เกลือแร่ในเลือดผิดปกติ โดยเฉพาะเกลือแร่โปตัสเซียมมันมีผลมากมาย และถ้าค่าโปตัสเซียมในเลือดสูง นี่คือภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์...
ร่างกายมนุษย์ใช้กระแสไฟฟ้าในการควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แล้วเราเอากระแสไฟฟ้ามาจากไหน เราไม่ต้องเสียบปล๊ก เราไม่ต้องใส่ถ่าน เราใช้ไฟฟ้าเคมีในการผลิตกระแสไฟฟ้า เกลือแร่โปตัสเซียม (K+) เกลือแร่โซเดียม (Na+) เกลือแร่คลอไรด์ (Cl-) สังเกตว่าเกลือแร่พวกนี้มีประจุไฟฟ้า
ประจุไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันของในเซลและนอกเซล ทำให้เซลพร้อมจะถูกกระตุ้น เมื่อใดก็ตามมีการเปิดประตูของเซล มีการไหลเข้าออกของเกลือแร่ติดประจุ ก็คือการไหลของประจุ เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า ใช้ในการสื่อสารในร่างกาย
เกลือแร่โปตัสเซียมเป็นเกลือแร่สำคัญที่อยู่ในเซล คอยรักษาศักย์ไฟฟ้าให้เซลมีประจุลบอยู่ตลอด แต่เมื่อใดก็ตาม ค่าโปตัสเซียมในเลือด (ถือว่าเป็นนอกเซล) เพิ่มมากขึ้น ความแตกต่างกันของประจุ เกิดใกล้เคียงกัน การกระตุ้นจะผิดปกติจะไวขึ้นมากจนอยู่ในภาวะกระตุ้นเกือบตลอดเวลา เกิดค้าง !!! เป็นอัมพาตขึ้นมาเลย
ภาวะโปตัสเซียมในเลือดสูงมากๆจึงทำให้เกิดหัวใจหยุดทำงานในขณะกระตุ้นจนค้างนั่นเอง
โปตัสเซียมในเลือดสูงได้หลายๆสาเหตุ ทั้งจากการรับจากภายนอกเช่น น้ำเกลือที่มีโปตัสเซียมสูงเข้าหลอดเลือด จากการแตกสลายของเซล โปตัสเซียมเลยทะลักทะลายออกมา จากการขับไม่ออกเช่นไตวาย ทำให้โปตัสเซียมคั่ง สิ่งที่เรากลัวคือ หัวใจเต้นผิดจังหวะจนเสียชีวิต
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าโปตัสเซียมในเลือดสูง จึงต้องทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน วิธีแก้ไขมีดังนี้
1. ทำให้ศักย์ไฟฟ้านิ่งขึ้น ไม่ได้ไปทำให้โปตัสเซียมลดลงนะครับ เพียงแต่ไปทำให้มันไม่ถูกกระตุ้น โดยใช้เกลือ แคลเซียม (Ca++) มีประจุนะครับ ไปสร้างสมดุลไฟฟ้า เราฉีดสารละลายแคลเซียม (calcium gluconate) เข้าหลอดเลือดครับ ได้ผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาเป็นปกติได้ในหลักไม่กี่นาที แต่อีกสักพักก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม สมดุลไฟฟ้ามันกลับไปกลับมาเร็วครับ
2. ผลักโปตัสเซียมในเข้าไปอยู่ในเซล เช่นกัน ไม่ได้กำจัดโปตัสเซียมออกไปจากร่างกาย แค่ผลักมันไปอยู่ในที่ที่ควรอยู่คือในเซล จะได้ไม่เกิดศักย์ไฟฟ้าผิดปกติ ใช้วิธีฉีดอินซูลิน ที่ใช้รักษาเบาหวานนี่แหละครับ ฉีดพร้อมน้ำตาล ...น้ำตาลมาอีกแล้วว.. อินซูลินจะพาน้ำตาลและโปตัสเซียมเข้าไปในเลือดพร้อมๆกัน ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงกว่าจะได้ผล แต่ชั่วโมงเดียวก็หมดผลแล้ว
อีกวิธีคือ การพ่นยา ครับยาพ่นรักษาหอบหืดนั่นแหละ สามารถผลักโปตัสเซียมเข้าเซลได้ แต่สัดส่วนการแก้ไขตรงนี้ไม่มากและผลไม่แน่นอน ใช้เวลา 20-30 นาทีกว่าจะได้ผล และได้ผลประมาณชั่วโมงกว่าๆ
อีกวิธีคือการให้สารละลายด่าง sodium bicarbonate) เพื่อผลักเอาโปตัสเซียมเข้าเซล ใช้ได้ดีในกรณีมีเลือดเป็นกรดร่วมด้วย
3. เอาโปตัสเซียมส่วนเกินออกมา เราใช้วิธีการจับให้โปตัสเซียมออกมาในทางเดินอาหารแล้ววจับมันออกมาทางอุจจาระ (คนถ่ายเหลวมากๆ โปตัสเซียมจะต่ำเพราะสูญเสียทางอุจจาระ) โดยใช้สารเคมี kayexalate และต้องให้ยาถ่ายด้วยจึงจะออกมา ใช้เวลาเป็นวันๆ กว่าโปตัสเซียมจะลดลง
ใช้ยาขับปัสสาวะ furosemide ขับออกทางปัสสาวะ ก็ใช้เวลาเป็นวันเหมือนกัน
อีกวิธีคือการฟอกเลือด อันนี้เร็วมากครับและเอาออกได้จริง ได้มากด้วย แค่ 15 นาที ก็รู้เรื่องแล้ว ส่วนการฟอกเลือดทางหน้าท้องก็ใช้ได้นะครับ แต่จะช้ากว่า ฟอกเลือดผ่านเครื่อง ผ่านหลอดเลือดดำใหญ่
เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกด้วย เพราะการเกิดแต่ละครั้งมันเสี่ยงเหลือเกิน ครั้งหน้าเราจะมาดูกันนะครับว่า มนุษย์เราใช้ค่าโปตัสเซียมสูงๆในเลือดไปทำอะไร
09 พฤษภาคม 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น