Hi-tech, Low touch.
เคยได้ยินคำนี้ไหมครับ ใช้เปรียบเปรย หมอและผู้ป่วยยุคใหม่ที่นิยมเชื่อเทคโนโลยีแพงๆหรูหรา โดยไม่ยอมใช้ทักษะทางการแพทย์พื้นฐานที่จำเป็น ง่าย และแม่นยำ คือ. การซักถามประวัติที่ดี การรู้รอบด้านทางคลินิก การตรวจร่างกายด้วยการ ดูคลำเคาะฟัง ทำให้วินิจฉัยได้ไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุม หมอและคนไข้กลุ่มนี้มักชอบส่งตรวจเทสต์ต่างๆมากมาย โดยที่บางอย่างก็ไม่เหมาะสมและแปลผลไม่ได้
ที่แย่กว่านั้นคือ ผลเทสต์อะไรเป็นบวกบางทีก็โทษสิ่งนั้น ทั้งๆที่บางทีก็ไม่ได้อธิบายอะไรเลย ถ้าโชคดีว่าถูกโรคก็ดีไป แต่ถ้าโชคร้ายไม่ใช่โรคที่เป็น ก็จะต้องเสียเงินรักษาโรคผิดๆ แถมยังต้องเจอผลข้างเคียงจากยาอีก โรคที่ตั้งใจจะรักษาก็ไม่ได้รักษา
เหมือนในบทความของ จิตต์สุภา ฉิน บทความ cool tech ในวารสารมติชนสุดสัปดาห์ 14-20 สค. ที่ได้กล่าวถึง technology คือ google translate ทีแปลคำว่า "หมูกรอบผัดไข่" เป็น " frame pig cooks an egg" และแปลป้ายบอก "ระวังเสา" ว่าเป็น " beware Saturday"
ถ้าเชื่อเทคโนโลยีโดยไม่ดูบริบทแวดล้อมก็อาจมีปัญหาได้นะครับ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น