29 มีนาคม 2560

ยาที่เราใช้ทุกวัน 10 ข้อง่ายๆ กับ พาราเซตามอล

ยาที่เราใช้ทุกวัน 10 ข้อง่ายๆ กับ พาราเซตามอล

- ชื่อเพราะๆอย่างเป็นทางการของเขาคือ acetaminophen  [APAP, for acetyl-para-aminophenol] แต่ก็ใช้ชื่อพาราเซตามอลได้ครับ ชื่อพาราเซตามอลจริงๆเป็นชื่อทางการค้า ตัวแรกที่ออกมาเป็น trialgesic ผสมกัน แอสไพริน+พาราเซตามอล+คาเฟอีน ในปี 1950
- ยานี้เป็น over the counter drug ซื้อขายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยามาตั้งแต่ 1959 ตั้งแต่ชื่อ พาราเซตามอล หมดสิทธิบัตร ดังนั้นยาเม็ดพาราเซตามอลที่วางขายทั่วไปนั้นจะมีส่วนออกฤทธิ์เหมือนกันทุกยี่ห้อ
- มีทั้งยาเม็ดเดี่ยว เช่น พาราเซตามอล ขนาด 325,500,650 มิลลิกรัม และยาอื่นๆที่มีส่วนผสมของพาราเซตามอลด้วย เช่น ยาแก้หวัด ติบฟี่, ปีคอลเจ๋น หรือยาแก้ปวด เช่น paracetamol with codeine อันนี้ผสมยาแก้ปวด codeine หรือ paracetamol and tramadol ดังนั้น ก่อนจะใช้ยาผสม อาจต้องพิจารณาถึงขนาดยาพาราเซตามอลโดยรวมด้วย  บางทียาที่เกินขนาดก็เกิดจาดเม็ดรวมพวกนี้
- ยาออกฤทธิ์ลดการสร้างสารการอักเสบได้เล็กน้อย ผ่าน COX-2 จึงไม่ระคายเคืองกระเพาะมาก สามารถรับประทานได้แม้แต่เป็นแผลกระเพาะหรือเคยมีเลือดออกจากแผลในกระเพาะ  แต่จะไปคาดหวังการลดการอักเสบมากๆ ไม่ได้ครับ แต่ก็จะใช้ลดไข้ได้ดี
- ยาลดอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลางได้ดี จากการออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง แต่ไม่ง่วงซึม ไม่กดประสาท ในการรักษาเพื่อระงับปวดทุกชนิดนั้น ยาพาราเซตามอลถือเป็นยาลดปวดที่มีหลักฐานการศึกษาดีมาก ใช้เป็นยาตัวแรกเสมอเพราะประสิทธิภาพดีและผลข้างเคียงต่ำมาก
- ขนาดยานั้น สำหรับผู้ใหญ่ 50-60 กิโลกรัมให้กินครั้งละ 1 เม็ด ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าน้ำหนักตัวมาก 60-70 กิโลกรัมกินเม็ดครึ่ง  ถ้าเกิน 70 กิโลกรัม อาจจรับประทานสองเม็ด แต่ถ้าเม็ดเดียวใช้ได้ผลก็ใช้เม็ดเดียวนะครับ สาเหตุยาเิกนขนาดนี่ พาราเซตมาลำดับต้นๆเลยครับ ส่วนมากเกิดจากไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ได้อ่านฉลากกำกับยา
- มากสุดไม่น่าเกินครั้งละ 2 เม็ด และไม่เกินวันละ 8 เม็ดนะครับ แต่ถ้ามีปัญหาโรคตับเรื้อรัง ก็อาจใช้ได้น้่อยกว่านี้ ยิ่งถ้าตัวเหลืองตาเหลืองเป็นข้อที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดในการใช้ยา เพราะยาถูกทำลายที่ตับ
- ใครที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตก G-6-PD ต้องระวังการใช้ยานะครับ อนุพันธุ์ของยาหลังจากที่กินเข้าไป อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้
- พาราเซตามองก็มีอาการแพ้ยาได้นะครับ ถ้ากินแล้วหน้าบวม ผื่นขึ้น หายใจติดขัดก็อาจจะ...อาจจะเกิดจากพาราเซตามอลได้  ต้องเอายาที่ใช้ทั้งหมดไปตรวจสอบครับ เพราะอาการแพ้ยาพาราเซตามอลในคนไทย เกิดไม่บ่อยครับ
- ระวังเรื่องยาหมดอายุ หรือเสื่อมสภาพถ้าเก็บไม่ดี ผมแนะนำเก็บไว้อย่าเพิ่งแกะออกมาใส่กล่อง เพราะอาจโดนความชื้นความร้อนได้ เวลาจะกินค่อยแกะออกมาครั้งละเม็ดนะครับ ยามีขายทั่วโลก อย่ากลัวว่าจะหาซื้อยากครับ

จะได้ใช้ยาได้ถูกต้องครับ แล้วคุณจะพบว่า พาราเซตามอล ไม่ได้ด้อยอย่างที่คิด

เครดิตภาพ : healthdirect.gov.au

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม