ข้ออักเสบรูมาตอยด์ : แนวโน้มรักษานาน
เร็วๆนี้ทางสมาคมโรครูมาติสซั่มของอเมริกาได้ออกแนวทางการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ปี 2015 ซึ่งผมอ่านแล้วคิดว่ามีสิ่งที่อยากเอามาบอกอยู่สามสี่อย่าง แต่ไม่ได้ลึกลงไปในรายละเอียดนะครับ ใครต้องการอ่าน ผมได้paste URL ให้ไว้แล้ว
ข้ออักเสบรูมาตอยด์นี่พบมานานมากแล้วนะครับ เคยมีบันทึกว่าพบมาก่อนคริสตกาลเสียอีก โดยคนที่พบโรคนี้ปัจจุบันให้เครดิตกับ Dr. Augustin Jacob Landré-Beauvais เป็นศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสครับ ปัจจุบันเรามียาและเทคโนโลยีในการรักษามากมาย และสามารถลดอัตราความพิการจากโรคลงได้มาก แนวทางการรักษานี้ผมตั้งใจจะพูดกลางๆให้ทุกคนเข้าถึงได้ครับ
1.อย่างแรกเลย การวินิจฉัยและติดตามโรคนั้น แนะนำให้ใช้หลายๆมิติ ทั้งประวัติความปวด จำนวนข้อที่บวมแดง ผลเลือด รวมๆกันนี้มาคำนวณเป็นคะแนน (การแพทย์สมัยนี้ใช้การให้คะแนน เพราะเป็นการดูแลในหลายๆมิตินั่นเอง) ทั้ง PAS, DAS28, SDAI เพราะการใช้อาการหรือการตรวจร่างกาย หรือผลเลือดอย่างเดียวอาจมีความไวและความจำเพาะต่อระยะของโรคไม่ดีนัก ต้องใช้หลายๆค่า
การคำนวณเพื่อติดตามโรคสามารถหาดาวน์โหลดแอปพลิแคชั่น ได้จาก android และ iOS จะสามารถปรับยาได้ดีขึ้น
2. ใช้ยาเพื่อปรับสภาพโรค (DMARDs) ให้เร็วที่สุด เรารักษาโรคนี้ในอดีตนั้น อาจลองใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบทั่วไปๆก่อน เพราะเราหวาดหวั่นกับผลข้างเคียงของยา แต่การศึกษาในปัจจุบันกลับพบว่า เราเริ่มยาที่เฉพาะกับโรคเพื่อไม่ให้โรคลุกลาม จะเกิดประโยชน์และป้องกันข้อพิการดังรูปได้มาก แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ระยะแรกๆนะครับ เราอาจใช้การตรวจหา anti-CCP ในเลือด ที่อาจมีผลบวกก่อนที่จะเกิดข้ออักเสบได้ เพื่อให้เริ่มยาได้เร็ว และเลือกเจ้ายา DMARDs เป็นยาตัวแรกเลยในการรักษาโรคนี้ คิดถึงยานี้ก่อนยาแก้ปวด
อย่าลืมว่าต้องป้องกันความพิการนะครับ
3. รักษาแบบตั้งเป้าชัดเจน (treat to target) เดิมเราปรับยาตามอาการเป็นหลัก เดี๋ยวนี้ปรับเปลี่ยนเป็นรักษาจนโรคเข้าเกณฑ์สงบ โดยใช้เครื่องมือคำนวณคะแนนดังข้อ 1 นั่นเอง ถึงแม้อาการดีขึ้นก็แค่ลดยาต้านการอักเสบ ลดยาแก้ปวด แต่จะยังไม่ลดยาที่ควบคุมโรค จนกว่าจะได้เป้าหมายการรักษา คล้ายๆกับการรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆในปัจจุบัน เช่นโรคเบาหวาน ถึงแม้ผู้ป่วยจะอาการดี แนวโน้มการดำเนินโรคดี ก็จะยังให้ยาหรือเพิ่มยาจนกว่าจะได้เป้าหมายค่า HbA1C ที่ต้องการ
4. คำแนะนำว่า การใช้ยาในระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดโรคซ้ำนั้น เป็นสิ่งที่ควรทำ (แม้หลักฐานทางการแพทย์จะไม่ใช่การทดลองโดยตรง) เพราะโรคกลับมาเป็นซ้ำบ่อยมากถ้าเราหยุดยา ทำให้แนวโน้มการรักษาจะยาวนาน โดยเฉพาะการใช้ยา methotrexate ที่เป็นยาหลักของการรักษาข้ออักเสบรูมาตอยด์นี้ แนวทางปี 2015 ได้อธิบายความปลอดภัยในการใช้ในระยะยาว และการใช้ยาในภาวะต่างๆ เช่น ตับอักเสบหรือติดเชื้อควรทำอย่างไร ผมอ่านดูยังไม่เห็นตัวเลขที่ชัดเจนนะครับว่าต้องให้ยากี่ปี เพราะไม่มีตัวเลขชัดๆนี่แหละครับ ท่าทางจะให้
กันยาว
อาจมีศัพท์แสงทางวิชาการบ้าง แต่คิดว่านี่อาจเป็นปรัชญาของการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ต่อไปครับ
http://www.rheumatology.org/…/ACR%202015%20RA%20Guideline.p…
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม
-
คำถามจากทางบ้าน : น้ำอสุจิมีมดตอม แบบนี้ เป็นเบาหวานไหม อย่างแรกคนที่ถามคำถามนี้เป็นสุภาพสตรี ต้องนับถือในความช่างสังเกตสิ่งรอบตัวจริง ๆ ค...
-
Acute pancreatitis จากที่ตอนที่แล้ว เราได้กล่าวถึงตับอ่อนอักเสบในภาพรวม สำหรับโพสต์วันนี้ขอเล่าถึงในภาพลึกในเชิงปฏิบัติบ้างนะครับ ตามสัญญา...
-
ปฏิบัติการ I/O สะท้านโลก I/O ทางการแพทย์เราคือ intake -- output ปริมาณสารน้ำเข้าออกในร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวกับปฏิบัติการข่าวสารอันเลื่องลื...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น