จดหมายถึงคุณเบนซ์ ธนชาติ ศิริภัทราชัย เจ้าของผลงาน "Filmmaker,Failmaker บันทึกกำ(กับ)"
30 กรกฎาคม 2566
Filmmaker,Failmaker บันทึกกำ(กับ)
29 กรกฎาคม 2566
พิธาวาสเตตินกับการป้องกันโรคหลอดเลือดในผู้ป่วย HIV : REPRIEVE
ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ พิธา …
28 กรกฎาคม 2566
โอเมก้าสามจากอาหาร ไม่ทำให้เกิด AF
เบา ๆ ก่อนนอน
ความรู้จากราชวิทยาลัยสู่ประชาชน : การคัดกรองมะเร็ง ตอนที่ 2 : อ.ศุทธินี อิทธิเมฆินทร์
ความรู้จากราชวิทยาลัยสู่ประชาชน : การคัดกรองมะเร็ง : อ.ศุทธินี อิทธิเมฆินทร์
แบ่งออกเป็นสองตอน ส่วนแรกคือคำแนะนำในการคัดกรอง ส่วนที่ของคือความเข้าใจและปรัชญาของการคัดกรอง มาต่อที่ส่วนที่สองเรื่องความเข้าใจและปรัชญาพื้นฐานของการคัดกรองมะเร็ง
การคัดกรองในอุดมคติ ต้องแม่นยำ ผลบวกปลอมต่ำมาก ทำง่ายทำได้หลายที่ ราคาไม่แพงและคุ้มค่า ปลอดภัย ถ้าทำแล้วเจอสามารถลดการเสียชีวิตหรือเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ สุดท้ายคือต้องทำได้จริงในทางปฏิบัติ สรุปว่ายังไม่มีวิธีที่สมบูรณ์ … ดังนั้นการเลือกใช้วิธีใดคัดกรอง ควรอิงตามการศึกษาที่มี ซึ่งคิดประเมินผลต่าง ๆ มาเป็นอย่างดีแล้ว สุดท้ายเขาจะสรุปมาในแนวทางการคัดกรอง
การคัดกรองมีผลเสียเสมอต่อให้คัดกรองได้ดี คือ เพิ่มความเครียด, เพิ่มโอกาสต้องทำการตรวจอื่น ๆ เพิ่มไปอีก, เรื่องของราคา, มีผลต่อการประกันภัยบางอย่าง … และในสถานการณ์ที่การคัดกรองไม่ได้เยี่ยมมาก ผลเสียจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
การคัดกรองมะเร็งในปัจจุบัน ยังต้องทำการแยก average risk คือความเสี่ยงทั่วไปจากอายุ ก็จะคัดกรองตามอายุ เลือกวิธีที่เหมาะตามสถานการณ์ และต้องซักประวัติตรวจร่างกายแยก increased risk คือ ความเสี่ยงสูงกว่าปรกติ ก็จะใช้อีกแบบ เช่น การคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั่วไปเราเริ่มที่อายุ 45 ปี ใช้การตรวจอุจจาระได้ แต่ในคนที่มีประวัติครอบครัว อาจจะต้องทำในอายุน้อยกว่า 45 และใช้การส่องกล้องตรวจ
มะเร็งที่ลุกลามเร็วมาก การคัดกรองอาจไม่เกิดประโยชน์ เช่นมะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งที่การดำเนินโรคช้ามากจนไม่รักษาก็ไม่เกิดอันตราย อันนี้ก็ไม่ได้ประโยชน์ หรือมะเร็งที่การรักษาตั้งแต่ต้นแล้วไม่ได้เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดี หรือไม่ได้ลดความยุ่งยากการรักษา การคัดกรองก็อาจไม่เกิดประโยชน์….ไม่ใช่มะเร็งทุกอย่างจะคัดกรองได้ และไม่ใช่มะเร็งที่คัดกรองได้จะเกิดประโยชน์เสมอไป
หนึ่งในความสำคัญที่ถูกละเลยหากจะคัดกรอง คือ การพูดคุยตัดสินใจร่วมกันก่อนคัดกรอง คุยกันว่าผู้ที่จะเข้ารับการคัดกรองมีความเสี่ยงระดับใดและจะใช้วิธีใด ถ้าผลออกมาเป็นบวกจะทำอย่างไรต่อ และมะเร็งที่คัดกรองนั้นหากพบเจอเข้า มีวิธีการรักษาแบบใดบ้าง และผู้ที่จะเข้ารับการคัดกรองพร้อมที่จะรักษาเพียงใด พร้อมจะลดความเสี่ยงการเกิดโรคไหม … การคัดกรองมะเร็ง ควรทำ pre-test and post-test counselling เสมอ
การคัดกรองมะเร็ง ต้องเข้าใจวิธีคิดเชิงสถิติวินิจฉัยมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็น sensitivity, specificity, predictive value, incidence, mortality, case-fatality และ bias ตัวอย่างของ bias ที่สำคัญ ในการคัดกรองมะเร็ง ที่จะดูว่าการทดสอบนี้ดี ตรวจจับมะเร็งได้ และทำให้คนไข้ไม่ตาย
Lead-time bias คือ ไปตรวจพบมะเร็งก่อนเกิดอาการ ซึ่งการตรวจพบนั้นไม่ได้เปลี่ยนการดำเนินการหรือเปลี่ยนคุณภาพชีวิตคนไข้เลย สิ่งที่พบคือ อุบัติการณ์โรคที่เพิ่มขึ้น และดูเหมือนการอยู่รอดจะนานขึ้นเท่านั้น (นานเพราะไปเจอก่อน) ต้องพิจารณาด้วยว่าการตรวจคัดกรองที่เราจะใช้มี lead time bias หรือไม่ เพราะอาจทำให้เกิดการตรวจรักษาเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็น เสียเงินทอง มีอันตรายจากการตรวจเกินจำเป็นและเครียดจัด
Length-time bias คือ เอาหนึ่งวิธีไปตรวจหามะเร็งในช่วงเวลาหนึ่ง สิ่งที่ได้คือ โอกาสจะเจอมะเร็งชนิดนี้แหละแต่เป็นกลุ่มย่อยที่ดำเนินโรคช้า เพราะกลุ่มที่ดำเนินโรคไวก็เสียชีวิต อยู่ไม่นานพอจะจับได้ ผลออกมาคือ วิธีการตรวจนี้ดักจับมะเร็งได้แถมไม่ตายอีกด้วย … ก็เพราะกลุ่มที่ตาย มันดักจับไม่ได้ไงล่ะ
สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor marker) ตัวยอดนิยมคือ CEA, CA 19-9, AFB, CA125, CA15-3 ยังไม่มีหลักฐานและคำแนะนำเพื่อคัดกรองมะเร็งแต่อย่างใด … การตรวจยีนก่อมะเร็ง ยังไม่สามารถใช้เป็นการคัดกรองในคนปกติได้ แต่อาจใช้ในคนที่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (hereditary cancer) เพราะส่วนมากเป็นการตรวจ germline mutation
คิดถึงผลที่ตามมาเสมอ ว่าตรวจคัดกรองแล้วจะทำอะไรต่อ ถ้าคิดว่าจะไม่ทำต่อ ทำต่อไม่ได้ หรือไม่คุ้มค่าที่จะทำ ให้คิดทบทวนและคุยปรึกษากับคนไข้ให้ดี เช่น จะคัดกรองมะเร็งปอดทำไมถ้าอย่างไรก็ไม่เลิกบุหรี่ จะคัดกรองมะเร็งลำไส้ไหม ถ้าป่วยเป็นโรคเบาหวาน+ความดัน+ไขมัน+ไตวาย+อัมพาต+ตับแข็ง+ถุงลมโป่งพอง+หัวใจล้มเหลว+หลอดเลือดแดงโป่งพอง คัดกรองแล้วจะผ่าตัดไหม
จบตอนที่ 2
26 กรกฎาคม 2566
ความรู้จากราชวิทยาลัยสู่ประชาชน : การคัดกรองมะเร็ง ตอนที่ 1 : อ.ศุทธินี อิทธิเมฆินทร์
ความรู้จากราชวิทยาลัยสู่ประชาชน : การคัดกรองมะเร็ง ตอนที่ 1 : อ.ศุทธินี อิทธิเมฆินทร์
23 กรกฎาคม 2566
A Man Called Ove
คุณคิดว่าคุณจะเข้าใจคนคนหนึ่งได้เมื่อไร กับ A Man Called Ove
21 กรกฎาคม 2566
MASLD : Metabolic dysfunction - Associated Steatotic Liver Disease
เปลี่ยนชื่อ Non Alcoholic
20 กรกฎาคม 2566
อัปเดตเรื่อง EVALI ที่พบว่ารุนแรงน้อยลง
อัปเดตเรื่อง EVALI กันสักหน่อย
ผ้าเช็ดตัวที่ใช้แล้วสามวัน พบเชื้อโรคมากกว่า 80 ล้านตัว
มีเยอะ ใช่ว่าจะก่อปัญหา
19 กรกฎาคม 2566
อาหารต้านชรา ลดสมองเสื่อม
อาหารต้านชรา ลดสมองเสื่อม ???
17 กรกฎาคม 2566
คนที่ดื่มเหล้า สามารถดีท็อกซิฟายด์ ตับตัวเอง
คุณรู้ไหม คนที่ดื่มเหล้า สามารถดีท็อกซิฟายด์ ตับตัวเอง
14 กรกฎาคม 2566
eschar ในผู้ป่วยโรค scrub typhus
แสดงภาพ eschar ในผู้ป่วยโรค scrub typhus
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
-
Onycholysis แผ่นเล็บหลุดลอกจากผิวใต้เล็บ โดยลักษณะลอกจากปลายเล็บเข้าหาโคนเล็บ สภาพเล็บเปราะบาง ไม่สมบูรณ์ พอเล็บไม่สมบูรณ์ การตรวจออกซิเจน...