15 กันยายน 2564

คู่มือรับปรึกษาทางอายุรศาสตร์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

 คู่มือรับปรึกษาทางอายุรศาสตร์ จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

ขอขอบคุณร้าน จับฉ่าย ขายตำราแพทย์ จับฉ่าย ขายตำราแพทย์ ที่เอื้อเฟื้อหนังสือทั้งสองเล่มมารีวิวครับ
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำตำรารับปรึกษาผู้ป่วยออกมา โดยรวบรวมคณาจารย์จากโรงเรียนแพทย์ต่าง ๆ เขียนหัวเรื่องที่ทันสมัยและครอบคลุม ปัญหาทางอายุรศาสตร์ที่พบบ่อย มีปัญหาทางเวชปฏิบัติ และมีข้อมูลใหม่ เพื่อให้อายุรแพทย์ได้รับมือปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วนและแม่นยำ
ราชวิทยาลัยฯ ได้จัดกลุ่มปัญหาที่พบบ่อยออกเป็นสองส่วนคือ ปัญหาผู้ป่วยนอก และปัญหาผู้ป่วยใน โดยแนวคิดและหัวเรื่องทั้งสองจะต่างกัน หรือแม้ในหมวดเดียวกันก็จะมีหัวข้อปัญหาที่เฉพาะในแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เช่น ปัญหาผู้ที่ปวดท้องและพบว่าเอนไซม์อะไมเลสสูง จะเป็นของผู้ป่วยใน แต่ปวดท้องเฉียบพลัน จะเป็นแบบผู้ป่วยนอก เป็นหัวข้อปวดท้องเฉียบพลันเหมือนกันแต่มุมมองต่างกัน
หรือตัวอย่างในวิชาโรคหัวใจ เมื่อดูหัวข้อที่นำมาในแต่ละเล่มจะเห็นว่า มีวิธีการจัดการต่างกันในแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่สำคัญคือ หัวข้อไม่ซ้ำกันด้วย
ในเล่มผู้ป่วยในจะประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ : inpatient common arrythmia, acute heart failure, pre-operative care for antithrombotic, hypertensive emergencies, acute chest pain in hospital
ในเล่มผู้ป่วยนอกจะประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ : new onset AF, ST abnormal in OPD, chronic heart failure, hypertension in the young, hypertension in pregnancy
แต่ละหัวข้อของทุกเรื่องทุกสาขา ไม่ว่าจะผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอกก็ตาม จะประกอบด้วยตัวอย่างกรณีปรึกษาสั้น ๆ ตามมาด้วยข้อมูลสรุปแบบสั้นแต่ครบและเข้าใจ ในเรื่องสาเหตุการเกิด พยาธิสภาพและพยาธิสรีรวิทยา อาการและอาการแสดงทางคลินิก การแยกโรค การส่งตรวจและแปลผลทางห้องปฏิบัติการ การรักษาและการส่งต่อ ซึ่งเป็นการตรวจและยาที่มีใช้ในประเทศไทยของเรา จะสรุปปิดท้ายด้วยปัญหาปรึกษาตอนต้นเรื่อง ว่าเราควรจะสรุปปัญหาและให้คำปรึกษาว่าอะไร
การส่งตรวจของผู้ป่วยนอก ก็จะเน้นการส่งที่ง่าย เร็ว แยกโรคได้ดี ส่วนผู้ป่วยในก็จะซับซ้อนมากขึ้นเพราะมีหลายปัญหา หรือการแยกโรคสำหรับผู้ป่วยนอก ก็จะเขียนเป็นแผนภูมิที่ง่าย เพราะปัญหาค่อนข้างไม่ซับซ้อน ต่างจากผู้ป่วยในที่อาจต้องมีแผนภูมิ มีรายละเอียดเรื่องโรคที่ซับซ้อนหรือมีโรคอื่นร่วมด้วย
เนื้อหาทั้งสองเล่มไม่ซ้ำกัน โดยเล่มผู้ป่วยนอกจะมีทั้งสิ้น 59 หัวข้อและเล่มผู้ป่วยในมีทั้งสิ้น 63 หัวข้อ แม้หัวข้อที่นำมาเขียนจะไม่ได้ครบถ้วนทุกหัวข้อในวิชาอายุรศาสตร์ แต่รับรองว่า เพียงพอและเป็นปัญหาที่ครอบคลุมส่วนใหญ่แล้วครับ แต่ละเล่มขนาดเอห้า ความหนาพอ ๆ กันเล่มละเกือบ 700 หน้า ราคาเท่ากัน เล่มละ 700 บาท เนื้อกระดาษพิมพ์อย่างดี ตัวอักษรใหญ่ มีตารางประกอบ มีแผนภูมิที่อ่านง่ายและเปิดใช้ได้จริงในการทำงาน
เหมาะกับ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์และต่อยอด อายุรแพทย์ทุกสาขา แพทย์เวชปฏิบัติ พยาบาล เภสัชกร และทีมผู้ดูแลผู้ป่วย ใช้ได้ทั้งอ่านเอาความรู้ อ่านสอบ หรือเอาไปใช้จริง
ถามว่าเล่มไหนดี ผมบอกเลยว่าควรซื้อทั้งสองเล่ม เพราะใช้งานต่างวาระอย่างที่อธิบายไปตอนต้น หรือจะซื้อไว้ที่หน่วยทำงาน ห้องสมุด ก็มีคุณค่ามากครับ
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
37
ความคิดเห็น 2 รายการ
แชร์ 20 ครั้ง
ถูกใจ
แสดงความคิดเห็น
แชร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม