กับวารสารที่เฝ้ารอมานาน การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์การเลิกบุหรี่ เทียบกับ สารชดเชยนิโคตินมาตรฐาน ลงใน New England Journal of Medicine 31 มกราคม 2562
การศึกษาที่เป็นการทดลองแบบนี้มีน้อยมากสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ผมจะเล่าแบบบ้าน ๆ เลยนะ ไม่มีสถิติตัวเลขยาก ๆ ใครสนใจไปอ่านในวารสารเต็มได้ครับ
การศึกษาที่เป็นการทดลองแบบนี้มีน้อยมากสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า ผมจะเล่าแบบบ้าน ๆ เลยนะ ไม่มีสถิติตัวเลขยาก ๆ ใครสนใจไปอ่านในวารสารเต็มได้ครับ
การวิจัยนี้ทำที่ประเทศอังกฤษ ต้องบอกประเทศนี้เขาสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้านะครับจึงทำงานวิจัยได้ เพราะเดิมทีไม่มีการวิจัยแบบทดลองที่ดีนัก ผลที่ออกมาในอดีตคือ ถ้าใช้บุหรี่ไฟฟ้าแบบปลอดนิโคติน ใช้เพื่อเลิกบุหรี่ไม่ดีแน่ แต่ว่ายังดีกว่าการใช้แผ่นแปะนิโคติน คราวนี้เรามาลองดูอันใหม่
ผู้วิจัยใช้วิธีโฆษณาหาผู้เข้าร่วมและรับผู้เข้าร่วมที่ต้องการเลิกบุหรี่มาทำวิจัย ตอนแรก ๆ ได้ผู้สนใจมา 2000 กว่าคนแต่ต้องมาคัดก่อนว่าเข้าเกณฑ์ไหม เมื่อเข้าเกณฑ์คือไม่ใช่คนท้อง ติดบุหรี่พอควร ช่วงนี้ไม่ได้ใช้ตัวเลิกตัวอื่น สามารถติดตามการทดลองได้ เมื่อได้มาแล้วก็มาอบรมอีกคัดมาจนได้ 886 คนตามที่คำนวณในการประมาณกลุ่มตัวอย่างเลย เมื่อได้แล้วก็กำหนดวันเลิก แล้วจึงเริ่มให้การทดลองตั้งแต่วันเลิก
กลุ่มควบคุม ใช้สารทดแทนนิโคติน ตามแต่ใจคนเลิกและคนให้ ไม่ว่าจะเป็นหมากฝรั่ง แผ่นแปะ ยาอม ยาพ่น ใช้คู่กันก็ได้ แต่ต้องเข้ารับการเรียนการใช้ให้ถูกและควบคุมการใช้เป็นระยะ ๆ ..แหมตรงนี้จะเกิดความแปรปรวนได้นะ เพราะมันไม่เหมือนกันซะทีเดียว ไม่ทราบขนาด ไม่ทราบชนิดที่แน่นอน
กลุ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มนี้จะต้องใช้อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าแบบเดียวกันหมด เพื่อลดความแปรปรวนตรงนี้ อะตอมไมเซอร์ขนาด 1.8 โอห์ม แบต 650 มิลลิแอมป์ชั่วโมง น้ำยาเป็นรสชาติบุหรี่ เข้มข้น 18 มิลลิกรัมนิโคตินต่อซีซี ขนาด 30 ซีซี และสามารถซื้อเพิ่มเองได้แต่ต้องสเปคแบบนี้ ปัญหาคือตอนเริ่มใช้ One Kit ของบริษัทหนึ่ง กลางทางเกิดต้องเปลี่ยนเป็นอีกบริษัท (อะตอมไมเซอร์ 2.1โอห์มและ แบต 1000 mAH จากอะตอมไมเซอร์ขนาดเดิม) มีคนต้องเปลี่ยน 42 คน สองผลิตภัณฑ์นี้ราคาต่างกันเท่าตัวเลย 26 ดอลล่าร์สหรัฐกับ 40 ดอลล่าร์สหรัฐ
กลุ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มนี้จะต้องใช้อุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าแบบเดียวกันหมด เพื่อลดความแปรปรวนตรงนี้ อะตอมไมเซอร์ขนาด 1.8 โอห์ม แบต 650 มิลลิแอมป์ชั่วโมง น้ำยาเป็นรสชาติบุหรี่ เข้มข้น 18 มิลลิกรัมนิโคตินต่อซีซี ขนาด 30 ซีซี และสามารถซื้อเพิ่มเองได้แต่ต้องสเปคแบบนี้ ปัญหาคือตอนเริ่มใช้ One Kit ของบริษัทหนึ่ง กลางทางเกิดต้องเปลี่ยนเป็นอีกบริษัท (อะตอมไมเซอร์ 2.1โอห์มและ แบต 1000 mAH จากอะตอมไมเซอร์ขนาดเดิม) มีคนต้องเปลี่ยน 42 คน สองผลิตภัณฑ์นี้ราคาต่างกันเท่าตัวเลย 26 ดอลล่าร์สหรัฐกับ 40 ดอลล่าร์สหรัฐ
ผู้วิจัยเขาก็ติดตามพฤติกรรมการสูบ การซื้อเพิ่ม จำนวนสารทดแทนนิโคตินหรือบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้ มีอาการลงแดงมากไหม มีอาการข้างเคียงจากการใช้อุปกรณ์เลิกบุหรี่หรือไม่ และสุดท้ายเป้าประสงค์คือ สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ยาวนานเพียงใดเมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่ 52 สัปดาห์ (คำว่าหยุดได้คือใช้น้อยกว่าสองมวนในสองสัปดาห์) โดยมีการยืนยันด้วยค่าการตรวจคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก (exhaled CO) ซึ่งเป็นการตรวจมาตรฐานเพื่อวัดว่าไปสูบบุหรี่มาไหม เขาตัดที่เลข 8 ppm (ใข้ตัวเลขสูงไปหน่อยนะ ทั่วไปแค่ 3-5 ppm เท่านั้น)
ทุกกลุ่มมีการติดตามการใช้โดยโทรสอบถาม และใช้พฤติกรรมบำบัดคุยตาต่อตาด้วย การใช้วิธีนี้ร่วมด้วยเป็นสิ่งที่ต่างจากการศึกษาอื่น ๆ ที่ชัดเจนดีและสำคัญมาก และวัด exhale CO แต่ผมว่าเขาทำห่างไปนิด ส่วนตัวถ้าจะเลิกควรติดตามทุกอาทิตย์ นี่เขาติดตามแต่ละครั้งหลายสัปดาห์และวัด CO ไม่กี่รอบ
ทุกกลุ่มมีการติดตามการใช้โดยโทรสอบถาม และใช้พฤติกรรมบำบัดคุยตาต่อตาด้วย การใช้วิธีนี้ร่วมด้วยเป็นสิ่งที่ต่างจากการศึกษาอื่น ๆ ที่ชัดเจนดีและสำคัญมาก และวัด exhale CO แต่ผมว่าเขาทำห่างไปนิด ส่วนตัวถ้าจะเลิกควรติดตามทุกอาทิตย์ นี่เขาติดตามแต่ละครั้งหลายสัปดาห์และวัด CO ไม่กี่รอบ
เป็นไง มองภาพรวมแล้วเป็นการศึกษาที่ออกแบบดีพอใช้ แม้การควบคุมจะเป็นการควบคุมและสุ่มในแต่ละศูนย์ทดลอง ไม่ได้ควบคุมจาก protocol ส่วนกลาง มีการใช้ตามใจด้วย เพราะเป็นการเลียนแบบการปฏิบัติจริงที่เรียกว่า pragmatic trial แต่ก็พอไหวนะ ดีกว่าที่ผ่านมาและมีโอกาสพัฒนาอีกมาก
เรามาดูผลกัน
ผู้เข้าร่วมการศึกษาส่วนมากอายุ 41 ปี ผู้ชาย 68% เฉลี่ยสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน คะแนนการติดบุหรี่ Fagerstrom ประมาณ 4.6
***ตรงนี้ถือว่าติดปานกลางเท่านั้น สำคัญนะ พวกที่ติดหนัก ๆ อาจใช้วิธีนี้ไม่ได้**
เคยใช้สารทดแทนนิโคตินมาแล้วถึง 75% เรียกว่าเคยเลิกและมีความต้องการเลิกแน่ ๆ เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาแล้ว 41% ไม่รู้ว่าใช้ก่อนติดบุหรี่หรือใช้เพื่อเลิก
***ตรงนี้ถือว่าติดปานกลางเท่านั้น สำคัญนะ พวกที่ติดหนัก ๆ อาจใช้วิธีนี้ไม่ได้**
เคยใช้สารทดแทนนิโคตินมาแล้วถึง 75% เรียกว่าเคยเลิกและมีความต้องการเลิกแน่ ๆ เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาแล้ว 41% ไม่รู้ว่าใช้ก่อนติดบุหรี่หรือใช้เพื่อเลิก
..ความสำคัญคือเขาคัดเอาคนที่ไม่ได้ติดบุหรี่หนัก มีความต้องการเลิกสูง และอายุน้อย เพราะมีการศึกษาว่าการเลิกบุหรี่ในคนอายุน้อยประสบความสำเร็จมากกว่า....
เมื่อติดตามผลไปพบว่า อัตราการไม่สูบบุหรี่มวนเมื่อสิ้นสุดการศึกษาหนึ่งปี กลุ่มบุหรี่ไฟฟ้าคือ 18% กลุ่มใช้สารทดแทนนิโคตินคือ 9.9% กลุ่มที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าประสบความสำเร็จมากกว่าชัดเจนและมีนัยสำคัญทางสถิติด้วย (RR 1.82 ,95% CI 1.30-2.58) เกือบเท่าตัว ใช้บุหรี่ไฟฟ้า 12 คนประสบความสำเร็จในการเลิกบุหรี่มวน 1 คน เป็นอัตราที่สูงมาก ๆ (แค่ 25-50 ต่อหนึ่งก็หรูแล้ว)
เมื่อไปดูการคิดแยกกลุ่มย่อย เรื่องอัตราเลิกครึ่งปี อัตราการกลับมาสูบบุหรี่ใหม่ พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้มากกว่าสารชดเชยนิโคติน ไปในทางเดียวกันและมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสิ้น
เมื่อไปดูการคิดแยกกลุ่มย่อย เรื่องอัตราเลิกครึ่งปี อัตราการกลับมาสูบบุหรี่ใหม่ พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้มากกว่าสารชดเชยนิโคติน ไปในทางเดียวกันและมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสิ้น
ผู้ใช้พึงพอใจบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า ตอบสนองและลดอาการลงแดงได้ดีกว่า เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าคนที่เลิกสำเร็จจนครบปีนั้นยังใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 80% แต่คนใช้สารชดเชยนิโคตินเหลือไม่ถึง 9%
กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีอาการระคายเคืองช่องปากและไอ มากกว่ากลุ่มใช้สารชดเชยนิโคตินอย่างชัดเจน
กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีอาการระคายเคืองช่องปากและไอ มากกว่ากลุ่มใช้สารชดเชยนิโคตินอย่างชัดเจน
*** ตรงนี้ตีความได้ว่า สารชดเชยนิโคตินมันใช้ยากและไม่ดึงดูดการใช้เลย บุหรี่ไฟฟ้าดึงดูดกว่า แต่ที่น่ากังวลคือมันดึงดูดเสียจนอาจจะมาติดบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่จริง และเลิกบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ ***
สำหรับคนที่เลิกไม่ได้ คือล้มเหลวด้วยทั้งสองวิธี ไปวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ก็พบว่าในกลุ่มบุหรี่ไฟฟ้ามีค่า CO ที่น้อยกว่า ระยะเวลาที่ล้มเหลวจนกลับไปสูบก็ไม่ต่างกัน หลังจากการศึกษาจบไปก็ติดตามไปพบว่ากลุ่มที่ล้มเหลวจากบุหรี่ไฟฟ้าหันไปใช้สารชดเชยนิโคตินไม่มากนักและเลิกไม่ค่อยได้ ส่วนกลุ่มที่ล้มเหลวจากสารชดเชยนิโคตินชอบที่จะไปใช้บุหรี่ไฟฟ้ามากกว่า และเลิกไม่ค่อยได้พอ ๆ กัน คือคนที่จะเลิกไม่ได้ มันก็เลิกไม่ได้ด้วยสองวิธีนี้ด้วย
ผมจะสรุปนะ
1. บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยในการเลิกบุหรี่มวน ได้มากกว่าสารชดเชยนิโคตินที่หนึ่งปี
2. แต่การศึกษานี้ อัตราการเลิกบุหรี่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ส่วนหนึ่งคือ การใช้สารชดเชยนิโคตินไม่ได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้อัตราต่ำ หรือแม้แต่อัตราการเลิกในกลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าก็ยังต่ำ ทำให้การศึกษาอาจส่งผลหรูหรากว่าความจริงก็ได้
3. ความชอบ ความพึงพอใจ ความง่ายของผู้ใช้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการใช้อุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่
4. การศึกษานี้ ยังไม่ถือว่าดีที่สุด เพราะมีการสุ่มที่ไม่สม่ำเสมอและสามารถปรับแต่งการใช้สารชดเชยนิโคตินกับบุหรี่ไฟฟ้าได้ ขึ้นกับศูนย์ที่วิจัย และวัดผลค่อนข้างห่าง ยังไม่เป็นการควบคุมที่เคร่งครัดนัก (เพราะเป็น pragmatic design)
5. ที่สำคัญคือ ตัวเปรียบเทียบมาตรฐานยังไม่ใช่การเลิกบุหรี่มาตรฐาน คือ การเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ ใช้พฤติกรรมและจิตบำบัด ร่วมกับสารชดเชยนิโคตินและยาอดบุหรี่ (bupropion SR และ varenicline) ในการศึกษานี้มี bias นิดนึงคือไปเทียบกับ สารชดเชยนิโคตินที่ใช้ยาก การใช้ต่อเนื่องน้อย อันนี้บุหรี่ไฟฟ้าจะได้เปรียบนิดนึง
6. สรุปว่าใช้เลิกบุหรี่ได้หรือยัง ... ยังครับ อย่าลืมว่าการศึกษานี้แม้จะเป็นการทดลองที่หาได้ยากยิ่ง แต่ยังมีจุดให้ท้วงติงอีกมาก โดยเฉพาะอัตราการเลิกบุหรี่ที่น้อยกว่าปรกติและการติดตามใช้สารชดเชยที่น้อยมากด้วย
7. ข้อระวังคือ การเปลี่ยนโหมดการติดจากบุหรี่เผาไหม้เป็นบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้ามีอัตราการใช้ต่อเนื่องสูงมากจนจบการศึกษาวิจัยไปแล้วก็ตาม แม้จะปลอดภัยกว่าบุหรี่เผาไหม้ แต่ก็ยังอันตรายกว่าเลิกเบ็ดเสร็จทุกอย่างครับ
ที่มา..อ้อ การศึกษานี้ทำโดยหน่วยงานวิจัยสุขภาพแห่งขาติของอังกฤษ ไม่มีประโยชน์ทับซ้อนครับ
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1808779
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1808779
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น