การใช้ยาระบายเพื่อรักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง
ตอนสุดท้ายของซีรี่ส์ท้องผูก ที่ยกมาไว้ตอนสุดท้ายก็เพราะว่าไม่อยากให้ใช้ยาก่อนครับ มันจะทำให้เราสบายเกิน ไม่ฝึกฝนหรือไม่หาสาเหตุ สุดท้ายก็ไม่หายจากปัญหาท้องผูกเสียที ยาระบายที่จะกล่าวถึงนี้มี 5 กลุ่มนะครับ และจะสรุปตอนท้ายอีกครั้งว่าน่าจะใช้อะไรก่อนหลัง...อ๊ะอ๊ะ...อย่าลืมหาสาเหตุและฝึกตัวเอง ปรับอาหารก่อนนะครับ
ยาทั้ง 5 กลุ่มมีดังนี้
1. Bulk forming ก็คือใยอาหารที่ไม่ดูดซึมนั่นเองจะช่วยให้อุจจาระเป็นก้อน อุ้มน้ำ มักจะใช้ได้ผลถ้าอาการท้องผูกไม่ได้รุนแรงมากนัก ข้อเสียคือต้องดื่มน้ำมากๆ และอาจเกิดท้องอืดเพราะมีแก๊สมาก มักจะอยู่ในรูปแบบเป็นผงเป็นซองดื่มก่อนอาหาร ต้องกินต่อเนื่องกันสักหนึ่งสัปดาห์ครับ โดยรวมแล้วปลอดภัยดีมาก เช่นยา FiBroGel, Forlax, Metamucil ข้อเสียคือต้องใช้วันละหลายครั้ง และอาจมีท้องอืดเพราะแบคทีเรียในลำไส้ย่อยไฟเบอร์เป็นแก๊สได้
2. Osmotic สารกลุ่มนี้มักเป็นสารละลายเพื่อทำการดูดน้ำจากลำไส้ออกมาอยู่ในทางเดินอาหาร เพื่อให้อุจจาระมีน้ำมากๆ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นข้อเสียคือทำให้น้ำออกมาในทางเดินอาหารอาจมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ได้ถ้าถ่ายเหลวมากๆและรุนแรง โดยรวมแล้วก็ปลอดภัยเช่นกัน ได้แก่ Milk of Magnesia (MOM), Lactulose, PolyEthyleneGylcol (PEG) ระวังนิดนึงในยา MOM เพราะอาจมีแมกนีเซียมเกินได้ ในผู้ป่วยเสี่ยงจะเกินเช่นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง
3. Stool softener ก็ตรงๆครับส่วนมากเป็นน้ำมันที่ทำให้อุจจาระนุ่ม ลื่น ออกง่ายเช่น น้ำมันพาราฟิน โดยรวมๆแล้วก็ปลอดภัยนะครับ แต่ว่าข้อมูลการศึกษาออกมาน้อยจึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก มีรายงานว่าใช้นานๆอาจทำให้วิตามิน เอ ดี อี เค ที่ต้องอาศัยไขมันในการดูดซึมจะพร่องลงไป
4. Stimulants คือกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว บีบไล่อุจจาระลงมาเร็วขึ้นนั่นเองครับ กินแล้วก็จะรู้สึกปวดๆบ้าง แม้กระทั่งอุจจาระออกมาหมดแล้วบางทีก็ยังปวดอยู่เลย ห้ามใช้เด็ดขาดกรณีลำไส้อุดตัน เพราะบีบแล้วไม่ออกก็จะทำให้ส่วนต้นต่อการตันโป่งขยายขึ้น เช่นยา bisacodyl ทั้งชนิดกินและเหน็บทวาร
5. 5-HT receptor agonist คือ ไปกระตุ้นตัวรับซีโรโทนิน จำซีโรโทนินได้ไหมครับ สารสื่อประสาทในลำไส้นั่นเอง ทำให้ให้ทำงานมากขึ้น แรกเริ่มเดินทีใช้เพื่อรักษาโรคลำไส้แปรปรวนเป็นหลัก แต่ตอนนี้ก็มีที่ใช้ในโรคท้องผูกเรื้อรังได้เช่นกัน ยาที่กล่าวถึงมีสองตัว ตัวหนึ่งถอนจากตลาดไปแล้วเพราะทำให้ลำไส้ขาดเลือด คือ tegaserod เหลืออีกหนึ่งตัวคือ prucalopride ยาชนิดนี้ต้องสั่งใช้และดูแลโดยแพทย์ครับ ยาตัวนี้ออกฤทธิ์เฉพาะมากๆกับ 5-HT4 โดยทั่วไปก็ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน สามารถใช้รักษาลำไส้แปรปรวนชนิดท้องผูกได้ดีด้วย
ยาเหน็บทวาร จะเป็นการกระตุ้นลำไส้เฉพาะส่วน ไม่ได้กระตุ้นทั้งหมดเหมือนยากิน ผลข้างเคียงจึงน้อย และยังช่วยหล่อลื่นลำไส้ส่วนปลายให้ถ่ายสะดวกอีกด้วย นิยมก็มี Glycerine และ ยา bisacodyl ชนิดเหน็บทวาร
ยาสวน หลักการคือ ใส่ปริมาตรเข้าไปให้ลำไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโป่งขยายออก แล้วไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้มากขึ้น ข้อเสียคือใช้บ่อยๆ ลำไส้จะรู้ทันและทนยา หลังๆจะใช้ยาไม่ค่อยได้ผลทั้งยาสวนและยากิน ยากลุ่มนี้ที่ใช้บ่อยคือ unison enema คือน้ำเกลือเข้มข้น 15% แต่ถ้าใช้ยาสวนที่มีส่วนผสม โซเดียมฟอสเฟต ต้องมั่นใจว่าจะถ่ายออกมาได้ ไม่อย่างนั้นสารฟอสเฟตอาจถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้
ทั้งยาเหน็บและยาสวนมักออกฤทธิ์เฉพาะที่ ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงแต่ก็อาจเกิดการระคายเคืองบริเวณที่เหน็บและบริเวณใกล้เคียงได้
รายละเอียดนอกจากหนังสือที่ผมกล่าวในตอนแรกแล้วก็จะยังมี review เรื่องท้องผูกและการรักษาของ American Gastroenterology Association ในวารสาร Gastroenterology มกราคม ปี 2013 สามารถอ่านและดาวน์โหลดได้ฟรีนี่นี่ครับ
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3531555/#
เป็นอับจบซีรี่ส์ท้องผูกนะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น