05 เมษายน 2561

อธิบาย lock in และ vegetative

คำอธิบาย โพสต์เรื่อง แม่การะเกด เมื่อเย็นนี้
สมองส่วนที่แรเงาสีเขียว เรียกว่าสมองใหญ่ส่วน ซีรีบรัม เป็นส่วนที่รับผิดชอบความรู้สึก การคิด การคำนวณ การแปลผล ความคิดเชิงวิเคราะห์ต่างๆ มนุษย์เรามีสมองส่วนนี่โตมาก สัตว์ต่างๆจะมีขนาดเล็ก สัตว์ที่มีสัดส่วนโตรองจากมนุษย์คือ โลมา หากส่วนนี้เสียหายโดยทั่วๆ โดยส่วนล่างลงไปยังดี นั่นคือ vegetative state
ส่วนสมองตั้งแต่ของสีเขียวลงมา เป็นสมองที่ใช้ควบคุมการทำงานพื้นฐานของร่างกาย เช่น การควบคุมอุณหภูมิ การเคลื่อนไหว การควบคุมฮอร์โมน จุดเชื่อมต่อการรับสัมผัส
คราวนี้สมองส่วนที่ผมแรเงาสีฟ้า คือก้านสมองส่วนพอนส์ ที่หากเสียหายตรงนี้ ตั้งแต่ระดับนี้ลงไปจะเสียหายหยุดทำงาน คือ lock in syndrome ครับ
สมองส่วนบนขึ้นไปยังทำงานได้ แต่หากเป็นการทำงานที่ต้องส่งสัญญาณมาด้านล่างก็จะบกพร่อง อย่างส่วนก้านสมองที่เหนือจุดแรเงาสีฟ้า น่าจะเป็นพื้นที่ตัว C คือ ก้านสมองส่วน midbrain ส่งเส้นประสาทไปควบคุมลูกตา ในภาวะ lock in สมองส่วนนี้ยังไม่เสีย จึงกลอกตาและกระพริบตาได้
ส่วนใต้กว่า pons ก่อนจะถึงไขสันหลังที่ผมขีดเป็นเส้นสีดำๆ (แสดงถึงสายประสาทที่ต่อยาวลงมา) คือก้านสมองส่วน medulla oblongata โซน E ที่ใช้ควบคุมปฏิกิริยาแห่งชีวิตพื้นฐานเช่นการหายใจ การเต้นหัวใจ การบีบตัวหลอดเลือด ประสาทอัตโนมัติในช่องท้อง เป็นต้น
ถ้าก้านสมองทำงานไม่ได้ภาวะแห่งการมีชีวิตจะหยุดลง ต้องใข้เครื่องพยุงทุกชนิด เราก็จะพิจารณาเรื่องสมองตาย เพื่อตัดสินใจในการนำอวัยวะไปบริจาคต่อให้ผู้อื่นครับ
เครดิตภาพ จาก pinterest.com นำมาระบายสีด้วย tablet ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม