11 มกราคม 2560

Rome Foundation

ในเรื่อง constipation the series นั้น ผมได้กล่าวถึง ROME III criteria วันนี้เรามารู้จัก ROME ครับ

   Rome Foundation เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร (มีสิทธิในการลดภาษีของอเมริกา 501c3)  วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้เพื่อเป็นหลักให้กับงานวิจัย และรวบรวมความรู้เป็นข้อสรุปสำหรับรักษาคนไข้ โดยโรคที่ทำคือ functional gastrointestinal disorders ทั้งหมด
   แรกเริ่มเดิมทีนั้นต้องย้อนกลับไปในปี 1988 ในงานประชุม international congress of gastroenterology ครั้งที่ 13 จัดที่กรุงโรม อิตาลี คณะทำงานที่ศึกษาเรื่องราวของ irritable bowel syndrome ได้นำเสนอแนวทางการวินิจฉัยโรคในงานประชุมนี้ ซึ่งตอนนั้นโรค IBS ยังซับซ้อน ไม่มีการตรวจและวิจัยมาตรฐาน เริ่มการศึกษามาตั้งแต่ปี 1980 ก็ยังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน วิธีการศึกษาและสรุปใช้วิธี delphi อยู่เลย   ในงานประชุมนี้จึงได้มีการรวบรวมคนที่สนใจและเสียสละ เพื่อมารวบรวม จัดตั้ง วางแนวทางในการวินิจฉัยและรักษาโรค IBS อย่างมีระบบและเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์   เรียกคณะนี้ว่า Rome Foundation

   หลังจากจัดตั้งก็ได้มีการพบปะเพื่อศึกษาประชุมแนวทางการรักษา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจ้าภาพใหญ่คือ ศาสตราจารย์ Aldo Torsdi จากมหาวิทยาลัยโรมและ บรรณาธิการวารสาร gastroenterology international ได้ลงวารสารเกี่ยวกับการศึกษาและผลงานของ Rome Foundation ทั้ง 24 โรค  ลงลึกในทุกๆมิติทั้งรูปแบบการวิจัยและทางการรักษา โดยมีคณะทำงานหนึ่งกลุ่มต่อหนึ่งโรค ทำให้ลงลึกได้มาก จนในปี 1994 หนังสือ ROME criteria I ก็ถือกำเนิดขึ้น
    กลุ่ม Rome นี่เนื้อหอมและมาแรงมากครับ ทางอย. กลุ่มวิชาชีพต่างๆ บริษัทยาต่างๆที่ผลิตยาในการรักษา functional GI disorder เริ่มอยากให้ทำงานวิจัย ออกแบบงานวิจัย และทบทวนข้อวินิจฉัยและรักษาโรค  งานก็เลยมากต้องอาศัยทรัพยากรสูง จากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ไม่มีเงินทุนมากจึงต้องเปิดรับทุนสนับสนุนจากบริษัทต่างๆ แต่คณะทำงานก็ยังเป็นกลุ่มผู้ไม่หวังผลตอบแทนและเสียสละอยู่ สามารถทำงานตามปณิธาณที่ตั้งเอาไว้ ได้พัฒนาความรู้ มีข้อมูลทั้งที่ศึกษาเองและทบทวนจากการศึกษาอื่น ใช้หลักฐานเชิงประจ้กษ์มาทบทวนมากขึ้น ระเบียบการวิจัยและทบทวนเริ่มเป็นมาตรฐานและเหนือมาตรฐาน จนในปี 1999 ก็ได้ออก Rome criteria II ออกมาต่อเนื่อง

  ผ่านไป Rome Founadation กลายมาเป็นมาตรฐานของการศึกษาวิจัย การวินิจฉัยและรักษาโรค functional GI disorders ทุกคนอ้างอิงที่นี่ การทำงานจึงต้องมาตรฐานเป็นเลิศ ละเมียดละไม ต้องอาศัยความรู้และนักวิจัย นักวิชาการหน้าใหม่ๆ ทั้งจากเอเชียและแอฟริกา เพื่อครอบคลุมประเทศกำลังพัฒนาด้วย  Rome Foundation เริ่มมีการปรับโครงสร้างเพื่อพัฒนามากขึ้น  ในปี 2006 ก็ออก ROME III criteria ออกมา
   หลังจากนั้นองค์กรเริ่มมีข้อติติง เกี่ยวกับการพัฒนาที่ช้า ไม่ทันการ การศึกษาก็ออกไปในเชิงวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คือ สรีรวิทยา มากกว่าจะเป็นงานวิจัยและงานรักษาทางคลินิก  นักวิจัยก็มาด้วยใจ อาสาสมัคร ไม่ได้ทั้งเงิน ไม่มีทั้งกล่อง ทำให้นักวิจัยต่างๆเริ่มหมดกำลังใจ งานก็เลยช้า
   จึงต้องมีการปรับโครงสร้าง เงินสนับสนุน เพื่อให้คงมาตรฐานเอาไว้ และพัฒนาไปสู่ ROME criteria IV ที่ใกล้จะออกมา เพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวกับ พันธุกรรม ภูมิคุ้มกัน ยีน เภสัชพันธุศาสตร์ ตามแนวทางของโลกยุคหน้า

มาจากวารสาร Neurogastroenterology and Motility 2007, 19; 783-86
โดย D.A. Drossman ท่านประธานฯ Rome Foundation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม