11 เมษายน 2561

ตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว

การตรวจน้ำตาล
จากที่เราเคยรู้จักเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ point of care capillary blood glucose จะเห็นว่าการตรวจจะเป็นลักษณะ point of care คือเป็นการตรวจที่ออกแบบมาให้ง่ายต่อการใข้ ทำได้เลยที่จุดตรวจ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดแล้วนำส่งห้องแล็บ เช่นเจาะที่เตียง ตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
และสิ่งที่เราตรวจก็ไม่ใช่ plasma แต่เป็น whole blood ทั้งสองต่างกันคือเมื่อนำเลือดออกจากร่างกายนั่นคือ whole blood มีทั้งน้ำเลือด เม็ดเลือด สารต่างๆ แต่ถ้าเรานำไปปั่นด้วยความเร็วเชิงมุมที่สูง จนได้ความเร่ง หรือ แรง G ที่สูงขึ้นก็จะทำให้เม็ดเลือดและสารที่มีน้ำหนักมากตกตะกอนด้านล่าง ส่วนที่ไม่ตกตะกอนด้านบนคือ plasma เรานำส่วนนี้มาตรวจน้ำตาลเวลาเจาะจากหลอดเลือด
จุดที่เจาะเลือด ที่ปลายนิ้ว ส้นเท้า หรือติ่งหูนั้น เป็นจุดที่เราตรวจจากหลอดเลือดฝอย (capillaries) ไม่ใช่จากหลอดเลือดดำ (venous blood)
จากย่อหน้าที่าสองจะเห็นว่าการตรวจน้ำตาลปลายนิ้วกับการตรวจเลือดจากหลอดเลือดดำนั้น ไม่เหมือนกัน และค่าไม่เท่ากันด้วย เกณฑ์การวินิฉัยหรือติดตามโรคเบาหวานเราก็ต้องทำตามนั้น เช่นเกณฑ์การวินิจฉัยใช้ venous plasma glucose ก็ต้องเจาะเลือด ส่วนการติดตามระดับน้ำตาลในบางกรณีก็จะเขียนว่าเป็น capillary glucose เราก็จะใช้วิธีเจาะปลายนิ้วและใช้ค่าตามนั้นได้
ใช้แทนกันได้ไหม … ตามทฤษฎีแล้วไม่สามารถแทนกันได้นะครับ รูปแบบการตรวจ ชนิดของเลือด ตำแหน่งที่ได้เลือด ต่างกันหมด มีการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบสองวิธีนี้คือ การเจาะจากหลอดเลือดดำและการเจาะจากปลายนิ้ว โดยเราอ้างอิงการวัด venous plasma glucose เป็นหลักแล้วเทียบว่าการเจาะน้ำตาลจากเลือดฝอยปลายนิ้วเทียบเท่าการวัดมาตรฐานเพียงใด
พบว่ามีความแตกต่างกันจริง ทั้งมากกว่าและน้อยกว่า แล้วแต่ชนิดและยี่ห้อของแถบตรวจเครื่องวัด วิธีการวัด ความใกล้เคียงกันระหว่างสองวิธีนี้ใกล้เคียงกันประมาณแค่ 75%-90% จึงไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้
ข้อกำหนดใดใช้การเจาะเลือด ก็ต้องใช้ตามนั้นเช่นการวินิจฉัย ข้อกำหนดใดใช้การตรวจน้ำตาลปลายนิ้วได้ก็ต้องใช้ตามนั้นเช่นการติดตามการรักษา
ส่วนการตรวจในวงกว้าง การคัดกรองที่การเจาะเลือดไม่สะดวก สามารถใช้การตรวจปลายนิ้วได้เมื่อการตรวจปลายนิ้วนั้นๆมีการเคียบเทียบด้วยการทดสอบหา correlation coefficient และตามมาตรฐานการวัดค่าน้ำตาล ISO 15197 :2013 ในการตรวจแต่ละครั้งๆไปครับ หรือต้องมีการรับรองเขียนไว้ในเอกสารกำกับว่า “plasma equivalent” จึงจะพอเชื่อถือได้ว่าอาจจะพอเทียบเคียงกันได้
การตรวจทุกอย่างมีข้อบ่งใช้ ข้อจำกัด การแปลผลต้องอาศัยข้อมูลทางคลินิกร่วมด้วยเสมอ ตั้งสติก่อนแปลผลด้วยนะครับ
โพสต์เรื่องที่มาของชื่อ DextroStix
https://m.facebook.com/medicine4layman/posts/1779280995721259:0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม