26 กรกฎาคม 2559

วันตับอักเสบโลก

วันตับอักเสบโลก


วันที่ 28 กรกฎาคนนี้ คือเป็นวันตับอักเสบโลกครับ ทางองค์การอนามัยโลกได้มีประกาศแนวนโยบายสำคัญเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบ โดยสำคัญคือ "Towards elimination of viral hepatitis by 2030" เรามาดูว่าเราจะมีส่วนร่วมในแคมเปญนี้ได้อย่างไร

จากข้อมูลของ Global Burden of Disease study ลงในวารสาร Lancet เมื่อสามวันก่อน เราพบว่าโรคไวรัสตับอักเสบเริ่มขยับขึ้นมาเป็นปัญหาสำคัญไม่แพ้การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีเลย การเสียชีวิตจากไวรัสตับอักเสบในปี 2013 คือ 1.45 ล้านคน ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้น 63% จากปี 1990 ซึ่งในปีนั้นแค่ 9 แสนคนเท่านั้น ไม่ใช่แค่อัตราตายครับ ยังจะมีโรคตับแข็งและมะเร็งตับที่ผู้ป่วยจะต้องทนทุกข์ทรมานอีกด้วย
และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีตัวเลขการเสียชีวิตสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ อันนี้น่าเศร้ามากครับ

โดยทั่วไปแล้วตัวเลขของไวรัสตับอักเสบซีจะมากกว่าไวรัสบีอยู่เล็กน้อย เพราะว่าไวรัสบีนั้นมีวัคซีนป้องกัน แม้ว่าการรักษาจะยังไม่ประสบผลสำเร็จดีเท่าไวรัสซี ไวรัสซีนั้นมียาที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นยากินและหวังผลถึงหายได้ แต่ไม่มีวัคซีนและไม่มีภูมิคุ้มกัน รวมทั้งการเข้าถึงยาในหลายประเทศยังไม่ประสบความสำเร็จ ราคายังแพงมาก แต่อย่างไรก็ตามจากที่เรามีวิธีจัดการรักษาและควบคุมที่ดี ทำให้แนวทางของ WHO ดูว่าจะเป็นจริงขึ้นมาได้ คือภายในปี 2030 จะมีอัตราการติดเชื้อลดลง 90 % และอัตราการเสียชีวิตลดลง 65%
แต่ว่าการจะไปถึงจุดนั้นได้ การจะเข้ารับการรักษาหรือการได้วัคซีนที่ดี กลยุทธที่สำคัญคือ ให้คนทุกคนได้รับรู้สภาวะของตัวเองว่าขณะนี้มีการติดเชื้ออยู่ในตัวหรือไม่ เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีสามารถอยู่ในตัวในนานโดยที่ไม่แสดงอาการใดๆ คล้ายๆกับการติดเชื้อ HIV จึงสามารถจะแพร่กระจายเชื้อในช่วงมี่เราไม่มีอาการ และ เราไม่รู้ว่าตัวเรามีเชื้ออยู่ในตัว
การติดเชื้อไวรัสมักจะเกิดจากทางเพศสัมพันธ์ และจากการใช้เข็มร่วมกัน จากอุบัติเหตุทางการแพทย์ ส่วนจากการรับเลือดและจากทางแม่สู่ลูกนั้นไม่มากนักครับ

การฉีดวัคซีนในเด็ก การใช้มาตรการในการให้เลือดที่ดี การใช้วิธีที่ดีในการป้องกันเข็มทิ่มตำ การใช้ถุงยางอนามัย เป็นวิธีการป้องกันที่ดี และวิธีที่ WHO แนะนำคือควรตรวจเลือดหาการติดเชื้อ และเมื่อทราบสถานะการติดเชื้อแล้วให้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะไม่ติดเชื้อก็ฉีดวัคซีน ถ้ามีการติดเชื้อก็ให้เข้าสู่กระบวนการการรักษา ซึ่งตรงนี้หลายๆประเทศรวมทั้งประเทศไทยก็มีมาตรการออกมารองรับ ไม่ว่าการจัดสรรยาให้เข้าถึงได้ง่าย เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เรียกว่าโปรแกรม
"know hepatitis ..act now"
ผมเคยเขียนเรื่องการรักษาไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซีเอาไว้เมื่อต้นปี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

ไวัสตับอักเสบซี
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1538562299793131/

ไวรัสตับอักเสบบี
https://www.facebook.com/medicine4layman/photos/a.1454742078175154.1073741829.1452805065035522/1539523336363694

เมื่อเราสามารถจัดการความเสี่ยงของตัวเราเองได้ เราก็จะปกป้องคนที่เรารักได้ และขยายผลออกไปสู่ความมีจิตสาธารณะ รู้สำนึกในหน้าที่ที่จะต้องป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เมื่อทุกคนทุกประเทศทำเหมือนๆกัน พร้อมกัน ฝันในปี 2030 อาจเป็นจริงครับ อยากให้คนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงการสร้างสิ่งที่ดีให้คนรุ่นต่อๆไปด้วยครับ

ภาพจาก WHO เป็นการรณรงค์เพื่อให้มาตรวจไวรัสตับอักเสบ ติดที่อานจักรยาน ทำที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ เมืองหลวงแห่งจักรยาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม