คนที่เกล็ดเลือดต่ำมีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก ถ้าเรามียาไปกระตุ้นเกล็ดเลือดล่ะ
เกล็ดเลือดมนุษย์ทำหน้าที่คอยหยุดเลือด ทำให้เกิดก้อนเกล็ดเลือดไปอุดจุดที่เลือดออก เรารู้จักยาต้านเกล็ดเลือดกันดี เช่น แอสไพริน ว่าช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดจับตัวกันมากเกินไป เพราะโรคพวกนี้เกล็ดเลือดจะไปจับตัวกันที่จุดโคเลสเตอรอลในเลือดอุดตัน ทำให้เกิดตะกรันใหญ่ขึ้นและแตกง่ายหลุดไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบ
ในทางกลับกัน ถ้าเกล็ดเลือดมีน้อยหรือไม่ทำงานเราก็จะเลือดออกง่าย ในกรณีไม่ต่ำมากเลือดจะออกก็ต้องมีอะไรมากระแทกหรือเกิดบาดแผล แต่ถ้าต่ำมาก ๆ อาจออกเองได้เลย
นี่คือปัญหาสำคัญของโรคต่าง ๆ ที่เกิดเกล็ดเลือดต่ำคือเลือดออกง่ายหรือจะไปทำหัตถการอะไรต่าง ๆ... แล้วเราทำอย่างไร ??
การรักษาเฉพาะแบบของโรคเกล็ดเลือดต่ำไม่ว่าจะเป็นเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันจับทำลาย (ITP) หรือม้ามทำงานผิดปกติ (hypersplenism) มีการรักษาตามสาเหตุอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการให้ยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิแบบต่าง ๆ ในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันทำลายเกล็ดเลือด หรือการตัดม้ามในกรณีม้ามทำลายเกล็ดเลือดมากเกินไป
แต่ถ้าเลือดออกมากจนอันตรายหรือจำเป็นต้องผ่าตัด ก็จำเป็นต้องให้เกล็ดเลือดชดเชย
การให้เกล็ดเลือดไม่ได้ง่ายและสะดวกอย่างที่คิด เกล็ดเลือดหายาก ราคาแพง โอกาสเกิดปฏิกิริยาจากการให้เลือดก็มาก ให้เกล็ดเลือดบ่อย ๆ ร่างกายก็จะสร้างแอนติบอดีมาต้านเกล็ดเลือดอีก ทำให้ให้ครั้งหลัง ๆ เริ่มไม่ได้ผล
นักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นตัวตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดเรียกว่า thrombopoietin receptor agonist ไปกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดที่ไขกระดูกเลย มีการศึกษายา elthrombopag และ romiplostim ในการรักษาโรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันชนิดเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาหลักหรือเกิดซ้ำหลังการรักษาหลัก และยังมีเลือดออกอีก จนได้นับการบรรจุในแนวทางการรักษาตาม american society of hematology ปี 2011
เร็ว ๆ นี้ก็มีการศึกษายาชื่อ avathrombopag ในผู้ป่วยที่ตับแข็งและเกล็ดเลือดต่ำที่จำเป็นต้องไปทำการผ่าตัด ให้ยากินก่อนผ่าตัดห้าวัน ก็พบว่าสามารถลดการให้เกล็ดเลือดลงได้ เลือดออกน้อยลงมาก เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น ผ่าตัดปลอดภัย (การศึกษาชื่อ ADAPT-1 และ ADAPT-2 ลงใน gastroenterology 2018) แต่พอหยุดกินเกล็ดเลือดก็กลับสู่ระดับต่ำตามปรกติ (คนไข้กลุ่มนี้เกล็ดเลือดต่ำอยู่แล้ว)และไม่ได้เลือดออกมากขึ้นอีก
อีกหนึ่งความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำด้วยยากระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือด Thrombopoietin Receptor Agonist
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น