26 กันยายน 2561

แนวทางตับอักเสบซี 2018

สรุปให้ประชาชนเข้าใจเรื่องการรักษาไวรัสตับอักเสบซี และลิงก์ให้บุคลากรทางการแพทย์ได้อ่านกัน

  ไวรัสตับอักเสบซี เกือบทั้งหมดติดต่อทางการสัมผัสเลือดคล้าย ๆ การติดเชื้อเอชไอวี ส่วนน้อยมาจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อันตรายคือการติดเชื้อไวรัสนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของตับแบบเงัยบ ๆ รู้อีกทีก็เป็นตับแข็งหรือมะเร็งแล้ว ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงควรคัดกรอง (ก็กลุ่มเสี่ยงเหมือนเอชไอวีและคนที่มีโอกาสสัมผัสเลือดบ่อย ๆ) และที่สำคัญตอนนี้เรารักษาได้ดีมาก สามารถกดไวรัสได้นานมากเพียงแค่กินยา 12-24 สัปดาห์ อัตราความสำเร็จระดับ 97-99% ต่างจากสมัยก่อนที่ต้องฉีดยา 6-12 เดือนและต้องเจอผลข้างเคียงจากยาฉีดมากมาย

1.ตรวจหาแอนติบอดี Anti-HCV เจอแล้วต้องยืนยันด้วยการตรวจ HCV Ag (อันนี้มาใหม่) หรือตรวจนับปริมาณไวรัสและสายพันธุ์ เพื่อระบุชนิดยาและเวลาที่รักษา

2.แนะนำคนที่ติดเชื้อให้รักษา..."ทุกคน" ถ้าไม่มีข้อห้าม

3.มีการประเมินภาวะตับแข็งและตับเป็นพังผืดที่หลากหลายและง่ายขึ้น ตั้งแต่เจ็บตัวเจาะตับ จนถึงตรวจคลื่นความถี่สูงหาพังผืด หรือเจาะเลือด (FibroTest) เพื่อประเมิน วางแผนรักษาและติดตาม

4.**ใช้ยากินเป็นหลัก**  จากสมัยก่อนใช้ยาฉีดอินเตอร์เฟอรอนเป็นหลัก ทำให้รักษาง่ายขึ้น ผลข้างเคียงแทบไม่มี และลดระยะเวลาการรักษาไปมาก เกือบทั้งหมดจะรักษาเสร็จภายใน 12 สัปดาห์

5.ยากินสองชนิดสูตรต่าง ๆ ได้แก่ Sofosbuvir/Daclatasvir, Sofosbuvir/Ledipasvir, Sofosbuvir/Velpatasvir และบางสายพันธุ์ใช้ elbasvir/Grazoprevir

6.หากเคยรักษามาก่อนหรือตับแข็ง อาจขยายเวลาเป็น 24 สัปดาห์ หรือเพิ่มยา ribavarin อีกตัว ส่วนยาฉีด interferon มีที่ใช้แค่สายพันธุ์ที่สาม เท่านั้น

มีคำแนะนำการรักษาถึง ชนิดยา เวลาที่เหมาะสม หากติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีร่วมด้วย ไตเสื่อม ปลูกถ่ายอวัยวะ จะใช้ยาสูตรใด นานแค่ไหน

  ถือเป็นโอกาสอันดีที่คนไทยจะได้เข้ารักษาไวรัสตับอักเสบซีแบบง่าย ๆ และประสิทธิภาพสูง

ปล. sofosbuvir และ ledipasvir เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติเรียบร้อย ยาตัวนี้สามารถใช้ได้กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทุกสายพันธุ์ ในเงื่อนไขบัญชียาหลักประเทศไทย ให้ใช้กับสายพันธุ์ 1,24,6 โดยกำหนดยืนราคาเม็ดรวมไม่เกิน 200 บาท ไปอีก 730 วันหลังประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2561
http://www.thasl.org/files/33.THASL%20Chronic%20hepatitis%20C%20guideline%202018_26-04-2018_r1.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม