07 ธันวาคม 2560

อาวุธชีวภาพ group B C

ก่อนจะไปถึงอันดับต่อไป เรามาดูกลุ่ม B และกลุ่ม C กันก่อนว่า มีอะไรบ้างคร่าวๆ
กลุ่ม B คือกลุ่มเชื้อที่มีการแพร่กระจายได้ง่าย อัตราการตายและอัตราการเสียชีวิตไม่ได้สูงมากนัก การแพร่กระจายทางละอองฝอยหรือทางน้ำที่ปนเปื้อน ยังไม่ร้ายแรงเหมือนกลุ่ม A ..มีโอกาสจะนำไปเป็นอาวุธเชื้อโรคได้ แต่อาจไม่ได้เป็นอาวุธตรงๆเหมือนกลุ่มแรก เป็นแค่การปล่อยการระบาดเพิ่มขึ้น หรือนำแหล่งสะสมโรคเข้าไปในพื้นที่มากกว่า
กลุ่ม B อาทิเช่น Brucellosis โรคติดเชื้อปนเปื้อนจากวัว กวาง แพะ ทั้งการสัมผัสและการกินเนื้อไม่สุก, Melioidosis โรคติดเชื้อจากดินและน้ำ พบมากในถิ่นแดนอีสานบ้านเรา จากเชื้อ B.pseudomaleii เอ..หรือเราโดนอาวุธชีวภาพไปแล้ว , Psittacosis จากเชื้อ Chalmydia psittaci ที่พบจากนกเลี้ยงเช่น นกแก้ว, อหิวาตกโรค จากเชื้อ Vibrio cholerae ที่จะปนเปื้อน ในน้ำ, สารพิษจากเชื้อแบคทีเรียต่างๆ แต่ว่าสารพิษแหล่านี้ไม่คงทนมากนัก มักต้องส่งตัวแบคทีเรียเข้าไปในร่างกายด้วย
อื่นๆอีกเช่น Burkhoderia maleii, Staphylococcous toxin B, Ricketsia prowazekii, Coxiella burneti
ยังไม่มีรายงานชัดเจนเกี่ยวกับการใช้เชื้อเหล่านี้เป็นอาวุธชีวภาพ
สำหรับกลุ่ม C คือเชื้อที่กลับมาระบาดใหม่ (remerging organism) ที่อาจถูกนำมาใช้ได้ หากมีการศึกษาที่ชัดเจน เช่น ไวรัสอุบัติซ้ำทั้งหลาย Nipah virus, SARS, MERs-CoV หรือแม้แต่ไข้หวัดใหญ่ พวกนี้มีการระบาดตามธรรมชาติอยู่แล้ว พฤติกรรมจะคล้ายๆอาวุธชีวภาพคือระบาดพร้อมๆกัน เป็นวงกว้าง อาการไม่เจาะจง มาแล้วก็ไป แต่สร้างความเสียหายตระหนกตกใจได้มาก ปัจจุบันยังไม่พบร่องรอยหรือหลักฐานว่ามีการพัฒนาไปทำอาวุธชีวภาพ
การควบคุมโรคทำได้ไม่ยาก ทำให้การแพร่กระจายไม่เป็นวงกว้างนัก
ก็จะเห็นได้ว่ากลุ่ม B และ C ยังไม่ได้เป็นเชื้อหรือการระบาดที่อันตรายเพียงแค่มีโอกาสเท่านั้น แต่สำหรับยุคปัจจุบันโอกาสนั้นก็จะมากขึ้นเพราะการใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างไม่สมเหตุผล ทำให้เชื้อดื้อยาหรือการใช้ยาฆ่าเชื้อในปศุสัตว์ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อาจก่อเชื้อดื้อยา ก็ทำให้โอกาสจะหยิบมาพัฒนาเป็นอาวุธมากขึ้น
ในสังคมโลกก็มีความเป็นห่วงในเรื่องการใช้อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ ในพิธีสารเจนีวา 1925 ใครเรียนกฎหมายระหว่างประเทศก็คงรู้จักดีในเรื่องข้อตกลงเรื่องสิทธิมนุษยชนเชลยสงคราม การประกาศสงคราม และก็มีการหยิบยกเรื่องอาวุธชีวภาพด้วย
แต่ว่าช่วงนั้นสงครามยังไม่ยุติความคุกรุ่นของสงครามเย็นทำให้ข้อตกลงเรื่องอาวุธยังไม่ถึงไหน และสถานการณ์ยิ่งตึงเครียดกับสถานการณ์คิวบา 1962 สถานการณ์ยิ่งแย่ลง ..สิ่งที่แปลกในความคิดผมคือ หลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ ในปี1963 ดูว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง
ในการประชุมสหประชาชาติ ปี 1969 ได้มีการเอ่ยถึงการควบคุมอาวุธชีวภาพ และในที่สุดก็เกิดข้อตกลงในการประชุม BWC biological weapon convention ในปี 1972 เป็นการตกลงเรื่องการควบคุม งดผลิต ครอบครอง ใช้ จำหน่ายอาวุธชีวภาพ มีการปรับปรุงข้อตกลงอีกหลายครั้ง ตอนนี้มีภาคีสมาชิก 179 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย ทุกประเทศต้องส่งรายงานเกี่ยวกับเชื้อและการระบาดด้วยทุกๆปี
ข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์สหประชาชาติและ BWC ที่ผมตกใจคือ อิสราเอล ไม่เป็นสมาชิก !! แต่อิรัก ประเทศที่ถูกกล่าวหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นสมาชิก !!
ณ ตอนนี้ CDC ที่แอตแลนต้า และ USAMRIID (United States Army Medical Research Institute of Infectious Diseases) เป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลและความเคลื่อนไหวของอาวุธเคมีชีวภาพมากที่สุด ซึ่งเป็นของ ..สหรัฐอเมริกา...ก็ไม่รู้จะเชื่อได้เพียงใดนะครับ
พรุ่งนี้เรามาต่อกัน กับ deadly weapon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม