะมาปรากฏพร้อม ๆ กันคือ ไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองในร่างกายบวมโตทั่ว ๆ (ที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) มีผื่นแดงจุดแดงตามตัว มีแผลในปาก อาการมักจะเป็น 3-7 วันแล้วหายไปได้เอง
ร่างกายเริ่มเกิดปฏิกิริยา เริ่มมีการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี อาการที่พบได้บ่อย ๆ และมักจะมาปรากฏพร้อม ๆ กันคือ ไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองในร่างกายบวมโตทั่ว ๆ (ที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) มีผื่นแดงจุดแดงตามตัว มีแผลในปาก อาการมักจะเป็น 3-7 วันแล้วหายไปได้เอง
อาการอื่นๆ ที่พบบ้างเช่น ปวดข้อ ปวดหัว เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สับสนเล็กน้อย อาการพวกนี้หายเองเช่นกัน
อาการเหล่านี้ไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจงกับโรคใด ๆ เลย แถมยังคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสเกือบทุกชนิด ไม่ว่าไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด แยกกันได้ยากมากเรียกว่าไม่มีความเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด
แถมอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความไวกับโรคนี้ด้วย เพราะว่าส่วนมากแล้วผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ นั่นคือ การไม่มีอาการก็ไม่ได้หมายความว่า..ไม่เป็นนะครับ
แถมอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้มีความไวกับโรคนี้ด้วย เพราะว่าส่วนมากแล้วผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ นั่นคือ การไม่มีอาการก็ไม่ได้หมายความว่า..ไม่เป็นนะครับ
สิ่งที่จะมาช่วยสนับสนุนว่าอาการอันไม่เฉพาะเจาะจงเหล่านี้ เป็น อาการจากการติดเชื้อเอชไอวี คือ ประวัติการสัมผัสโรคครับ หากมีการสัมผัสโรคใน 1-2 สัปดาห์ก่อนเกิดอาการ ทำให้เราต้องคิดถึงโรคนี้ ... แล้วจะยืนยันด้วยวิธีใด
สำหรับการติดเชื้อในระยะเรื้อรังมันไม่ยาก คือ ตรวจเลือดทั้งแอนติเจนและแอนติบอดี ด้วยชุดการตรวจรุ่นล่าสุดที่ได้การรับรองจากองค์การอนามัยโลก ตอนนี้เป็นรุ่นที่ 4 ที่มามารถตรวจยืนยันได้รวดเร็วมากขึ้น เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็วขึ้น
ส่วนการติดเชื้อเฉียบพลัน ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน การตรวจที่นิยมคือการตรวจหาสารพันธุกรรม RT-PCR และการตรวจแอนติบอดี ถ้าบวกก็คงของจริง แต่ถ้ายังเป็นลบให้ตรวจซ้ำใน 2 สัปดาห์ โดยการตรวจนับปริมาณ RNA และอาจยืนยันด้วยการตรวจมาตรฐานในอีก 3 เดือน
ส่วนการติดเชื้อเฉียบพลัน ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน การตรวจที่นิยมคือการตรวจหาสารพันธุกรรม RT-PCR และการตรวจแอนติบอดี ถ้าบวกก็คงของจริง แต่ถ้ายังเป็นลบให้ตรวจซ้ำใน 2 สัปดาห์ โดยการตรวจนับปริมาณ RNA และอาจยืนยันด้วยการตรวจมาตรฐานในอีก 3 เดือน
เพราะการพบว่าติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ระยะแรก ๆ นั้นเป็นข้อบ่งชี้การรักษาและการรักษาก็ให้ผลดีมากเสียด้วย
แต่ข้างบนคือ มีอาการสงสัยและมีประวัติสัมผัสโรคจึงนำพาไปสู่การตรวจ แต่หากเกิดเหตุเช่นเข็มตำ ถุงแตก เราไม่ไดใช้ผลเลือดมาตัดสินใจมากนัก เพราะเมื่อเกิดเหตุแล้วไปตรวจพบผลบวก แสดงว่าเป็นมาก่อนหน้านี้แล้วให้เข้าสู่ระบวนการรักษา แต่หากผลเป็นลบให้พิจารณาการให้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีตามแนวทางปัจจุบัน (คิดตามความเสี่ยง ไม่ได้คิดจากผลเลือด)
การป้องกันยังเป็นวิธีที่ดีที่สุด และหากสัมผัสหรือป่วย ให้รีบเข้าสู่กระบวนการรักษาให้เร็วที่สุด
ที่มา
1.Harrison Principle of Internal medicine 19th
2.การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก โดย อ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
1.Harrison Principle of Internal medicine 19th
2.การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบผู้ป่วยนอก โดย อ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น