27 กรกฎาคม 2561

operation vital sign 4

episode 4 .. อัตราการหายใจ
อัตราการหายใจถือเป็นการวัดที่ยากที่สุดในสี่สัญญาณชีพ เพราะสังเกตเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้อื่นสังเกตให้ เนื่องจากผู้ที่หายใจสามาาถบังคับการหายใจให้เป็นจังหวะที่ตนต้องการได้
1. การหายใจควรใช้การสังเกตการกระเพื่อมจากการหายใจเช่นการเคลื่อนที่ของหน้าอกหรือช่วงท้อง โดยสังเกตในขณะที่ผู้ป่วยหรือผู้ตรวจทำอย่างอื่นๆ อย่าจ้องเป๋ง
2. รูปแบบของการหายใจถือว่าค่อนข้างยากแต่ว่ามีความสำคัญมาก เช่น หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจหอบลึก ถ้าได้ข้อมูลนี้จะช่วยได้ ถ้าบอกลักษณะไม่ได้ก็บรรยายเป็นคำพูดธรรมดา หรือทำให้ดูครับ
3. อัตราการหายใจเป็นสิ่งที่เราจะสังเกต นับ เข้า-ออก เป็นหนึ่งครั้ง นับจนครบหนึ่งนาที จะได้อัตราการหายใจต่อนาที ปกติจะ 10-12 ครั้งต่อนาที หากภาวะปวด มีไข้อัตราการหายใจจะเร็วขึ้น
4. อาจจะนับวันละ 3-4 ครั้งก็พอและเวลาที่คนไข้หอบหายใจเร็วก็ควรนับด้วย และบันทึกเอาไว้
5. การหายใจเร็วไม่ใช่อาการเหนื่อย อาการเหนื่อยจะหมายถึง หายใจธรรมดาด้วยกล้ามเนื้อหายใจปรกติทำได้ยาก ต้องใช้แรงส่วนอื่นนอกเหนือจากกล้ามเนื้อหายใจมาช่วย เช่น ยกไหล่ ยืดคอ ใช้แรงจากท้องมาช่วย
6. อาการหอบมีหลายอย่าง แต่ที่ค่อนข้างชัดว่าหายใจลำบากมากแล้วคือ หายใจหอบปีกจมูกบาน หรือ หายใจเป่าปากหายใจทางปากช่วย อันนี้อันตรายแล้วควรไปพบแพทย์ (โดยทั่วไปนะครับ)
การหายใจต้องถือว่าสังเกตยากมาก หลักๆขอแค่อัตราการหายใจก็พอครับ
เมื่อจบ 4 step เราจะได้เรียนรู้ว่าการสังเกตอาการเองที่บ้าน ไม่ใช่แค่เอายาให้กิน หาข้าวอร่อยๆให้กิน แต่เป็นการเฝ้าระวังความผิดปกติและสัญญาณชีพ เพื่อตรวจจับความผิดปกติหรือสามารถบอกเล่าเรื่องราวของโรคให้การวินิจฉัยแม่นยำมากขึ้น แค่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ เราแยกโรคได้มากเลยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม