ยาแก้ไอ - ยาขับเสมะ- ยาละลายเสมหะ มันต่างกันอย่างไร แล้วจำเป็นต้องใช้ไหม
ยาแก้ไอ ยาลดอาการไอ แท้จริงแล้วมันไปกดกลไกการไอ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติในการขับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ทำให้ไอลดลงเราก็ทรมานลดลง แต่ก็อาจทำให้สารคัดหลั่งและเสมหะต่างๆไม่ออกมานะครับ อาจติดเชื้อหรืออุดตันได้ ยาแบ่งออกสองอย่าง อย่างแรกไปกดศูนย์ควบคุมการไอที่สมอง หลักๆคือมอร์ฟีนและอนุพันธุ์ของมอร์ฟีน และยาโคเดอีน กดการไอก็จริงครับแต่มีผลต่อสมองเช่นซึม และเป็นมอร์ฟีนนะครับอาจเกิดติดยาได้ ยาอีกกลุ่มที่ออกฤทธิ์ที่สมองแต่ไม่ใช่มอร์ฟีน คือ ยาเด็กซ์โตรเมโทรแฟน ซึ่งวางจำหน่ายตามร้านยาได้ พวกนี้กดการไอและง่วงซึมได้แต่ไม่ติดยาครับ ผลการรักษาของยากลุ่มนี้ ดีกว่าไม่กินอะไรเลยหรือดีกว่ากินยาหลอก เพียงเล็กน้อย แต่ผลข้างเคียงมากครับโดยเฉพาะง่วงซึม
ยาแก้ไออีกกลุ่มจะไปลดความไวของการกระตุ้นเส้นประสาท ทำให้ไม่รู้สึกระคายเคือง ไม่ไอ จะออกฤทธิ์นอกสมอง ไม่ง่วงซึมคือ levodropropizine วางขายที่ร้านยาได้เช่นกัน #ประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอกเล็กน้อย คือพอๆกับกลุ่มแรกนั่นแหละครับแต่ผลเสียน้อยกว่า
จริงๆการศึกษามันหลากหลายกลุ่มมากๆ จึงไม่สรุปชัดเจนว่า "ต้องใช้" หรือ "ควรใช้" ส่วนใหญ่จะใช้ในไอเป็นเลือดมากๆ หรือมะเร็งครับ
ยาขับเสมหะ (expectorant) คือยาที่ทำให้เสมหะเหลวๆในทางเดินหายใจ ต้องเหลวๆไม่หนืด ไม่มาก ขับออกได้ดีขึ้นตามกลไกการขับปกติ หมายความว่าถ้าเสมหะเหนียวมากหรือ กลไกผิดปกติเช่น อุดตัน ก็อาจขับไม่ออกนะครับ ยากลุ่มนี้คือ ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) และ สารประกอบไอโอดีนกลีเซอรัล ที่มาผสมในยาแก้ไอน้ำดำต่างๆ จริงๆแล้วผลการศึกษาจะอยู่ในโรคปอดเป็นพังผืด cystic fibrosis และ โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังหรือที่รู้จักกันในชื่อ ถุงลมโป่งพองครับ ยากลุ่มนี้วางจำหน่ายตามร้านยาเช่นกัน ผลการศึกษานั้นสำหรับการไอทั่วไปหรือจากโรคหวัด เจ็บคอ ปอดบวมนั้น #ประโยชน์ไม่ต่างจากยาหลอกครับ ยกเว้นว่าจะช่วยลดอาการไอและการอุดตันของเสมหะในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองและโรค cystic fibrosis ครับ (แต่ไม่ลออัตราการเสียชีวิตและไม่เพิ่มสมรรถนะปอด)
ยาละลายเสมหะ (mucooytics) ยาจะไปทำให้เสมหะที่เหนียวๆและเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ เกิดใสขึ้น กระจายแตกออกเป็นก้อนเล็กลง ทำให้ขับออกง่าย นั่นคือต้องมีแรงขับดีๆด้วยนะครับถ้าไอไม่ได้ แรงไม่พอก็ขับไม่ออก ยากลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ N-acetylcyteineที่เป็นผลละลายน้ำ หรือรูปเม็ด และอนุพันธุ์เช่น carbocysteine ยากลุ่มนี้ก็จำหน่ายตามร้านยา ในต่างประเทศจะมีรูปแบบพ่นใส่ปอดเป็นละอองฝอยด้วย ส่วนผลการศึกษานั้นจะมีประโยชน์ในโรคถุงลมโป่งพองและพังผืดปอดครับ (ผลดีคล้ายๆกับยา expectorant) โรคไอจากสาเหตุอื่นๆนั้นยังไม่พบประโยชน์ที่ชัดเจนและ ยังต้องพิจารณาถึงผลเสียของยาด้วยถ้าใช้ระยะยาวจากผลการต่อต้านอนุมูลอิสระของยา
สรุปว่า ผลดีของยาทั้งหมดไม่ชัดเจนเลยต้องรอผลการศึกษาดีๆก่อน และบรรดาที่ศึกษาออกมาก็มีจุดบกพร่องอีกมากที่ต้องปรับ ดังนั้นจะใช้หรือไม่ใช้ก็ไม่ผิด และอย่าลืมว่าต้องรักษาสาเหตุการไอด้วยครับ อาการไอจึงหาย และเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้นะครับ
1.RESPIRATORY CARE • JULY 2007 VOL 52 NO 7
2.De Blasio et al. Cough 2011, 7:7
3.Cochrane Review : Over-the-counter (OTC) medications for acute cough in children and adults in community settings
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น