15 มีนาคม 2561

ผู้รักษา MI ด้วยตัวเอง

เรื่องราวของพยาบาลหนุ่มวัย 44 ปี ของออสเตรเลีย ประจำการบนหน่วยพยาบาลเล็กๆ 1000 กิโลเมตรจากเมืองเพิร์ธ และ 150 กิโลเมตรจากศูนย์การแพทย์ที่ใกล้ที่สุด
คืนนั้นเขาประจำการและตัวเขาเองมีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เจ็บแปลบขึ้นมาทันที อกหักใช่ไหมแบบนี้ ไม่ใช่ !!
เขารู้เลยว่า โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันแหง เขาตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตัวเอง ต้องบอกว่าอึดมากนะ เพราะคนที่เจ็บแบบนี้จะเหนื่อยมาก
พอทำเสร็จเขานึก MI แน่ๆ หัวใจเต้นช้า การนำไฟฟ้าบกพร่อง แถมทำติดตาม คราวนี้พบ ST elevation ชัดเจน
เขาส่งอีเมล์ด่วน และปรึกษาแพทย์ทาง telemedicine แพทย์ก็เซย์เยส ยูเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ รีบเข้ามาสวนหัวใจ
เฮ้ยๆๆ 150 กิโล กลางคืน ชายฝั่งลมแรง อยู่คนเดียวด้วย ฉันตายพอดี เอางี้ดีกว่า
เขาเปิดเส้นตัวเอง ติดเครื่องติดตามหัวใจ กินยาต้านเกล็ดเลือด ฉีดยาต้านการแข็งตัวเลือด อมยาใต้ลิ้น เตรียมยาช่วยชีวิตเอาไว้พร้อมจะกด ... กดเอง
ติดเครื่อง AED กับตัวเอง แล้วให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่บ้านเขาใช้ tenecteplase ไม่ใช่ streptokinase ฉีดเปรี้ยงเดียว ขนาดเดียว
เวลาคือความอยู่รอด...ฉันต้องรอด
หลังให้ยา อาการดีขึ้น คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST elevation ลดลง ... เสียงเพลงมา รอดแล้ว
วันรุ่งขึ้น เฮลิคอปเตอร์มารับ ฉีดสีสวนหัวใจ ยังมีตีบแคบที่หลอดเลือดโคโรนารีด้านขวา คุณหมอก็ยิงบอลลูนใส่ขดลวด แก้ไขเรียบร้อย หัวใจทำงานบกพร่องเล็กน้อย กลับไปทำงานต่อได้ในอีก 48 ชั่วโมงถัดไป
เรื่องจริงเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมที่ดี ยาที่พร้อม การสื่อสารทาง telemedicine ที่ดี จะช่วยชีวิตคนได้อีกมาก ในสถานการณ์ที่เราไม่ได้มีห้องสวนหัวใจกระจายทั่วประเทศ และ
เวลาคือสิ่งสำคัญในการช่วยชีวิตโรคหัวใจ อย่ารอไปสวนหัวใจพรุ่งนี้ ท่านอาจไม่มีหัวใจเหลือให้รักษา
ดูภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ที่ลิงก์นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม