27 ธันวาคม 2561

trench fever

ลิเวอร์พูลมี เทรนต์ อเล็กซานเดอร์ อาร์โนลด์ วิงแบ็กตัวฉกาจ .. เพจเราก็มี เทรนช์ฟีเวอร์ (Trench Fever)
เทรนช์ฟีเวอร์ เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง ค้นพบสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลักษณะอาการมีไข้สูงแล้วกลับมาเป็นปกติและกลับมาไข้สูงอีก ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง อาจมีม้ามโต มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดมากจนขาแข็งแเกร็ง อาการมักเป็นแค่ห้าวันแล้วหายเอง โอกาสเป็นเรื้อรังรุนแรงมีน้อย
แพทย์ชาวอังกฤษพบอาการโรคที่คล้ายโรคติดเชื้อมาเลเรียหรือไข้ไทฟอยด์ แต่ไม่มีอาการอย่างอื่นที่เหมือนมาเลเรียหรือไทฟอยด์ เขาสังเกตโรคนี้เป็นครั้งแรกที่แนวรบของฝรั่งเศส และต่อมาพบในอีกหลาย ๆ แนวรบ ...เพราะพบในแนวรบนี่แหละถึงเรียกว่า trench fever คำว่า trench คือราง หรือหมายถึงสนามเพลาะที่ขุดลงไปเป็นรางยาว ๆ ทหารไปเฝ้ารบในนั้น สมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีการขุดแนวสนามเพลาะมากมายและรบในสนามเพลาะเป็นหลัก เรียกสงครามครั้งที่หนึ่งว่าสงครามสนามเพลาะ ใครนึกภาพไม่ออกให้ไปดูหนังเรื่อง Wonder Woman ชุดที่แฟนผม Gal Gadot แสดงนำ
อะไรอยู่ในสนามเพลาะ...เพราะสนามเพลาะเป็นบริเวณแคบ ๆ บีบให้คนต้องมาอยู่ใกล้กัน สุขอนามัยในสนนมเพลาะก็ใช่ว่าจะดี จะออกจากสนามเพลาะไปอาบน้ำก็จะโดนทหารฝ่ายมหาอำนาจกลางสอยแน่ ๆ ทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคนี้ผ่านทางสัตว์พาหะคือ เหาลำตัว (body lice) ที่จะไปวางไข่หรือวางอึตามรอยถลอกผิวหนัง กระโดไปมาเมื่อคนอยู่เบียดเสียดกัน หรือใช้เสื้อผ้าร่วมกันโดยอนามัยไม่ดี
เชื้อแบคทีเรีย Bartonella quintana เชื้อที่พบในพุงเหาลำตัวสามารถมาก่อโรคในคนได้ เป็นเชื้อตระกูลเดียวกับโรคแมวข่วน Cat-Scratch disease (Bartonella henselae) เจ้า quintana นี่แหละเป็นตัวก่อโรคไข้เทรนช์
โดยทั่วไปโรคหายเอง แต่หากอาการรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันไม่ดี ก็อาจใช้ยากลุ่ม tatracyclines ได้เช่นกัน ส่วนมากโรคไม่รุนแรงยกเว้นไปทำให้เกิดเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (subacute endocarditis) เนื่องจากมันเพาะเชื้อยาก อาการไม่เฉพาะเจาะจง การตรวจยืนยันทำได้ยาก เป็นวิธีที่ไม่แพร่หลายและราคาแพง เช่น หาสารภูมิคุ้มกันแอนติบอดีหรือหาสารพันธุกรรมของ Bartonella ข้อมูลการวินิจฉัยและรักษาจึงไม่มีมากนัก
ปัจจุบันพบน้อยมาก สุขอนามัยเราดีขึ้นมาก หรือถ้าพบและมีจริง ๆ ก็วินิจฉัยโรคและแยกโรคยากเช่นกัน
ลุงหมอเวอร์ชั่น ดูบอลแล้วเวิ่นเว้อไปเรื่อย ... สงสัยปีนี้จะได้นอนกอดถ้วยแชมป์พรีเมียร์ลีกนะ..จะบอกให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม