19 กุมภาพันธ์ 2562

critical care congress 2019

การประชุม Critical Care Congress ประจำปี 2019 ที่ซาน ดิเอโก้ สหรัฐอเมริกา มีอะไรใหม่ ๆ เยอะมาก ผมเอาวารสารที่เมื่อคืนเขานำเสนอในงานนี้ลงพิมพ์ในวารสารแบบสด ๆ ร้อน ๆ แถมตอนนี้ฟรีด้วย แต่ยังไม่มีบทบรรณาธิการและวิจารณ์ มาให้อ่านกัน

วิดีโอ What 's new in 2019 ผมแชร์มาให้ในโพสต์ด้านล่างนะครับ รีบดูก่อนที่เขาจะปิดฟรี

เอาไว้อ่านหมดแล้ว เขียนสรุปแล้วจะเอามาบอกกันบ้าง ถ้ามีคนอยากอ่านนะ หรือถ้าลิ้วพูลชนะในวันอาทิตย์นี้

1. Bag-Mask Ventilation during Tracheal Intubation of Critically Ill Adults

เวลาใส่ท่อช่วยหายใจจะต้องทำ bag-mask ventilation ไหมหรือใส่ไปเลย การศึกษานี้บอกว่าการช่วยหายใจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนน้อยกว่า แต่ว่าการไม่ช่วยก็ไม่ได้ขาดมากจนแย่แต่อย่างใด หากใส่ได้เร็วและชำนาญพอ ไม่เกิดการขาดออกซิเจน ก็ดูไม่แย่เท่าไร

https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1812405

2. Adjunctive Intermittent Pneumatic Compression for Venous Thromboprophylaxis

ผู้ป่วยวิกฤตนั้นการให้ยากันเลือดแข็งช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด การเกิดเลือดดำอุดตันและลดการเสียชีวิตชัดเจน หากใส่อุปกรณ์ช่วยบีบไล่เลือดจะช่วยลดอันตรายมากขึ้นไหม คำตอบคือไม่ได้ช่วยลดการเกิดอันตรายจากลิ่มเลือดเพิ่มขึ้นไปกว่าวิธีการใช้ยาอย่างเดียว ลองมาอ่านการศึกษาจากซาอุดิอาระเบีย ประเทศที่การแพทย์กำลังมาแรง

https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa1816150

3. Effect of Titrating Positive End-Expiratory Pressure (PEEP) With an Esophageal Pressure–Guided Strategy vs an Empirical High PEEP-Fio2 Strategy on Death and Days Free From Mechanical Ventilation Among Patients With Acute Respiratory Distress Syndrome

ในผู้ป่วย ARDS การปรับ PEEP และ FiO2 เป็นสิ่งสำคัญมากเราอาจใข้ตาราง อาจใช้ lung compliance ดูกราฟ reflection point ในการศึกษานี้ใช้การปรับโดยใช้ esophageal pressure โดยใส่อุปกรณ์วัด เทียบกับตารางจาก oscilate trial สรุปว่าอัตราตายและจำนวนวันไม่สามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ ไม่แตกต่างกัน

https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2725206?guestAccessKey=de44d501-ab15-4991-b526-6c2ce37aa3b0&utm_source=fbpage&utm_medium=social_jama&utm_term=2142826503&utm_content=followers-article_engagement-text-tfl&utm_campaign=article_alert&linkId=63755670

4. Effect of a Nurse-Led Preventive Psychological Intervention on Symptoms of Posttraumatic Stress Disorder Among Critically Ill Patients

การเข้ารับการรักษาในไอซียูจะตามมาด้วยความเครียดทางจิตใจรุนแรงมาก การศึกษานี้ทดสอบการจัดการความเครียดเพื่อลดการเกิดความเครียดหลังออกจากไอซียู โดยใช้วิธีคุยตามปกติกับวิธีการจัดการความเครียดเชิงระบบเป็นโปรโตคอล เทียบดูว่าหลังออกจากไอซียูจะมีภาวะเครียดต่างกันไหม  จากการศึกษานี้ตอบว่าไม่ต่างกัน

https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2725208?guestAccessKey=d2dd1e8d-9c23-4294-912b-c7ed0812e896&utm_source=fbpage&utm_medium=social_jama&utm_term=2142826495&utm_content=followers-article_engagement-text-tfl&utm_campaign=article_alert&linkId=63757206

5. Early Extubation followed by immediate non-invasive ventilation vs. standard extubation in hypoxemic patients

เมื่อถอดท่อช่วยหายใจแล้วหากใช้การใส่เครื่องแบบ non invasive ทันทีจะได้ประโยชน์ช่วยลดการใช้เครื่องซ้ำ แต่ว่าไม่ได้เป็นกับคนไข้ทุกกลุ่ม เฉพาะกลุ่มที่ศึกษาคือ non-hypercapnic hypoxemic respiratory failure เท่านั้น

https://www.readcube.com/articles/10.1007/s00134-018-5478-0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม