เมื่อไม่นานมานี้ international liaison committee on resuscitation ได้ประกาศคำแนะนำเพิ่มเติมจาก CPR 2020 ไว้บางประการที่อาจจะเป็นประโยชน์ ผมสรุปมาให้ฟังคร่าว ๆ ในเรื่องการกู้ชีวิตผู้ใหญ่ ท่านใดสนใจฉบับเต็ม ไปโหลดอ่านได้ฟรี ที่เว็บไซต์ของ ILCOR
○ การกู้ชีวิตบนเรือและในน้ำสำหรับผู้ป่วยจมน้ำ
ถ้าไม่ชำนาญ ไม่มีอุปกรณ์ ให้พาผู้ประสบเหตุมาบนฝั่งแล้วค่อยกู้ชีพ แต่ว่าหากมีทักษะการกู้ชีพพอสมควร สามารถเริ่มกู้ชีพได้ตั้งแต่ช่วยผู้ประสบเหตุในน้ำ โดยเน้นการช่วยหายใจเป็นหลัก (คงกดหน้าอกไม่ได้) ส่วนการกู้ชีพบนเรือ ทำได้ตามปกติเมื่อเคยฝึกมาและมีอุปกรณ์ โดยเน้นเรื่องการช่วยหายใจเป็นหลักอีกเช่นเคย เพราะกลไกหลักคือขาดออกซิเจน อาจใช้การเป่าปากหรือผ่านอุปกรณ์ก็ได้ และหากไม่สามารถทำได้ให้ขึ้นฝั่งให้เร็วที่สุด
○ ใช้โดรนนำส่ง AED อันนี้ยังมีข้อมูลไม่พอ อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีใครทำได้ไหม
○ การเปลี่ยนจุดวางการทำ defibrillation อันนี้ถือเป็นไฮไลท์ เนื่องจากมีการศึกษารองรับชัดเจน แนะนำว่าสำหรับการกู้ชีพจากนอกโรงพยาบาลเท่านั้น (ตามการศึกษา) ในผู้ประสบเหตุที่มี shockable rhythm ส่วนมากคือ VF เมื่อทำการช็อกไฟฟ้าด้วยวิธีมาตรฐานต่อเนื่องกันสามครั้งแล้วยังไม่หลุด VF ก็แนะนำแบบนี้


○ การให้แคลเซียมในการกู้ชีพ คราวนร้มีหลักฐานหนักแน่นขึ้นว่าไม่ใช้เป็น routine คือให้เมื่อมีข้อบ่งชี้ชัด ๆ เท่านั้น ทั่งการกู้ชีพนอกหรือในโรงพยาบาล (หลักฐานการปฏิเสธของนอกโรงพยาบาลมีความหนักแน่นกว่า)
○ การทำ extracorporeal CPR คือ ต่อสายเอาเลือดไปเพิ่มแรงดันและออกซิเจนภายนอกแล้วเอาเลือดกลับเข้ามา ดูเหมือนฝัน แต่มีการศึกษาทำแล้วนะครับ สรึปว่าใช้ในรายที่ประสบเหตุจากนอกโรงพยาบาลแล้วทำซีพีอาร์เท่าไรก็ไม่ดีเสียที อาจเลือกใช้วิธีนี้เป็นการแก้ไขได้ ต้องบอกว่าจะต้องอยู่ที่สถานที่และทีมที่พร้อมขั้นสุดจริง ๆ ระดับทีมกู้ชีพท่านประธานาธิบดีสหรัฐประมาณนั้น
○ ติดตามผลประเมินความเสียหายต่อสมอง อย่างที่เรารู้กันสมองเสียหายไม่ถึง 10 นาทีก็แทบจะไม่กลับมาแล้ว คำแนะนำนี้มีวิธีการประเมินความเสียหายสมองหลังจากที่กู้ชีพสำเร็จว่า ผู้ประสบเหตุจะมีการพยากรณ์โรคที่ดีหรือไม่





○ แนะนำให้นำญาติเข้ามาร่วมตัดสินใจในทีมตลอด ไม่ใช่ซีพีอาร์ดุ่ย ๆ พอไม่ขึ้นแล้วค่อยโทรแจ้งข่าวร้าย คำแนะนำนี้ให้นำญาติมาร่วมปรึกษาตั้งแต่แรก โดยมีบุคลากรคนหนึ่งในทีมคอยสื่อสารไปตลอดการซีพีอาร์
ยังมีหัวข้อของเด็กและทารก อันนี้ผมยังไม่ได้อ่าน แกะมาแต่ส่วนของผู้ใหญ่มาแนะนำกันก่อนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น