28 เมษายน 2561

จากงานประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์สู่ประชาชน 4

จากงานประชุมราชวิทยาลัยอายุรแพทย์สู่ประชาชน 4
1. โรคของการนอนหลับ มีผลมากกับชีวิตประจำวัน โรคที่เป็นอยู่อาจจะแย่ลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จึงเป็นโรคที่ควรใส่ใจ โรคนี้มักจะซ่อนอยู่และเป็นสาเหตุให้โรคเดิมอื่นๆแย่ลง เช่นความดันโลหิตสูง
2. หากผู้ป่วยอ้วน นอนกรน คอสั้น หรือมีปัญหาการหลับ-ตื่น แล้วโรคเดิมไม่ดีขึ้น คุมไม่ได้ ต้องมาคิดถึงโรคจากการนอนหลับ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคต้อหิน
3. โรคจากการนอนหลับมีหลายอย่างเช่น นอนไม่หลับ(insomnia), นอนตลอดเวลา(hypersomnia), ละเมอ (parasomnia), หยุดหายใจ(sleep apnea)
4. การวินิจฉัยยากมาก ประวัติมักจะได้จากคนที่นอนด้วย หรือตอนมานอนโรงพยาบาล ถ้าคนที่นอนคนเดียวต้องสังเกตตัวเองอย่างอื่นเช่น ง่วงตอนกลางวัน
5. การตรวจที่สำคัญคือ polysomnography ตรวจโดยให้มานอนในห้อง มีสายต่างๆมาติดที่ตัว เพื่อติดตามสัญญาณ ทั้งชีพจร ความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือด คาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจ อัตราการหายใจ คลื่นสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และวิดีโอบันทึกเวลาเรานอน
6. ในคนที่อ้วน นอกจากทางเดินหายใจอุดกั้น ลิ้นตกแล้วยังจะมีโรคหายใจน้อยลง แรงกระตุ้นการหายใจลดลง ต้องใช้แรงมากที่จะหายใจได้ พวกนี้จะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงมากในเลือด หากเอาออกไม่ทัน เกิดปัญหาระยะยาวแน่ๆ
7. อาการขณะหลับที่พบบ่อยคือ กรน กรนดังๆแล้วค่อยๆแล้วหยุดหายใจแล้วสำลัก คร่อกๆๆ อันนี้แหละต้องสงสัยแล้ว
8. หรือไม่แน่ใจ นอนคนเดียวไม่มีใครสังเกต ก็อาจนัดมาทำการตรวจการหลับ หรือใช้แบบคัดกรองที่ชื่อ Epworth Sleepiness scale เพื่อดูว่าง่วงง่าย หรือมีแนวโน้มมีการนอนหลับผิดปกติ เข้าข่ายโรคจากการนอนหลับหรือไม่
9. การรักษาคือ ลดน้ำหนัก บางคนมีข้อบ่งชี้ผ่าตัดเลยนะ ส่วนการใช้เครื่องมีอดันแรงลมเข้าปอดเวลากลางคืนเป็นการรักษาปลายเหตุแต่คนไข้จะชอบ จึงต้องรักษาทั้งคู่ทั้งปลายเหตุและลดน้ำหนัก
10.ต้องตรวจโรคของทางเดินหายใจ คอ ช่องปากด้วย เพราะบางทีก็มีปัญหาตรงนี้
11. การรักษาที่ต้องมีแน่ๆ คือการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวก positive pressure ventilation โดยเราจะใช้แบบครอบปากหรือจมูก หรือแบบเต็มหน้า แบบนี้ไม่ต้องใส่ท่อ การตั้งแรงดันลมเข้าปอดมีความสำคัญมาก ต้องมีกลยุทธ์การตั้งค่าให้เหมาะสม ทั้งเครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เป่าลมเข้าช่วยสนับสนุนการหายใจแบบแรงดันคงที่ หรือ BiPAP (Bilevel Positive airway Pressure) ที่มีการปรับแรงดันตามการหายใจเข้าออก
12. การปรับตั้งจะเริ่มตั้งแต่ตอนทดสอบการนอนหลับ และปรับแต่งไปตลอดการรักษา เครื่องจะเป็นเครื่องเล็กๆใช้ง่าย สามารถพกพาไปให้หมอปรับให้หรือมีบริการปรับถึงบ้านในบางที่
13. หลังใช้ อาการจะดีขึ้น แก๊สในเลือดดีขึ้น โรคร่วมอื่นๆที่ควบคุมไม่ได้จะคุมได้ อย่าเพิ่งดีใจประเด็นคือ อย่าลืมการรักษาหลักคือ การลดน้ำหนัก
14. ปัญหาโรคการนอนหลับ ปัจจุบันเรามีการตรวจ การรักษาที่ดี อันส่งผลให้โรคอื่นดีขึ้นด้วย หากสงสัยหรือมีปัญหาควรพบแพทย์ ไม่ใช่ใช้แต่ยานอนหลับ
ขอขอบคุณการบรรยายของ อ. ณัฐพงศ์ เจียมจริยธรรม, อ. กัลยา ปัญจพรผล, อ.ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล มา ณ ที่นี้ด้วยครับ
ทบทวนของเก่าเรื่อง ทางเดินหายใจอุดกั้นและอ้วน Pickwickian syndrome
https://m.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1620404294942264/?type=3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม