27 มิถุนายน 2563

การติดเชื้อมาเลเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum

สองจังหวัดนี้มีความสำคัญในเรื่องโรคมาเลเรีย
การศึกษาการใช้ยารักษามาเลเรียดื้อยาในประเทศไทย นำมาสู่แนวทางทางเวชปฏิบัติที่พัฒนามากขึ้น ในอดีตเราใช้ยาควินินรักษามาเลเรียได้ดี แต่เพราะเชื้อพลาสโมเดียมมันดื้อยามาก ต่อมาเราได้พัฒนามาใช้ยา artesunate, artemisnin derivatives เพื่อต่อกรกับพลาสโมเดียม
นักวิจัยจีน Dr. Tu You ที่คิดเรื่องยาและการรักษานี้ ได้รับรางวัลโนเบลเลยนะครับ
แต่ปัจจุบันเชื้อพลาสโมเดียม ที่ก่อโรคมาเลเรียรุนแรงคือ Plasmodium falciparum ดื้อยามากขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาใหม่ การศึกษาที่ทำในประเทศไทยพบว่าในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ มีการดื้อยามากและต้องใช้ยาที่ไม่เหมือนพื้นที่อื่นของประเทศ
ตามแนวทางการรักษาโรคมาเลเรียประเทศไทยปี 2562 โดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และกองโรคติดต่อจากแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำไว้ดังนี้ครับ
สำหรับการติดเชื้อมาเลเรียจากเชื้อ Plasmodium falciparum (Pf malaria)
อาการไม่รุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน รักษาโดยใช้ยากินประมาณ 3-4 วันครับ
พื้นที่จังหวัดอุบลฯ และศรีสะเกษ : Artesunate-Pyronaridine แบบยาเม็ดรวม (Pyramax)
พื้นที่อื่น : Piperaquine-Dihydroartemisnin แบบยาเม็ดรวม (Eurartesim)
หากอาการรุนแรง มีผลแทรกซ้อนรุนแรง เราจะใช้ยาฉีด artesunate ครับ โดยฉีดและหยดเข้าหลอดเลือดดำจนกว่าอาการจะดีขึ้นแล้วจึงปรับเป็นยากิน
ใครที่อยู่ในเขตสองจังหวัดดังกล่าว ต้องระมัดระวังตัวเวลาเดินทาง อาจใช้ครีมหรือสมุนไพรทากันยุง นอนกางมุ้ง และหากป่วยไข้เฉียบพลัน ประวัติอยู่อาศัยในจังหวัดหรือเข้าพื้นที่จังหวัดนั้นใน 1-2 สัปดาห์ก่อนเกิดไข้เป็นประวัติที่สำคัญมากเลยครับ
"หญิงศรีสะเกษหน้ามล สาวอุบลก็งามตา"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม