01 เมษายน 2566

Bertha Hand ต้นกำเนิดเอ็กซเรย์

 ปี 1895 ยี่สิบปีให้หลังการรวมชาติเยอรมัน

อาณาจักรปรัสเซียยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในปลายศตวรรษที่ 19 รบชนะออสเตรีย รบชนะฝรั่งเศส จอมพลออตโต ฟอน บิสมาร์ค ได้รวมชาติเป็นหนึ่งในปี 1871หลังจากนั้นเยอรมันดำเนินนโยบาย วิทยาศาสตร์สร้างชาติ ระดมนักวิทย์ ให้ทุน สร้างมหาวิทยาลัย มีผลงานโด่งดังคับโลกจำนวนมาก
นี่คือหนึ่งในนั้น
ที่มหาวิทยาลัย Wurtzburg ใจกลางประเทศเยอรมัน ในเมือง wurtzburg ดินแดนแห่งศิลปะยุคบาโรค ที่นั่นมีนักฟิสิกส์ชอบวิจัยอยู่คนหนึ่งชื่อ วิลเฮล์ม คอนราด เรินเกิ้น
คุณเรินเกิ้นเขาสอนฟิสิกส์ครับ บ้าการทดลอง ขนาดทำห้องทดลองไว้ใต้ถุนบ้านเลย และตอนนี้เขาสนใจงานของเพื่อนเขาที่มหาวิทยาลัยฮินเดลบูรก์ ที่สามารถสร้างรังสีจากหลอดคาโถดสูญญากาศ (คือการใช้อิเล็กตรอนวิ่งในสูญญากาศ แล้วเกิดแสงทะลุหลอดรังสีนี้ออกมา)
คุณเรินเกิ้น ตัดสินในจำลองหลอดนั้นขึ้นมา วางแผนการทดลองใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าแสงนั้นไม่ได้เกิดมาจากแหล่งกำเนิดแสงอื่น คราวนี้เขารัดกุมมาก ทำอย่างไร ?
ปิดทึบห้อง ห้ามใครเข้า ทำการทดลองหลังพระอาทิตย์ตก ไม่พอ ยังห่อกระดาษดำที่หลอดรังสีนั้นด้วย แล้วเขาเอาแผ่นฟอสฟอรัสที่จะเรืองแสงเมื่อเจอรังสีนี้มาวางด้วย ว่ามันจะทะลุออกมาได้ไหม ยังไม่พอ..
เอาไพ่มาทดสอบว่าจะกันรังสีได้ไหมถึงสองสำรับ แล้วเปิดสวิตช์ พรึบ !!
สิ่งที่เรินเกิ้นพบคือ
แสงสีเขียว ๆ ฟุ้งออกมาจากรอบหลอด ทะลุออกมาแต่ไปไม่ไกล มันทะลุได้จริงแฮะ และไม่ได้เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงอื่น แต่ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ แผ่นฟอสฟอรัสที่อยู่ไกลออกไปจับรังสีได้ด้วย โห..ทะลุออกมาไกลและมองไม่เห็นเสียด้วย
และที่สำคัญ ไพ่สองสำรับนั้น รังสีที่มองไม่เห็นนั้นทะลุกองไพ่กระจุยและไปปรากฏบนฉากรับภาพ ที่ตั้งอยู่ไกลออกไปได้ คราวนี้เขาใช้สารพัดอย่าง หนังสือกองโต เสื้อผ้า อาหาร ปรากฏว่าทะลุหมด
เขาทบทวนดูแล้ว ไม่ใช่แสงสีเหลืองจากรังสีคาโทด ไม่ใช่รังสีแอลฟ่าที่ทะลุไปไม่ไกล คราวนี้เขาทดสอบโดยใส่สนามแม่เหล็กเข้าไป ใส่สนามไฟฟ้าเข้าไป ปรากฏว่าไม่สามารถกระทบเจ้ารังสีชนิดใหม่นี้ได้เลย แม้แต่เปิดไฟสว่างจ้า เปิดแสงภายนอก เจ้ารังสีนี้ก็ยังสามารถทะลุทะลวงวัตถุไปปรากฏบนฉากได้อยู่ดี
เรินเกิ้นตั้งชื่อรังสีนี้ว่า รังสีเอ็กซ์ (x-ray) ด้วยไม่รู้ว่ามันคืออะไร และจะใช้ทำอะไร
คราวนี้เขาทดลองถ่ายภาพกล่องไม้ที่มีวัตถุความหนาแน่นต่าง ๆ กันและรูปร่างต่าง ๆ กัน ดูว่าเจ้ารังสีเอ็กซ์นี้ จะทะลุได้ไหม คราวนี้ผลที่ได้กระตุกความคิดของเรินเกิ้นเลยครับ เพราะภาพที่ได้คือเห็นวัตถุในกล่องเป็นเงารูปร่างต่าง ๆ ที่ใส่เข้าไป หมายความว่าเจ้ารังสีเอ็กซ์ มันมองทะลุโครงสร้างต่าง ๆ ได้ เรินเกิ้นลองถ่ายภาพด้วยวัตถุหลายอย่างและพบว่า รังสีจะผ่านทะลุวัตถุหลายอย่างที่โครงสร้างเบาเช่น กระดาษ เสื้อผ้า ส่วนโครงสร้างหนักเช่น ไม้ จะทะลุได้บางส่วน และมีวัตถุหลายอย่างที่กั้นรังสี มองเห็นเป็นภาพทึบเช่น ทอง เงิน ตะกั่ว เรินเกิ้นได้แนวคิดการถ่ายภาพเพื่อมองโครงสร้างที่ปิดทึบได้
วันหนึ่ง เรินเกิ้นบังเอิญถ่ายภาพมือตัวเองในขณะกำลังถ่ายกล่องไม้ เขาเห็นเงาจาง ๆ ของเนื้อส่วนมือ และเห็นเงาทึบของกระดูกนิ้วมือ แต่มันเห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เรินเกิ้นแว่บประกายความคิดขึ้นมาทันที
นี่ไง น่าจะเป็นประโยชน์ของภาพถ่ายเอ็กซเรย์ของเขา การถ่ายภาพกระดูกและอวัยวะภายใน แต่เรินเกิ้นต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดกว่านี้ แต่เขาไม่สามารถวางมือบนฉากถ่ายภาพมือตัวเองพร้อมจัดการปล่อยรังสีได้ เขาต้องหาผู้ช่วยและผู้ช่วยที่ไว้ใจได้ ไม่เผยแพร่ความลับของการค้นพบที่ยังไม่อยากเผยแพร่นี้
จะมีใครในโลกเหมาะสมและยิ่งใหม่ไปกว่าคนนี้ Anna Bertha Ludwig ภรรยาสุดที่รักของเรินเกิ้น ผู้อดทนช่วยเหลือเรินเกิ้นอย่างอดทนมาตลอด
ภาพถ่ายบันลือโลกนี้ เรินเกิ้นถ่ายภาพมือภรรยาของเขา เห็นโครงสร้างมือ เนื้อเยื่อ ที่เป็นโครงสร้างราง ๆ ส่วนกระดูกเห็นทึบชัดเจนมาก และแหวนแต่งงานโลหะที่ทึบรังสี เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่มนุษย์เห็นโครงสร้างอวัยวะภายในโดยคนนั้นยังไม่เสียชีวิตและไม่ต้องถูกชำแหละ !!!
ขณะที่เรินเก้นลิงโลดดีใจสุดขีด เบอธาตกใจกลัวและร้องไห้ กลัวความตายจากภาพนั้น เรียกว่าต้องปลอบใจกันอยู่นานสองนาน
หกสัปดาห์หลังจากนั้น งานของเรินเกิ้นได้รับการตีพิมพ์และโด่งดังมากสุดขีดกับผลงาน Ueber eine neue Art von Straghlen รังสีชนิดใหม่เมื่อ 28 กรกฎาคม 1895 หลังจากนั้นผลงานแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ชื่อเสียงดังไปทั่วโลกในชั่วเวลาไม่เกินหนึ่งเดือน เรินเกิ้นได้รับการเสนอชื่อและได้รับรางวัลโนเบลในปี 1901
บทส่งท้าย
1. เรินเกิ้น ไม่เคยสนใจชื่อเสียงที่ได้ เขาตั้งใจทำงาน ตั้งใจสอน งานรับรางวัลโนเบลก็รับแต่ไม่เฉลิมฉลอง รับผลงานและรางวัล ยกให้กับมหาวิทยาลัย Wurtzburg ทั้งหมด
2. เรินเกิ้นเรียกรังสีเอ็กซ์ เพราะ คิดว่ามันไม่ใช่ ultraviolet (UV) จะเรียกอักษรต่อไปคือ W มันจะสับสนกับ U และ V อักษรต่อไปคือ X นั่นเอง
3. เรินเกิ้น ทดลองและทำงานในห้องใต้ดินตัวเอง แทบไม่ให้ใครเข้าไปยุ่งเลย คนแรกที่เข้าไปในช่วงการทดลองรังสีเอ็กซ์คือ เบอธา
4. ปี 1929 มีรายงานอันตรายจากรังสีเอ็กซ์ จาก Clarence Dally หัวหน้าทีมผู้ช่วยของโธมัส แอลวา เอดิสัน ที่ศึกษารังสีเอ็กซ์อย่างจริงจัง จนมีแผลและลุกลามเป็นมะเร็ง
5. การศึกษารังสีเอ็กซ์เริ่มทำอย่างจริงจัง หลังกรณีศึกษาของ Clarence Dally และพบว่ามันสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ เป็นต้นกำเนิดการศึกษาและป้องกันอันตรายจากรังสีเอ็กซ์ในปัจจุบัน
No photo description available.
See insights and ads
Boost post
All reactions:
1K

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม