เอาละ .. ว่างกันหรือยัง ไปชงกาแฟแล้วหาเก้าอี้นุ่ม หย่อนก้นลงบนเก้าอี้ ผ่อนคลาย..แล้วอ่านเรื่องราวของ ไวรัสมรณะ อีโบล่า
เมือง Marburg ตอนกลางของเยอรมนี เมืองนี้ถือเป็นเมือง "คลาสสิค" เมืองหนึ่งของยุโรปเลยนะครับ เก่าแก่ มีมนต์ขลัง เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแห่งเมือง Marburg ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1500กว่าๆ สมัยเริ่มต้นอาณาจักรอยุธยา ที่บอกว่าคลาสสิคก็เพราะว่าเป็นที่พักของสองพี่น้องตระกูลกริมม์ ผู้แต่งและรวมรวมเทพนิยายกริมม์นั่นเอง
ใกล้ๆกันเป็นที่ตั้งของปราสาท damm ที่มีหอคอยสูง เป็นจุดกำเนิดของนิทานเยอรมันชื่อดัง "ราพันเซล" นั่นเอง
ใกล้ๆกันเป็นที่ตั้งของปราสาท damm ที่มีหอคอยสูง เป็นจุดกำเนิดของนิทานเยอรมันชื่อดัง "ราพันเซล" นั่นเอง
ในปี 1967 นักวิทยาศาสตร์ของเมืองนี้ได้ค้นพบเชื้อไวรัสตัวหนึ่ง รูปร่างยาวๆคล้ายเชือกจึงเรียกกลุ่มไวรัสนี้ว่าทFilovirus (filo มาจาก filum ที่แปลว่าเชือก) ติดต่อจากลิง grivet ลิงที่ใช้ในการทดลองมาสู่คน ทำให้คนมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกระดูกและมีเลือดออกตามจุดต่างๆ นั่นก็คือไวรัสมาร์เบิร์กตามชื่อเมืองที่เกิดการระบาด (น่าจะอ่านว่า มาร์บูร์ก มากกว่า) ลักษณะการติดเชื้อไวรัสนี้คือไข้เลือดออกชนิดหนึ่งในหลายๆชนิดที่มีอยู่ในโลกเรา
ไข้เลือดออกที่เรารู้จักกันดีคือไข้เลือดออกเดงกี่ แต่จริงๆยังมีอีกหลายชนิด นับตั้งแต่วันนั้นโลกก็รู้จักไวรัสมาร์เบิร์ก และได้มีการรายงานการระบาดของไวรัสมาร์เบิร์กอีกสี่ครั้ง ทั้งหมดอยู่บนแผ่นดินแอฟริกา ถิ่นที่อยู่ของลิง grivet และยังพบแหล่งโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ชนิดที่พบมากกลับไม่ใช่ลิงแต่เป็นค้างคาวกินผลไม้ (fruit bat) แห่งดินแดนแอฟริกา
ไข้เลือดออกที่เรารู้จักกันดีคือไข้เลือดออกเดงกี่ แต่จริงๆยังมีอีกหลายชนิด นับตั้งแต่วันนั้นโลกก็รู้จักไวรัสมาร์เบิร์ก และได้มีการรายงานการระบาดของไวรัสมาร์เบิร์กอีกสี่ครั้ง ทั้งหมดอยู่บนแผ่นดินแอฟริกา ถิ่นที่อยู่ของลิง grivet และยังพบแหล่งโรคในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ชนิดที่พบมากกลับไม่ใช่ลิงแต่เป็นค้างคาวกินผลไม้ (fruit bat) แห่งดินแดนแอฟริกา
ไม่ใช่แวมไพร์ค้างคาวดูดเลือดหรือค้างคาวดุร้ายกินแมลงแต่อย่างใด ค้างคาวพันธุ์นี้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นมังสวิรัติเพื่ออยู่รอดไม่ต้องแย่งอาหารกับพรรคพวก ความที่มันกินอาหารแบบเดียวกับมนุษย์ คือ ผลไม้ บางครั้งมันแอบไปกินก่อนคนแล้วคนก็กินต่อไปจึงสามารถติดต่อโรคกันได้ แถมยังมีการรับประทานค้างคาวด้วยนะ...พอเข้าใจแล้วว่าทำไมไม่มีตำนานแวมไพร์ที่แอฟริกา
ค้างคาวชนิดนี้แกร่งมาก หูดี ตาดีมาก จมูกดีสุดๆ มีโซน่าร์นำร่อง อาศัยอยู่ในถ้ำปลอดภัย มีภัยสองอย่างเท่านั้น คือไวรัสมรณะนี้และมนุษย์จอมล่าสัตว์เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าตอนนี้ เรารู้แล้วล่ะว่า ไวรัสมาร์เบิร์กมาจากสัตว์สู่คน ผ่านทางสารคัดหลั่งในตัวและการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคตาย หรือกินสัตว์เหล่านั้น พบมากที่แอฟริกาและเป็นไวรัสมรณะที่อัตราการเสียชีวิตสูงมาก เกือบๆ 90%
ค้างคาวชนิดนี้แกร่งมาก หูดี ตาดีมาก จมูกดีสุดๆ มีโซน่าร์นำร่อง อาศัยอยู่ในถ้ำปลอดภัย มีภัยสองอย่างเท่านั้น คือไวรัสมรณะนี้และมนุษย์จอมล่าสัตว์เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าตอนนี้ เรารู้แล้วล่ะว่า ไวรัสมาร์เบิร์กมาจากสัตว์สู่คน ผ่านทางสารคัดหลั่งในตัวและการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคตาย หรือกินสัตว์เหล่านั้น พบมากที่แอฟริกาและเป็นไวรัสมรณะที่อัตราการเสียชีวิตสูงมาก เกือบๆ 90%
***ปัจจุบันถือว่าเป็นหนึ่งในไวรัสที่เฝ้าระวังการนำมาใช้เป็นอาวุธชีวภาพ**
เก้าปีต่อมาในปี 1976 ที่เมือง Yambuku ประเทศซาอีร์ ..เอ่อ ไม่ต้องไปเปิดหาในแผนที่แล้วนะครับเพราะปัจจุบันไม่มีซาอีร์อีกแล้ว ได้เปลี่ยนประเทศไปเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ลองไปสังเกตดูนะครับ ประเทศที่ตั้งชื่อ มีคำว่าประชาธิปไตยในชื่อ มักจะไม่ค่อยมีประชาธิปไตยเท่าไร) ที่เมืองเล็กๆนี้มีสุภาพบุรุษที่เป็นครูใหญ่โรงเรียนป่วยและเสียชีวิตใน 7 วัน คือคุณครู Mabalo Lokela อาการป่วยก็คุ้นๆ ไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว กินไม่ได้อาเจียน เลือดออก คล้ายๆไวรัสมาร์เบิร์กนะแถมอยู่ในช่วงที่มาร์เบิร์กกำลังดัง แต่จริงๆคุณครูได้รับการรักษามาเลเรียนะครับ
การดูแลตอนนั้นไม่ดีมาก สถานพยาบาลในเมือง yambuku ช่างห่างไกลและขาดแคลน มีแม่ชีชาวเบลเยี่ยมประจำการอยู่ 4 คน การดูแลรักษาก็ได้ตามสภาพทรัพยากร
การดูแลตอนนั้นไม่ดีมาก สถานพยาบาลในเมือง yambuku ช่างห่างไกลและขาดแคลน มีแม่ชีชาวเบลเยี่ยมประจำการอยู่ 4 คน การดูแลรักษาก็ได้ตามสภาพทรัพยากร
หลังจากงานศพของคุณครูใหญ่ ก็มีชาวบ้านที่เข้าร่วมพิธีศพ คนที่ใกล้ชิดกับผู้ใหญ่บ้านก่อนเสียชีวิต รวมทั้งแม่ชีคนหนึ่งในสถานพยาบาลนั้น ล้มป่วยลงพร้อมกันอาการเหมือนๆกัน ..เอาละสิ มันเกิดการระบาดหรืออย่างไร ก็เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลพร้อมๆกัน ..ตอนนี้ยังไม่มีหมอไปดูแลเลยนะ และหลังจากคุณครูล้มป่วยและเสียชีวิตไปแล้วเกือบสัปดาห์ คุณหมอคนแรกก็เข้าไปถึงที่เกิดเหตุ คือคุณหมอ Mgoi Muchala
แน่นอน คุณหมอย่อมคิดถึงโรคระบาด อาจจะเป็นมาเลเรีย หรือ มาร์เบิร์ก จึงส่งเรื่องราวและตัวอย่างเลือดไปวิเคราะห์ แจ้งรัฐบาล ได้ประกาศเป็นเขตระบาดและกฏอัยการศึกพื้นที่นั้น
แน่นอน คุณหมอย่อมคิดถึงโรคระบาด อาจจะเป็นมาเลเรีย หรือ มาร์เบิร์ก จึงส่งเรื่องราวและตัวอย่างเลือดไปวิเคราะห์ แจ้งรัฐบาล ได้ประกาศเป็นเขตระบาดและกฏอัยการศึกพื้นที่นั้น
ศาสตราจารย์ Peter Piot ซึ่งทำงานที่ CDC อเมริกาได้ลงพื้นที่มาสำรวจพื้นที่และตั้งห้องแล็บสนามเพื่อพิสูจน์เชื้อ ปรากฏว่า ไม่ใช่ไวรัสมาร์เบิร์ก ไม่ใช่มาเลเรีย แต่เป็นไวรัสไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ เป็นสายเชือกในกลุ่ม filovirus คล้ายๆมาร์เบิร์ก คราวนี้เมื่อมันเป็นสายพันธุ์ใหม่มันก็ต้องมีชื่อเสียงเรียงนาม โดยทั่วไปก็ตามถิ่นที่ค้นพบหรือตามชื่อคนที่เกี่ยวข้อง
Peter Piot ได้เลือกชื่อ Ebola ตามชื่อแม่น้ำ Ebola ห่างจากเมือง Yambuku 60 ไมล์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่คุณครูที่ติดเชื้อรายแรกมาเที่ยวพักแรมที่นี่แล้วมีอาการกลับไป และเป็นแม่น้ำอยู่ใกล้ๆศูนย์วิจัยภาคสนามอีกด้วย จึงเลือกตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า Ebola virus
Peter Piot ได้เลือกชื่อ Ebola ตามชื่อแม่น้ำ Ebola ห่างจากเมือง Yambuku 60 ไมล์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่คุณครูที่ติดเชื้อรายแรกมาเที่ยวพักแรมที่นี่แล้วมีอาการกลับไป และเป็นแม่น้ำอยู่ใกล้ๆศูนย์วิจัยภาคสนามอีกด้วย จึงเลือกตั้งชื่อไวรัสนี้ว่า Ebola virus
Ebola virus เป็นไวรัสไข้เลือดออกเช่นกันแต่คนละพันธุ์กับไข้เดงกี่นะครับ ติดต่อจากสารคัดหลั่ง ไปจับไปแตะสารคัดหลั่งที่ติดเชื้อแล้วไปจับปาก จมูก ก็ติดเชื้อเมื่อไม่มีการรักษาความสะอาดดีพอ ดังนั้นก็จะติดจากการสัมผัสใกล้ชิดคนที่ป่วยเป็นโรค สัตว์พาหะนำโรคเช่น ..ค้างคาวกินผลไม้ .. อีกแล้ว หรือพวกลิงต่างๆ ทั้งการสัมผัสน้ำลาย ผลไม้ที่เปื้อนน้ำลาย การกินเนื้อสัตว์พวกนี้
อาการก็เหมือนไข้เลือดออกเลย ไข้สูง ปวดเมื่อย อาเจียน ถ่ายเหลว เลือดออก แต่ความรุนแรงนั้นรุนแรงมากๆ อัตราการเสียชีวิตสูงปรี๊ด 80-90% มีการระบาดเป็นพักๆ
อาการก็เหมือนไข้เลือดออกเลย ไข้สูง ปวดเมื่อย อาเจียน ถ่ายเหลว เลือดออก แต่ความรุนแรงนั้นรุนแรงมากๆ อัตราการเสียชีวิตสูงปรี๊ด 80-90% มีการระบาดเป็นพักๆ
ถามว่าน่ากลัวกว่ามาเลเรียหรือไข้เลือดออกเดงกี่ไหม ก็ต้องตอบว่าไม่ เพราะโรคสองโรคนี้ระบาดเป็นวงกว้างมากกว่า มีแมลงเป็นพาหะทำให้ควบคุมยาก มีระยะแฝงของโรคทำให้ไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ตรวจไม่พบ โรคจึงแพร่กระจายมาก
ส่วนอีโบล่าเกือบทั้งหมดอาการรุนแรง ทุกคนทราบ จัดการแยกโรคได้ทันและส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเสียชีวิต การกระจายโรคจึงไม่มาก ในช่วงการระบาดเมื่อปีที่แล้วก็ควบคุมการระบาดได้ดี มีมาตรการที่ชัดเจนและเร็วมาก ในประเทศไทยเองก็มีแนวทางการป้องกันที่พร้อมเช่นกัน
ส่วนอีโบล่าเกือบทั้งหมดอาการรุนแรง ทุกคนทราบ จัดการแยกโรคได้ทันและส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักเสียชีวิต การกระจายโรคจึงไม่มาก ในช่วงการระบาดเมื่อปีที่แล้วก็ควบคุมการระบาดได้ดี มีมาตรการที่ชัดเจนและเร็วมาก ในประเทศไทยเองก็มีแนวทางการป้องกันที่พร้อมเช่นกัน
ใครอยากดูแบบสนุกๆ ...แต่เป็นหนังนะครับ ไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมดดูได้จากเรื่อง outbreak (1995) นำแสดงโดย ดัสติน ฮอฟฟ์แมน, มอร์แกน ฟรีแมน, เรเน่ รุสโซ ผลงานกำกับของผู้กำกับชื่อดัง โวลฟ์กัง ปีเดอร์เซ่น ผู้กำกับเรื่องทรอย ...เขาเป็นคนเยอรมันด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น