29 กุมภาพันธ์ 2559

โรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักยังพบอยู่ประปรายครับ และถ้าเกิดแล้วจะทำให้เกิดความพิการ ความยุ่งยากมากมาย ในขณะที่ป้องกันได้ง่ายและประสิทธิภาพดี
ส่วนมากเราจะละเลยเวลาเกิดบาดแผล เวลาซักประวัติคนที่เป็นบาดทะยัก มักจะได้ประวัติมีบาดแผลแต่ว่าละเลยการดูแลเกือบทั้งสิ้น วันนี้ผมอยากจะมาย้ำถึงแผลที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยัก ( tetanus-proned wound)

1. บาดแผลที่เปิดเอาไว้นานเกิน 6 ชั่วโมงก่อนทำแผล
2. บาดแผลทิ่มทะลุ ผิวหนัง
3. บาดแผลที่มีเนื้อตาย เช่น ไขมันใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เมื่อตายจะสีคล้ำ ไม่มีเลือดออก
4. มีการติดเชื้อจากบาดแผลนั้น
5. ปนเปื้อนดิน น้ำ หรือสารที่สงสัยว่าจะมีเชื้อบาดทะยักอยู่ เช่น ไม้ โลหะ
6. แผลไฟไหม้ หรือน้ำแข็งกัด แผลน้ำแข็งกัดนี่ไม่ได้ค้นอ้างอิงเพิ่มครับ เพราะว่าน่าจะพบน้อยมากๆๆ
7. แผลบาดเจ็บจากวัตถุแรงสูง เช่น ปืน สะเก็ดระเบิด
8. แผลสัตว์กัด คนกัด หรือสัตว์ข่วน

เมื่อเกิดบาดแผลต่างๆเหล่านี้ ควรล้างแผลและจัดการแผลให้ดี เบื้องต้นเลยควรใช้น้ำสุกล้างกับสบู่ธรรมดา ฟอกสัก 5 นาทีเลย หรือถ้ามีน้ำยาฟอกฆ่าเชื้อโพวิดีนก็จะดีมาก แล้วรีบไปทำแผลที่รพ.
ส่วนถ้าไม่เคยฉีดวัคซีนก็ควรฉีดให้ครบ 3 เข็ม และหนึ่งในสามเข็มนั้นอาจใช้ วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก หรือ คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก ไปเลย และในบางคนที่แผลแย่มากอาจต้องฉีดซีรุ่มต้านบาดทะยักด้วยครับ
โดยทั่วไปวัคซีนก็คุ้มครอง 10 ปีครับ เรายังไม่มีแผลก็ไปฉีด คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยักได้นะครับ 1 เข็มทุกๆ 10 ปี
โรคพวกนี้เป็นแล้วไม่คุ้มครับ น่ากลัวมาก ป้องกันได้ให้ทำเลย

ข้อมูลจาก WHO

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม