29 กันยายน 2566

Beers Criteria 2023 การใช้ยาและการรักษาในผู้สูงวัย

 Beers Criteria 2023

คือข้อกำหนดจากหลักฐานทางการแพทย์และความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดย American Society of Geriatrics เกี่ยวกับการใช้ยาและการรักษาในผู้สูงวัย ว่าอะไรใช้ได้ ใช้ไม่ได้ ควรระวัง ตามสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้สูงวัย การใช้ยาขนาดที่คุ้นชินอาจไม่เหมาะสมเสียแล้วเมื่อเวลาเปลี่ยน
คำแนะนำมีเยอะมาก แถมไปดาวน์โหลดอ่านฟรีด้วยนะ ใส่คำค้น Beers Criteria 2023 ในเสิร์ชเอนจิ้นใดก็ได้ครับ ผมคัดมาแต่คำแนะนำระดับ strong recommendation คือ ทำตามนี้เถอะ และ High Quality of evidence เท่านั้น
ที่สำคัญคำแนะนำคือแนวทางตามศาสตร์ที่มี ส่วนการใช้จริงคือศิลปะที่ต้องอาศัยหลายปัจจัยมาประกอบ การไม่ทำตามคำแนะนำ ไม่ได้หมายความว่าเลวร้ายเสมอไป และแม้ทำตามเคร่งครัด ผลลัพธ์ก็อาจไม่ได้เป็นตามที่คิดเสนอไป
1. การใช้ยา Aspirin เพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค … ไม่แนะนำให้เริ่มในผู้ป่วยรายใหม่ และแนะนำให้หยุดยาในผู้ป่วยที่ใช้อยู่หากไม่จำเป็นจริง ๆ หรือเสี่ยงเลือดออก
2. ไม่ควรเริ่มใช้ยา warfarin ในกรณีป้องกันอัมพาตของหัวใจเต้นผิดจังหวะ AF ยกเว้นว่ามีข้อห้ามการใช้ direct oral anticoagulant (ที่แนวทางแนะนำให้เริ่มยาตัวอื่นก่อน rivaroxaban เพราะเจอเลือดออกมากกว่าตัวอื่นเล็กน้อย)
3. การใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่ยากันชัก ยาซึมเศร้า ยาจิตเวช โดยใช้ ยาตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไปโดยยังควบคุมไม่ได้ แนะนำให้พยายามใช้วิธีอื่นร่วมและทบทวนยาเพื่อลดปริมาณการใช้ยาลง เนื่องจากให้ยามากเกินจะมีโอกาสเกิดความดันต่ำและหกล้มได้
4. ถ้ามีภาวะหัวใจล้มเหลว ควรหลีกเลี่ยงการใข้ยาเบาหวาน thaizolidinediones (pioglitazone) และยาควบคุมการเต้นหัวใจ dronenalone เพราะอาจทำให้หัวใจล้มเหลวแย่ลง
5. ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดการเป็นลม (syncope) ไม่แน่นำใช้ยากลุ่ม choline esterase inhibitors เช่น donepezil rivastigmine (ใช้รักษาสมองเสื่อม อัลไซเมอร์) เพราะอาจมีหัวใจเต้นช้าและเป็นลมได้ง่าย
6. ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดการเป็นลม (syncope) ไม่แนะนำใช้ยากลุ่ม tricyclic antidepressant เช่น amitriptyline imipramine (ใช้รักษาซึมเศร้า ปวดเรื้อรัง บางคนมาใช้แก้นอนไม่หลับ) เพราะอาจมีหัวใจเต้นช้าและเป็นลมได้ง่าย
7. สุภาพสตรีสูงวัยที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ไม่แนะนำใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในการรักษา
8. ยาสารพัดชนิด (เยอะมาก) ควรต้องคิดถึงการปรับยาตามการกรองของไต (GFR) เสมอ โดยทั้งหมดมีหลักฐานระดับ strong แต่คำแนะนำเป็นระดับ moderate คือ ควรปรับยาตามการทำงานของไตเสมอถ้าไม่มีข้อห้าม และอาจใช้ยาที่ปลอดภัยกว่าได้ถ้ามีและใช้ทดแทนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม