The voice..เสียงของความดัน
การวัดความดันโลหิตในแนวทางปฏิบัติต่างๆ จะมีคำแนะนำเสมอว่าให้ใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอทโบราณ รัดสายรัดให้เหมาะสม วัดทั้งซ้ายและขวา (จริงๆต้องขาด้วยนะ) ใช้มือคลำและใช้หูฟัง..ใช่ครับเราวัดความดันโลหิตโดยใช้หูฟัง
มาตรฐานของการวัดความดันคือการใช้เครื่องแบบปรอท ใช้แถบพันรัดแขนให้เหมาะสม ระดับการพันแขนอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ เพิ่มแรงบีบให้ความดันในแถบวัดสูงขึ้นๆ ไปที่ประมาณ 30 มิลลิเมตรปรอทเหนือกว่าจุดที่ชีพจรที่ข้อมือหายไป (เช่นบีบไปที่ 120 แล้วชีพจรหายไปก็บีบเพิ่มอีก 30 เป็น 150) หลังจากนั้นก็ค่อยๆปล่อยแรงดันออกช้าๆ ระดับ 3-4 มิลลิเมตรต่อวินาที ..ต้องช้าจริงนะครับ..ไม่อย่างนั้นจะตรวจค่าความดันได้ไม่แม่นยำพอ
จริงๆแล้วเราต้องใช้มือคลำชีพจรก่อนนะครับ ว่าเมื่อเราปล่อยลมออกมาเรื่อยๆแล้วเราสัมผัสชีพจรได้ที่ความดันเท่าไร แต่ว่าผมจะขออธิบายเรื่องเสียงและการฟังก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่าทำไมเราต้องทำทั้งฟังทั้งคลำ
เวลาที่เราฟังนั้น ต้องตั้งใจฟังมากๆนะครับและต้องหัดฟังบ่อยๆ เสียงที่เราได้ยินเรียกว่าเสียง korotkoff ตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ Nikolai Korotkov ผู้ค้นพบเสียงเวลาปล่อยลมออกแบ่งได้ออกเป็น 5 เสียง เมื่อเราปล่อยลมออกมาเรื่อยๆจะได้ยินเสียงดังนี้
1. จะได้ยินเสียงตุ้บหนักๆ ติดกันอย่างน้อยสองครั้ง อาจมากกว่า 2 เสียงนี้จะได้ยินพร้อมกับระดับ systolic blood pressure
2. หลังจากนั้นจะเป็นเสียงที่ไม่ดังเท่าเสียงแรก ไม่เป็น tapping หรือ ตุ้บอย่างเสียงแรกจะเป็นเสียง..ตุบฟู่..ตะฟู่..มากกว่า..ถือว่าไม่มีความสำคัญทางคลินิก แต่ว่าเรามักจะได้ยินก่อนและคิดว่าเป็นเสียงแรกเพราะว่าปล่อยลมเร็วเกินไป และลองฟังเองแล้วยากอยู่เหมือนกัน
3. เสียงต่อมาจะเปลี่ยนจากฟู่ฟ่าดัง เป็นตุ้บๆอีกครั้งไม่มีฟู่ๆ แต่ไม่ดัง ไม่เข้มเท่าสียงแรก เรียกเสียงที่สาม ก็ยังไม่ค่อยมีความสำคัญทางคลินิกครับ อันนี้จะฟังได้ง่ายกว่าเสียงที่สอง
4. เสียงจะเปลี่ยนความเข้มเป็นเบาลงอย่างทันที แต่ยังได้ยินตุ้บๆตามชีพจร ตามคำจำกัดความเรียก muffle แล้วหยุด ตรงจุดนี้อาจจะถือเป็น diastolic pressure ได้ในคนที่มีลิ้นหัวใจเออร์ติกรั่วอย่างรุนแรง อาจบันทึกเป็น 130/70/60 อย่างนี้ได้
5. นับตั้งแต่เสียงเบาเกือบหยุดและเงียบไปไม่มีเสียงอีก จุดนี้ถือเป็น diastolic blodd pressure ของจริงครับ ยากนะครับ ถ้าปล่อยลมเร็วๆจะแยกไม่ออกเลย
เอาล่ะฟังยาก ต้องลองไปหัดฟังดูครับ ผมทำลิงค์วิดีโอสั้นๆเข้าใจง่านมาให้ลองดูลองฟังกันด้วย
https://youtu.be/VJrLHePNDQ4
ในคนปกติหรือบางครั้งเราปล่อยลมเร็วไป อาจไม่ได้ยินเสียงเฟสหนึ่ง ไปได้ยินในเฟสสองหรือสามแทน ก็จะบันทึกความดันซิสโตลิกต่ำกว่าความจริง จึงแนะนำให้คลำหาตุบแรกก่อนวัดด้วยหูฟังเราจะได้ไม่พลาด สิ่งที่เรียกว่า auscultatory palpation gap
ส่วนเครื่องวัดที่ใช้มิเตอร์แบบที่ปรากฏในวิดีโอ ไม่ได้เป็นปรอทเรียก aneroid sphygmomanometer เป็นมาตรวัดแต่ก็ใช้หลักการเดียวกัน อ่านค่าเหมือนกัน ค่าจะละเอียดกว่า อ่านเป็นตัวเลขย่อย 1-10 ได้ แต่ถ้าใช้แบบปรอท หน่วยวัดมันจะขยับทีละสองนะครับ ให้อ่านค่าความดันเป็นเลขคู่นะครับ
สำหรับ automated sphygmomanometer ที่แพร่หลายกันอยู่ก็ใช้หลักการสั่นสะเทือนจากผนังหลอดเลือดมาที่แถบวัด ประยุกต์มาจาก korotkoff นั่นเอง มันจะอ่านค่าความดันซีสโตลิก และค่าความดันเฉลี่ย (mean arterial pressure) แล้วมาคำนวณหาค่าความดันตัวล่างหรือ diastolic ไม่ได้เป็นการวัดโดยตรง ดังนั้นถ้าสงสัยค่าต่ำไปหรือสูงไป ต้องมาวัดด้วยเครื่องปรอทเสมอนะครับ
การวัดความดันแบบ finger cuff และ การใช้ doppler ultrasound ต้องหาอ่านเพิ่มเองนะครับ
เรื่องนี้ได้ไอเดียจากแฟนเพจท่านหนึ่ง ที่ยกเรื่องวิธีวัด มา discussเมื่อหลายวันก่อน
สำหรับเรื่องราวของคุณหมอ Nikolai Korokov..สไตล์เพจเรา ให้อยากฟัง รายงานตัวด้วย
การวัดความดันโลหิตในแนวทางปฏิบัติต่างๆ จะมีคำแนะนำเสมอว่าให้ใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอทโบราณ รัดสายรัดให้เหมาะสม วัดทั้งซ้ายและขวา (จริงๆต้องขาด้วยนะ) ใช้มือคลำและใช้หูฟัง..ใช่ครับเราวัดความดันโลหิตโดยใช้หูฟัง
มาตรฐานของการวัดความดันคือการใช้เครื่องแบบปรอท ใช้แถบพันรัดแขนให้เหมาะสม ระดับการพันแขนอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ เพิ่มแรงบีบให้ความดันในแถบวัดสูงขึ้นๆ ไปที่ประมาณ 30 มิลลิเมตรปรอทเหนือกว่าจุดที่ชีพจรที่ข้อมือหายไป (เช่นบีบไปที่ 120 แล้วชีพจรหายไปก็บีบเพิ่มอีก 30 เป็น 150) หลังจากนั้นก็ค่อยๆปล่อยแรงดันออกช้าๆ ระดับ 3-4 มิลลิเมตรต่อวินาที ..ต้องช้าจริงนะครับ..ไม่อย่างนั้นจะตรวจค่าความดันได้ไม่แม่นยำพอ
จริงๆแล้วเราต้องใช้มือคลำชีพจรก่อนนะครับ ว่าเมื่อเราปล่อยลมออกมาเรื่อยๆแล้วเราสัมผัสชีพจรได้ที่ความดันเท่าไร แต่ว่าผมจะขออธิบายเรื่องเสียงและการฟังก่อน เพื่อจะได้เข้าใจว่าทำไมเราต้องทำทั้งฟังทั้งคลำ
เวลาที่เราฟังนั้น ต้องตั้งใจฟังมากๆนะครับและต้องหัดฟังบ่อยๆ เสียงที่เราได้ยินเรียกว่าเสียง korotkoff ตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ Nikolai Korotkov ผู้ค้นพบเสียงเวลาปล่อยลมออกแบ่งได้ออกเป็น 5 เสียง เมื่อเราปล่อยลมออกมาเรื่อยๆจะได้ยินเสียงดังนี้
1. จะได้ยินเสียงตุ้บหนักๆ ติดกันอย่างน้อยสองครั้ง อาจมากกว่า 2 เสียงนี้จะได้ยินพร้อมกับระดับ systolic blood pressure
2. หลังจากนั้นจะเป็นเสียงที่ไม่ดังเท่าเสียงแรก ไม่เป็น tapping หรือ ตุ้บอย่างเสียงแรกจะเป็นเสียง..ตุบฟู่..ตะฟู่..มากกว่า..ถือว่าไม่มีความสำคัญทางคลินิก แต่ว่าเรามักจะได้ยินก่อนและคิดว่าเป็นเสียงแรกเพราะว่าปล่อยลมเร็วเกินไป และลองฟังเองแล้วยากอยู่เหมือนกัน
3. เสียงต่อมาจะเปลี่ยนจากฟู่ฟ่าดัง เป็นตุ้บๆอีกครั้งไม่มีฟู่ๆ แต่ไม่ดัง ไม่เข้มเท่าสียงแรก เรียกเสียงที่สาม ก็ยังไม่ค่อยมีความสำคัญทางคลินิกครับ อันนี้จะฟังได้ง่ายกว่าเสียงที่สอง
4. เสียงจะเปลี่ยนความเข้มเป็นเบาลงอย่างทันที แต่ยังได้ยินตุ้บๆตามชีพจร ตามคำจำกัดความเรียก muffle แล้วหยุด ตรงจุดนี้อาจจะถือเป็น diastolic pressure ได้ในคนที่มีลิ้นหัวใจเออร์ติกรั่วอย่างรุนแรง อาจบันทึกเป็น 130/70/60 อย่างนี้ได้
5. นับตั้งแต่เสียงเบาเกือบหยุดและเงียบไปไม่มีเสียงอีก จุดนี้ถือเป็น diastolic blodd pressure ของจริงครับ ยากนะครับ ถ้าปล่อยลมเร็วๆจะแยกไม่ออกเลย
เอาล่ะฟังยาก ต้องลองไปหัดฟังดูครับ ผมทำลิงค์วิดีโอสั้นๆเข้าใจง่านมาให้ลองดูลองฟังกันด้วย
https://youtu.be/VJrLHePNDQ4
ในคนปกติหรือบางครั้งเราปล่อยลมเร็วไป อาจไม่ได้ยินเสียงเฟสหนึ่ง ไปได้ยินในเฟสสองหรือสามแทน ก็จะบันทึกความดันซิสโตลิกต่ำกว่าความจริง จึงแนะนำให้คลำหาตุบแรกก่อนวัดด้วยหูฟังเราจะได้ไม่พลาด สิ่งที่เรียกว่า auscultatory palpation gap
ส่วนเครื่องวัดที่ใช้มิเตอร์แบบที่ปรากฏในวิดีโอ ไม่ได้เป็นปรอทเรียก aneroid sphygmomanometer เป็นมาตรวัดแต่ก็ใช้หลักการเดียวกัน อ่านค่าเหมือนกัน ค่าจะละเอียดกว่า อ่านเป็นตัวเลขย่อย 1-10 ได้ แต่ถ้าใช้แบบปรอท หน่วยวัดมันจะขยับทีละสองนะครับ ให้อ่านค่าความดันเป็นเลขคู่นะครับ
สำหรับ automated sphygmomanometer ที่แพร่หลายกันอยู่ก็ใช้หลักการสั่นสะเทือนจากผนังหลอดเลือดมาที่แถบวัด ประยุกต์มาจาก korotkoff นั่นเอง มันจะอ่านค่าความดันซีสโตลิก และค่าความดันเฉลี่ย (mean arterial pressure) แล้วมาคำนวณหาค่าความดันตัวล่างหรือ diastolic ไม่ได้เป็นการวัดโดยตรง ดังนั้นถ้าสงสัยค่าต่ำไปหรือสูงไป ต้องมาวัดด้วยเครื่องปรอทเสมอนะครับ
การวัดความดันแบบ finger cuff และ การใช้ doppler ultrasound ต้องหาอ่านเพิ่มเองนะครับ
เรื่องนี้ได้ไอเดียจากแฟนเพจท่านหนึ่ง ที่ยกเรื่องวิธีวัด มา discussเมื่อหลายวันก่อน
สำหรับเรื่องราวของคุณหมอ Nikolai Korokov..สไตล์เพจเรา ให้อยากฟัง รายงานตัวด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น