อุปกรณ์การแพทย์ที่สำคัญที่สุด คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า และ สติปัญญา
ภาพที่เห็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนไข้รายหนึ่ง เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพวัดอัตราการเต้นหัวใจได้ 139 ครั้ง ขณะที่คนไข้ไม่เหนื่อยและอายุ 65 ปี ตัวเลข 139 ครั้งต่อนาทีมันสะกิดสายตามากที่สุดบนจอภาพนี้ ทุกคนเห็นก็ตกใจว่าทำไมหัวใจเต้นเร็วมาก
ก่อนอ่านต่อไป ขอให้ดูภาพแล้วคิดในใจว่าอัตราการเต้นแบบนี้ เราจะตกใจหรือทำอะไร ใครอ่านโดยไม่คิดในใจก่อน ขอให้ไม่ถูกหวย กินหมูกะทะไม่อร่อย
ภาพที่เห็นคลื่นไฟฟ้าหัวใจของคนไข้รายหนึ่ง เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพวัดอัตราการเต้นหัวใจได้ 139 ครั้ง ขณะที่คนไข้ไม่เหนื่อยและอายุ 65 ปี ตัวเลข 139 ครั้งต่อนาทีมันสะกิดสายตามากที่สุดบนจอภาพนี้ ทุกคนเห็นก็ตกใจว่าทำไมหัวใจเต้นเร็วมาก
ก่อนอ่านต่อไป ขอให้ดูภาพแล้วคิดในใจว่าอัตราการเต้นแบบนี้ เราจะตกใจหรือทำอะไร ใครอ่านโดยไม่คิดในใจก่อน ขอให้ไม่ถูกหวย กินหมูกะทะไม่อร่อย
เมื่อมาจับชีพจรผู้ป่วยและฟังหัวใจ ปรากฏว่าอัตราการเต้นหัวใจ 70
ครั้งต่อนาที ชีพจรก็ 70 ครั้งต่อนาที ทำไมตัวเลขไม่เท่ากัน
ตกลงจะเชื่ออะไรดี
ในจอภาพจะสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีภูเขายอดแหลมสองยอด ยอดแรกแหลมเปี๊ยบเรียกว่า คลื่น R ยอดที่สองไม่แหลมเท่าแต่สูงพอๆกันเรียก คลื่น T โดยปกติคลื่น T จะสูงประมาณไม่เกินครึ่งหนึ่งของคลื่น R ในผู้ป่วยรายนี้เกิดความผิดปกติในร่างกายที่คลื่น T จะสูงขึ้นคือ ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง
และปกติเครื่องวัดสัญญาณจะคำนวณชีพจรโดยใช้คลื่น R มาคำนวณและโชว์บนจอ ในกรณีนี้เมื่อคลื่น T สูงเหมือนคลื่น R เครื่องจึงถูกหลอก !!
เครื่องอ่านคลื่น T เป็นคลื่น R นั่นเอง อ่านคลื่น R สองครั้ง (คลื่น R แทนหัวใจบีบตัวหนึ่งครั้งแต่คลื่น T เกิดช่วงหัวใจคลายตัว) หัวใจเต้นหนึ่งครั้งแต่เครื่องนับเป็นสองครั้ง สัดส่วนที่เครื่องนับได้จึงเป็นสองเท่าของชีพจรที่จับได้จริง
ถ้ไปดูตัวเลขชีพจร (Pulse rate) ที่จับจากเครื่องก็จะแตกต่างกับอัตราการเต้นของหัวใจดังภาพ (Heart rate) ที่แสดงในคอมเม้นต์ และเมื่อฉีดยา 10% calcium gluconate เพื่อแก้ไขภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง เครื่องก็จะแยกความแตกต่างได้ นับอัตราการเต้นหัวใจได้ตามจริงคือหารสอง ออกมาเป็น 68 ครั้งต่อนาที
หรือง่ายกว่านั้นในการตรวจสอบความถูกต้องแค่ยื่นมือมาจับชีพจรคนไข้ เอาหูฟังมาตรวจที่หน้าอกก็จะได้อัตราที่เป็นจริง
บางครั้ง low tech..high touch ก็มีค่า มีประโยชน์ไม่แพ้เครื่องสุดล้ำยุคเหมือนกัน
ในจอภาพจะสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีภูเขายอดแหลมสองยอด ยอดแรกแหลมเปี๊ยบเรียกว่า คลื่น R ยอดที่สองไม่แหลมเท่าแต่สูงพอๆกันเรียก คลื่น T โดยปกติคลื่น T จะสูงประมาณไม่เกินครึ่งหนึ่งของคลื่น R ในผู้ป่วยรายนี้เกิดความผิดปกติในร่างกายที่คลื่น T จะสูงขึ้นคือ ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง
และปกติเครื่องวัดสัญญาณจะคำนวณชีพจรโดยใช้คลื่น R มาคำนวณและโชว์บนจอ ในกรณีนี้เมื่อคลื่น T สูงเหมือนคลื่น R เครื่องจึงถูกหลอก !!
เครื่องอ่านคลื่น T เป็นคลื่น R นั่นเอง อ่านคลื่น R สองครั้ง (คลื่น R แทนหัวใจบีบตัวหนึ่งครั้งแต่คลื่น T เกิดช่วงหัวใจคลายตัว) หัวใจเต้นหนึ่งครั้งแต่เครื่องนับเป็นสองครั้ง สัดส่วนที่เครื่องนับได้จึงเป็นสองเท่าของชีพจรที่จับได้จริง
ถ้ไปดูตัวเลขชีพจร (Pulse rate) ที่จับจากเครื่องก็จะแตกต่างกับอัตราการเต้นของหัวใจดังภาพ (Heart rate) ที่แสดงในคอมเม้นต์ และเมื่อฉีดยา 10% calcium gluconate เพื่อแก้ไขภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูง เครื่องก็จะแยกความแตกต่างได้ นับอัตราการเต้นหัวใจได้ตามจริงคือหารสอง ออกมาเป็น 68 ครั้งต่อนาที
หรือง่ายกว่านั้นในการตรวจสอบความถูกต้องแค่ยื่นมือมาจับชีพจรคนไข้ เอาหูฟังมาตรวจที่หน้าอกก็จะได้อัตราที่เป็นจริง
บางครั้ง low tech..high touch ก็มีค่า มีประโยชน์ไม่แพ้เครื่องสุดล้ำยุคเหมือนกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น