13 พฤศจิกายน 2563

ปัญหานอนไม่หลับในผู้สูงวัย

 ข้อคิดจากห้องตรวจ : ปัญหานอนไม่หลับในผู้สูงวัย

การเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยมากในผู้สูงวัยคือ การหลับตื่นที่เปลี่ยนเวลาไป ปริมาณการนอนที่ลดลง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย จากภาวะของสมองที่เสื่อมถอยลง วงจรการหลับตื่นที่เปลี่ยนแปลงสภาพให้เหมาะกับวัย การใช้พลังงานในแต่ละวันที่ลดลง ความคิดความกังวลที่มากขึ้นทั้งจากเรื่องภายนอกและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของวัยที่ยากจะทำใจ

ทำให้ผู้สูงวัยส่วนมาก จะมีปัญหานอนยากตื่นไว ตื่นแล้วหลับอีกไม่ได้ หรือบางคนไม่ได้ทำงานก็งีบหลับกลางวัน มันคือรูปแบบของชีวิตตามธรรมชาติแห่งการเปลี่ยนแปลง แต่ส่วนมากผู้สูงวัยจะยังเคยชินและติดกับภาพอดีตที่หัวถึงหมอนก็หลับ นอนหัวค่ำตื่นเช้า หรือแม้ตื่นมากลางดึกก็หลับต่อได้ ทำให้มองปัจจุบันกลายเป็น “โรค” เมื่อเทียบกับอดีต

นอกเหนือจากความสับสนในสภาพการเปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว การอยู่กับคนวัยต่างกัน โดยเฉพาะลูกหลานที่เขายังนอนหลับอีกแบบหนึ่ง ผู้สูงวัยจะคิดว่าตัวเองผิดปกติจากคนหนุ่มสาวอื่น ๆ หรือผิดปกติจากตัวเองในวัยหนุ่มสาว

การไม่ยอมรับ ทำให้เครียด ทำให้กังวล คุณภาพชีวิตแย่ลง ที่มีปัญหามากคือ มักจะใช้ยาเพื่อช่วยให้นอนหลับ “ตามที่ตัวเองอยากให้เป็น” ไม่ใช่เพื่อให้นอนหลับตามที่ “ร่างกายและธรรมชาติต้องการ”

ผลแทรกซ้อนจากการใช้ยากลุ่มนี้จึงมากมาย และที่สำคัญบางคนก็ใช้โดยซื้อกินเอง ใช้ไม่ถูก หรือใช้ผลข้าง

เคียงจากยาอื่น ๆ มาทำให้ตัวเองง่วงซึม ที่พบมากคือ

ยาแก้แพ้ นอกจากนอนไม่ได้แล้ว ยังเบลอ สติและการรับรู้บกพร่อง มีความดันโลหิตตก หน้ามืด ตาพร่า ปัสสาวะและอุจจาระลำบาก

ยารักษาโรคเครียดหรือซึมเศร้า ปกติการใช้ยากลุ่มนี้เพื่อรักษาโรคทางจิตเวชจะมีขนาดยา ระยะเวลาที่กินยาที่ชัดเจน แต่ที่พบมากคือเอาผลจากการง่วงซึมมาใช้ กิน ๆ หยุด ๆ แล้วแต่ตัวเองพอใจ ผลที่ตามมาคือ ติดยา เจอผลแทรกซ้อนระบบหัวใจและหลอดเลือด ใจสั่น ความดันโลหิตผิดปกติ หรือบางคนกินเกินขนาดจนเกิดพิษ

ยานอนหลับ ไม่ว่าจะหมอจ่ายให้ หรือไปซื้อกินเอง ส่วนมากก็จะเอายาที่หมอเคยให้ไปซื้อหามากิน จะเกิดการติดยาได้ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุเลย ทำให้การนอนไม่หลับจะยังคงเป็นปัญหาต่อไปไม่รู้จบสิ้น

เคยพบใช้ยากันชักด้วยนะครับ

ที่ร้ายที่สุดคือ ไปเชื่อยาอะไรก็ไม่รู้ ไม่มีการรับรอง ไม่มีผลต่อการหลับตื่นแต่อย่างใด กินไปก็ไม่เกิดผล เสียเงิน เสียเวลา และได้ผลเสียจากยานั้น ๆ อีกต่างหาก

ดังนั้น ผู้สูงวัยที่นอนไม่หลับ ต้องมาค่อย ๆ แก้ไขปัญหาที่สาเหตุ ปรับชีวิต ปรับแนวคิด และครอบครัว คนดูแลจะต้องเข้าใจในธรรมชาติของผู้สูงวัยด้วย

การใช้ยาไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่หลายคนคิดว่ามันคือคำตอบเดียวที่มี ...อะเฮื้อ คมบาดใจ

สุดท้ายขอขอบคุณแอดมินเพจอายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว ที่อนุเคราะห์เป็นนายแบบภาพประกอบบทความนี้นะครับ

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และผู้คนกำลังยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม